Search for:
ตำแหน่งเกียร์ 2 ของเกียร์ออโต้หมายถึงอะไร?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เชื่อว่าเจ้าของรถหลายคนอาจเคยสงสัยว่าเลข 2 ของเกียร์อัตโนมัติ แท้จริงแล้วคืออะไร? มีไว้ใช้ในสถานการณ์ไหนบ้าง?

ตำแหน่งเกียร์ 2 มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

รถยนต์เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นที่มีตำแหน่งเกียร์แปลกๆ เช่น 3, 2, 1 หรือ L นอกเหนือไปจากตำแหน่ง P R N D ที่คนใช้รถคุ้นเคยกันดี โดยตัวเลขที่ว่านี้ก็คือ “ตำแหน่งเกียร์สูงสุด” ที่เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น หากอยู่ในตำแหน่งเกียร์ 2 จะหมายถึง รถจะเริ่มออกตัวด้วยเกียร์ 1 จากนั้นเมื่อได้ความเร็วก็จะเปลี่ยนเกียร์ 2 เป็นเกียร์สูงสุด โดยไม่ตัดไปเกียร์ 3 แต่อย่างใด

ขณะที่ตำแหน่งเกียร์ L ก็จะเทียบเท่ากับเกียร์ 1 นั่นเอง ซึ่งแปลว่ารถจะเดินหน้าด้วยเกียร์ 1 เท่านั้น โดยไม่มีการเปลี่ยนอัตราทดให้สูงขึ้นแตอย่างใด

ตำแหน่งเกียร์ 2

ตำแหน่งเกียร์ 3, 2, 1 หรือ L มีประโยชน์อย่างไร?

หากเป็นการขับขี่ทั่วไปในชีวิตประจำวันควรใช้ตำแหน่งเกียร์ D เพื่อให้เกียร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และประหยัดน้ำมันมากที่สุด ขณะที่ตำแหน่งเกียร์ 3, 2, 1 หรือ L เหมาะสำหรับการขับขึ้น-ลงทางชัน เพราะสามารถเพิ่มพละกำลังของเครื่องยนต์ในขณะขึ้นเขา หรือเพิ่ม Engine Brake เพื่อช่วยชะลอความเร็วขณะลงเขาได้เช่นกัน

วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก โดยหากขับรถขึ้นเนินเขาที่มีความลาดชันแล้วพบว่ากำลังเครื่องยนต์เริ่มไม่เพียงพอ สามารถผลักเกียร์มาที่ตำแหน่ง 2 หรือ 1 (หรือ L) ได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดรถ รอบเครื่องยนต์จะพุ่งสูงขึ้นตามอัตราทดที่เปลี่ยนไป ช่วยให้เครื่องยนต์มีพละกำลังมากขึ้น มีเรี่ยวแรงขึ้นทางชันได้ดีกว่าเดิม

ส่วนการขับรถลงเขาเป็นระยะทางไกลๆ หากใช้เบรกเพื่อชะลอความเร็วเพียงอย่างเดียวต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เบรกเกิดความร้อนสูง หากยังคงเหยียบเบรกอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดอาการเบรกเฟด (Brake fade) คือเบรกจะไม่สามารถชะลอความเร็วได้อีกต่อไป ภาษาชาวบ้านจะเรียกว่า “เบรกจม” “เบรกหาย” หรือบ้างก็เข้าใจว่า “เบรกหมด” นั่นเอง

วิธีป้องกันอาการ Brake Fade ก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้เกียร์ในการสร้าง Engine Brake ช่วยในการชะลอความเร็ว โดยผลักเกียร์มาที่ตำแหน่ง 3, 2 หรือ 1 (หรือ L) ขึ้นอยู่กับความเร็วของตัวรถในขณะนั้น เครื่องยนต์จะทำงานในรอบสูง เกิดเป็นแรงหน่วงเพื่อช่วยชะลอความเร็ว ยิ่งรอบเครื่องยนต์สูงมากเท่าไหร่ แรงหน่วงก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น วิธีนี้จะช่วยลดการใช้เบรกลง ป้องกันไม่ให้ระบบเบรกร้อนจนเกินไป

เมื่อทราบเช่นนี้แล้วก็อย่าลืมนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดในการขับขี่ด้วยนะครับ

ขี่รถมอเตอร์ไซค์หนาวนี้ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายส่งท้ายปีแบบนี้ ชาวนักบิดมอเตอร์ไซค์คงมีทริปสำหรับปลายปีกันแล้วใช่มั้ยล่ะครับ? ไม่ว่าจะเป็นการขับขึ้นเขา ขึ้นดอย เขื่อน หรือแคมป์ปิ้ง เราก็ต้องขี่ฝ่าทั้งลมและความหนาว บางทีก็อาจมีฝนตกปรอย ๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าหนาวระบม !

‍ฉะนั้นก่อนที่จะขับขี่ทางไกลในช่วงหน้าหนาว เราก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและมอเตอร์ไซค์คู่ใจ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นในการขับขี่ ว่าแต่จะมีอะไรบ้าง วันนี้ 35 ยนตรการ ก็ได้รวบรวมสิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับเที่ยวหน้าหนาวมาให้แล้ว ไปดูกันเลย!

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในช่วงหน้าหนาว

– หมวกกันน็อค ที่มีคุณสมบัติกันอากาศหนาวได้ ช่วยเพิ่มความอุ่นในการสวมใส่

– แผ่นกันฝ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นฝ้า เป็นไอ ระหว่างการขับขี่ที่มีอากาศหนาวจัด

– หน้ากากผ้ากันฝุ่น เพื่อป้องกันความเย็น กันฝุ่น กันลม และเพิ่มความอบอุ่นให้ใบหน้าและลำคอ

– แจ็คเก็ตกันหนาว ควรสวมเสื้อแบบหนา ๆ ที่สามารถกันน้ำ กันฝุ่น และกันลมได้

– ชุดฮีทเตอร์ ใส่แนบตัว มีคุณสมบัติเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย

– ถุงมือ เพื่อป้องกันความเย็นที่กระทบมือระหว่างขับขี่

– รองเท้าผ้าใบหรือบูท และถุงเท้า ควรสวมใส่แบบหนา ป้องกันความเย็น

ขี่รถมอเตอร์ไซค์

ขี่มอเตอร์ไซค์หน้าหนาว ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

1. ตรวจเช็คสภาพมอเตอร์ไซค์


ตรวจเช็คระบบต่าง ๆ ภายในมอเตอร์ไซค์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องตามคู่มือ เช่น สภาพยางและลมยาง ระบบไฟรถ ระบบเบรก ระดับน้ำในหม้อน้ำ ฯลฯ รวมถึงต้องหมั่นทำความสะอาดชิ้นส่วนอะไหล่มอเตอร์ไซค์เป็นประจำ

โดยเฉพาะก่อนออกเดินทางในหน้าหนาวทุกครั้ง คุณจะต้องสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อเป็นการวอร์มเครื่องยนต์ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะอากาศเย็นอาจทำให้เครื่องยนต์ร้อนช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสที่อาจเกิดปัญหาระหว่างการขับขี่ในช่วงหน้าหนาวได้อีกด้วย


2. ติดตั้งแฟริ่งหรือชิลด์


การติดตั้งแฟริ่งหรือชิลด์จะช่วยบังลมหนาวให้คุณได้เป็นอย่างดี ทำให้ตัวคุณไม่ถูกลมมาปะทะโดยตรง ลดอาการเหน็บหนาวระหว่างการขับขี่ทางไกลได้ แต่ทั้งนี้ในรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ ๆ ก็อาจมีแฟริ่งหรือชิลด์ติดตั้งมาให้แล้ว ลองสังเกตมอเตอร์ไซค์ของตัวเองก่อนนำไปติดตั้งกันนะครับ

3. เปิดไฟหน้ารถตลอดเวลา


เนื่องจากบางพื้นที่อาจมีหมอกลงหนา เพราะอุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์มีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นลดลง ดังนั้นคุณควรควรเปิดไฟหน้ารถมอเตอร์ไซค์ทุกครั้งระหว่างการขับขี่ ซึ่งต้องเป็นไฟต่ำ เพราะจะช่วยให้ผู้ขับขี่อื่นบนถนนเห็นรถเราได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถลดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ครับ

4. มีสติตลอดการขับขี่


การมีสติถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทุกคนต้องมี ควรขับขี่อย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท ในบางพื้นที่อาจมีหมอกลงหนา ๆ มองเห็นถนนไม่ชัด ก็ห้ามใช้ความเร็วเกินกว่ากำหนด หรือถ้าหากรู้ว่าสภาพร่างกายทนกับความหนาวไม่ไหว มีอาการคล้ายจะเป็นมือขาแข็ง ให้จอดรถบริเวณพื้นที่ปลอดภัยทันที ห้ามฝืนขับต่อไปเด็ดขาด มิเช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดบนท้องถนนได้ครับ

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนหรือหน้าหนาวก็มีเทคนิคการขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่แตกต่างกัน แม้ว่าหน้าร้อนจะมีความอันตรายมากกว่า เพราะเสี่ยงเป็นภาวะฮีทสโตรกได้ง่าย แต่ถ้าเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้วก็ย่อมมีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นหมอกลงหนา ทำให้มองทางไม่เห็น ไอหนาวที่ทำให้อากาศชื้น หรืออากาศหนาวจนแขนแข็ง ขาแข็ง

ดังนั้นคุณจะต้องระมัดระวังในการขับขี่มอเตอร์ไซค์เป็นพิเศษ ถ้าหากรู้สึกว่าทนสภาพอากาศไม่ไหว ขับต่อไม่ได้ ให้หยุดรถทันที และจอดในบริเวณที่ปลอดภัย

จุดบอดรถบรรทุก
จุดบอดรถบรรทุก ที่รถมอเตอร์ไซค์ต้องหลีกเลี่ยง !

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เชื่อว่านักบิดหลายคนต้องเคยเจอสถานการณ์จำเป็นอย่างการขับรถมอเตอร์ไซค์เข้าใกล้รถบรรทุก ซึ่งคงเป็นสถานการณ์ที่ทำให้คุณใจหวิวไม่ใช่น้อย เพราะไม่แน่ใจว่าคนขับรถบรรทุกจะเห็นรถเราหรือเปล่า กลัวรถบรรทุกจะเบียดมาชน หรือเบรกกะทันหัน เพียงแค่ขับรถยนต์คันเล็กที่มีหลังคาหุ้มเกราะก็ยังถือว่าอันตราย แล้วรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีอะไรหุ้มเกราะเลยล่ะ บอกเลยว่าอันตรายที่สุด!

วันนี้เราจึงได้รวบรวม 4 จุดบอดอันตรายของรถบรรทุกที่รถมอเตอร์ไซค์ควรเลี่ยงมาให้แล้ว ซึ่งจะมีจุดบอดด้านไหนบ้าง ไปดูกันเลย

4 จุดบอดอันตรายของรถบรรทุก มีอะไรบ้าง?

1. ด้านหน้าของรถ

เนื่องจากความสูงของตัวรถจะส่งผลให้บังทัศนวิสัยในการมองเห็นของคนขับรถ หากมีเด็กเล็กหรือสัตว์ขนาดเล็กมายืนบริเวณหน้ารถตรงเงาดำ รวมไปถึงรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก ก็จะทำให้คนขับมองไม่เห็นอย่างแน่นอน เพราะความสูงของตัวรถจะบังการมองเห็นทั้งหมด ดังนั้นคุณจึงควรขับเว้นระยะห่างจากรถบรรทุกคันข้างหลัง 3-4 ช่วงคันของรถยนต์

2. ด้านขวาของรถ

แม้ว่าจะเป็นด้านที่อันตรายน้อยกว่าด้านอื่น ๆ แต่ก็ควรระวังไว้อยู่ดี เนื่องจากคนขับรถบรรทุกจะเห็นรถคันเล็กก็ต่อเมื่ออยู่ในรัศมีของกระจกมองข้างตรงเงาดำของรถบรรทุก ซึ่งคนขับรถบรรทุกจะมองเห็นรถที่วิ่งเลยหน้าเขาไปแล้วหรือขับในความเร็วเทียบเท่าหน้ารถเพียงเท่านั้น ดังนั้นหากคุณอยู่ในบริเวณด้านขวาของรถบรรทุก คุณจึงควรขับเลยหน้ารถบรรทุกไปจะดีที่สุด แต่เราแนะนำว่าถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ควรขับให้ห่างจากรถบรรทุกไปได้เลยครับ

3. ด้านซ้ายของรถ

ด้านที่อันตรายที่สุด! เป็นด้านที่คนขับรถบรรทุกมีทัศนวิสัยแคบมาก มีโอกาสมองเห็นรถคันอื่นได้น้อยมาก ซึ่งก็จะเห็นได้เพียงแค่มุมเล็ก ๆ เท่านั้น ดังนั้นถ้าหากคุณกำลังอยู่ในพื้นที่ด้านซ้ายของรถบรรทุก คุณจึงควรขับเลี่ยงให้มากที่สุด ทางที่ดีคือขับเว้นออกมาทันที เพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นครับ

4. ด้านหลังของรถ

การขับจี้ท้ายรถยนต์ทั่วไปก็นับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากแล้ว ยิ่งถ้าคุณไปขับจี้ท้ายรถบรรทุกก็ถือว่าอันตรายที่สุด เพราะคุณไม่สามารถมองเห็นรถหรือเหตุการณ์ข้างหน้าในระยะไกล ๆ ได้เลย รวมถึงคนขับรถบรรทุกก็ไม่สามารถใช้กระจกมองหลังได้เช่นกัน เนื่องจากมีตู้สินค้าบดบังทัศนวิสัยข้างหลังทั้งหมด ดังนั้นคุณจึงควรขับเว้นระยะห่างของรถไว้อย่างน้อย 20-25 คันของระยะรถยนต์ หรือเว้นระยะห่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนครับ

นี่คือ 4 จุดบอดอันตรายของรถบรรทุกที่ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ควรมองข้าม ซึ่งก็นับว่าอันตรายทั้งหมดถ้าหากคุณขับอยู่บริเวณรอบ ๆ ของรถบรรทุก คุณจึงควรเพิ่มความระมัดระวังมากกว่าปกติ ลดความประมาท อย่าขับเร็วเกินกว่ากำหนด คอยสังเกตว่าตนเองอยู่บริเวณพื้นที่ด้านใดของรถบรรทุก เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างทันท่วงที

เช็กลิสต์
เช็กลิสต์ 5 สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนขับรถเดินทางช่วงปีใหม่

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ใกล้ถึงช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว หลายคนมีแผนขับรถเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนายังต่างจังหวัด การเตรียมรถให้พร้อมก่อนออกเดินทางเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย จึงเตรียมเช็กลิสต์ 5 สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนออกเดินทาง มีอะไรบ้าง?

1. ตรวจเช็กห้องเครื่องยนต์

แม้ว่าจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบกลไกของเครื่องยนต์ ก็สามารถตรวจสอบสภาพเบื้องต้นภายในห้องเครื่องได้ โดยเช็กระดับของเหลวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก, น้ำยาหม้อน้ำ, น้ำฉีดล้างกระจก ฯลฯ

ของเหลวทั้งหมดจะต้องอยู่ในระดับที่พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป หากพบว่ามีสีหรือกลิ่นผิดแปลกไปจากปกติ ควรรีบนำรถเข้ารับการตรวจสอบและแก้ไขก่อนออกเดินทาง จะได้ไม่เกิดปัญหาระหว่างทาง

2. ตรวจเช็กสภาพยาง

ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนที่ต้องสัมผัสกับพื้นถนนตลอดเวลา ควรตรวจเช็กแรงดันลมยางให้เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในคู่มือหรือสติกเกอร์บริเวณเสาฝั่งผู้ขับขี่ กรณีต้องบรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระเต็มคัน ควรเพิ่มแรงดันลมยางคู่หลังมากกว่าปกติ 2-4 ปอนด์ เพื่อชดเชยกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา

ตรวจเช็กด้วยสายตาว่าดอกยางยังคงเหลือมากกว่า 2 มิลลิเมตรขึ้นไป เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการรีดน้ำ และยางจะต้องไม่มีรอยแตกลายงา หรือรอยบิ่นใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างยาง ซึ่งอาจทำให้ยางเกิดระเบิดเมื่อใช้ความเร็วสูงได้

3. ตรวจเช็กไฟส่องสว่างรอบคัน

ไฟส่องสว่างทุกดวงจะต้องติดครบ ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า, ไฟท้าย, ไฟเบรก, ไฟเลี้ยว, ไฟถอยหลัง รวมถึงไฟตัดหมอก (ถ้ามี) หากพบว่าหลอดใดหลอดหนึ่งขาดควรรีบเปลี่ยนก่อนออกเดินทาง

4. ตรวจเอกสารประจำรถ

ควรพกสำเนาคู่มือจดทะเบียนไว้ในรถเผื่อถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ (เก็บเล่มจริงไว้ที่บ้านเพื่อป้องกันการสูญหาย) กรมธรรม์ประกันภัยต่างๆ ทั้ง พ.ร.บ. และประกันภัยภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, 2, 3 และอื่นๆ) รวมถึงควรมีเบอร์โทรฉุกเฉินไว้เผื่อกรณีรถเสียหรือประสบอุบัติเหตุ จะได้ขอรับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

5. เตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่

งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากจำเป็นต้องออกเดินทางในยามวิกาล ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมมากกว่าปกติ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังกายเพื่อป้องกันการอ่อนเพลีย และจัดสรรเวลาพักผ่อนอย่างรอบคอบก่อนออกเดินทาง

เพื่อป้องกันอาการหลับในขณะขับรถ ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ, ชา (หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล) ลดอาการประเภทแป้งและอาหารที่มีน้ำตาลสูง จอดแวะพักเป็นระยะเพื่อกระตุ้นความสดชื่น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เดินทางถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัยแล้วล่ะครับ

ปุ่ม O/D มีหน้าที่ทำอะไร? แล้วทำไมรถรุ่นใหม่จึงไม่ค่อยมี?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 ใครที่เคยขับรถเกียร์อัตโนมัติเมื่อช่วงสัก 15-20 ปีที่แล้ว คงเคยเห็นปุ่มที่ระบุว่า O/D อยู่ข้างคันเกียร์ แล้วรู้หรือไม่ว่าปุ่มดังกล่าวมีหน้าที่ไว้ทำอะไร แล้วทำไมรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จึงไม่มีปุ่มที่ว่านี้แล้ว?

O/D แท้จริงแล้วย่อมาจากคำว่า Overdrive ซึ่งโดยเทคนิคจะหมายถึงตำแหน่งเกียร์ที่มีอัตราทดต่ำกว่า 1.000 ซึ่งรอบการหมุนของล้อจะเท่ากับหรือเร็วกว่ารอบการหมุนของเครื่องยนต์ ส่งผลให้รถวิ่งได้เร็วขึ้นในรอบเครื่องยนต์ต่ำ ช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองและชะลอการสึกหรอของเครื่องยนต์ลงได้ โดยมากแล้วเกียร์ O/D จะเป็นตำแหน่งเกียร์สูงสุดของรถแต่ละคัน ยกตัวอย่างเช่น รถที่มีเกียร์ 5 สปีด เกียร์​ O/D ก็คือตำแหน่งเกียร์ 5 นั่นเอง

กรณีกดปุ่ม O/D จะปรากฏสัญลักษณ์ O/D OFF บนหน้าปัด ช่วยป้องกันไม่ให้เกียร์ขึ้นไปถึงอัตราทดสูงสุดของรถคันนั้นๆ เช่น กรณีรถมี 5 เกียร์ หากปิดระบบ O/D เกียร์จะทำงานเฉพาะตำแหน่ง 1-4 โดยไม่ขึ้นไปถึงเกียร์ 5 จนกว่าจะมีการกดปุ่ม O/D อีกครั้งเพื่อเปิดใช้งาน

มาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าแล้วจะไปปิดระบบ O/D ทำไมกัน ในเมื่อการเปิดระบบ O/D ก็ช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองได้อยู่แล้ว นั่นเป็นเพราะรถยนต์ในสมัยก่อนจะมีเพียง 4 เกียร์เท่านั้น การใช้งานในเมืองที่ต้องเร่งสลับเบรกอยู่บ่อยๆ จึงแนะนำให้ปิดระบบ O/D ไปเสีย จะช่วยป้องกันไม่ให้เกียร์ขึ้นไปยังตำแหน่งสูงสุด ทำให้รถมีพละกำลังพร้อมใช้งานอยู่เสมอ (ลองนึกภาพว่ารถวิ่งแค่ 60 กม./ชม. แต่สมองกลเกียร์ดันสั่งให้ขึ้นไปยังตำแหน่งเกียร์ 4 พอจะเร่งเครื่องยนต์ก็กลายเป็นเร่งไม่ขึ้น ต้องเหยียบคันเร่งให้ลึกกว่าปกติเพื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์​ 3 หรือ 2 จึงจะมีแรงพุ่งไปข้างหน้า)

ปุ่ม O/D

แต่ปัจจุบันรถยนต์ถูกพัฒนาให้มีพละกำลังเพิ่มขึ้น ประกอบกับระบบเกียร์ก็ถูกพัฒนาให้มีความฉลาดมากขึ้นด้วย ผู้ขับขี่จึงไม่จำเป็นต้องปิดระบบ O/D แต่อย่างใด จึงแทบจะไม่เห็นรถยนต์ยุคใหม่ติดตั้งปุ่ม O/D มาให้แล้ว แต่จะมาให้รูปแบบโหมด Sport หรือเกียร์บวกลบที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนอัตราทดได้เองเสียมากกว่า

แต่ถ้าบ้านใครยังมีรถรุ่นเก่าที่มีระบบ O/D อยู่ จะลองใช้งานอย่างที่แนะนำมาข้างต้นดูก็ได้นะครับ บางทีอาจจะช่วยให้รถขับสนุกขึ้นจนติดใจเลยก็เป็นได้!

วิธีสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์
วิธีสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์ เกียร์ธรรมดา ในรูปแบบต่างๆ

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

วิธีสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดาแบบต่างๆ อาจแตกต่างกันไปตามรุ่นและยี่ห้อของรถ การเริ่มต้นรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดาหรือเข็น คือขั้นตอนหนึ่งที่คุณควรรู้เพื่อแก้ไขปัญหาการสตาร์ทรถ

การสตาร์ทเบื้องต้นเป็นส่วนสำคัญในการใช้งานรถเกียร์ธรรมดาอย่างถูกต้อง ดังนั้น คุณควรเรียนรู้วิธีการเริ่มต้นรถขั้นพื้นฐานเพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้องในการสตาร์ททั่วไปของรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดาให้คุณทราบดังต่อไปนี้

วิธีสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์ เกียร์ธรรมดา

เริ่มต้นการใช้งานรถจักรยานยนต์เกียร์ธรรมดาด้วยวิธีที่ควรรู้และนำไปใช้ได้ทันทีในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงวิธีเริ่มต้นที่คุณต้องรู้และนำไปใช้งานได้ทันทีในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. การเปิดโช้คเพื่อเพิ่มอากาศ


ในกรณีที่มอเตอร์ไซค์จอดนานๆ เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรถที่ไม่ได้ใช้หรือจอดทิ้งไว้ในระยะเวลานานเป็นส่วนใหญ่ รถที่มีเครื่องยนต์ Carburetor อาจมีปัญหาในการสตาร์ทติดยากบ้าง แต่หากเราเลือกใช้ระบบการเปิดโช้คช่วยในการสตาร์ท จะช่วยให้กระบวนการสตาร์ทรถง่ายขึ้น

2. การสตาร์ทด้วยการหมุนล้อหลัง


วิธีการสตาร์ทด้วยการหมุนล้อหลังที่หลายคนนิยมใช้งานคือ ก่อนที่จะเริ่มต้นเครื่องยนต์ ให้ตั้งรถด้วยขาตั้งคู่เพื่อให้ล้อหลังยกลอยขึ้น จากนั้นให้วางเกียร์ในตำแหน่งเกียร์ 4 และเปิดสวิทช์กุญแจ เมื่อพร้อมแล้วให้ทำการหมุนล้อหลังโดยการดันล้อไปด้านหน้า วิธีนี้จะช่วยให้เครื่องยนต์ติดง่ายขึ้น

3. การสตาร์ทด้วยการเข็น


วิธีการเข้ามือตั้งต้นในการเปิดตัวมอเตอร์ไซค์คือการเลื่อนไปด้านหน้าโดยใช้ก้านเกียร์อัตโนมัติเพื่อเริ่มเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีน้ำหนักเบา วิธีนี้ช่วยให้สามารถเริ่มการทำงานของเครื่องยนต์ด้วยแรงมนุษย์คนเดียวได้ และลดความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น ขั้นแรกคือการหมุนกุญแจสวิตช์เพื่อเปิดระบบ โดยทำโดยไม่ต้องใส่เกียร์ใดๆ

ให้เริ่มทำการเข็นรถไปข้างหน้าจากนั้น เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการกระโดดขึ้นรถ ขณะที่เข็นรถอยู่ ควรจะค่อยๆ พลางตัวไปทางข้างเพื่อให้สมดุลและเพิ่มความมั่นคงในการเข้ารถเมื่อพบจุดที่เหมาะสม จากนั้นให้กระโดดขึ้นรถ และทันทีที่อยู่บนรถ ให้ทำการใส่เกียร์ คุณสามารถเลือกใช้เกียร์ 1 หรือเกียร์ 4 ได้ตามต้องการ แต่ควรระมัดระวังในการเลือกใช้เกียร์ 4 เนื่องจากมันจะทำให้รถสตาร์ทง่ายขึ้น

หลังจากใส่เกียร์เรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถเริ่มต้นรถได้โดยการปล่อยคลัตช์เบา ๆ และบีบคันเร่งเพื่อให้เกียร์ติดตัวและเริ่มเคลื่อนไหว จำไว้ว่าการสตาร์ทด้วยการเข็นนี้เหมาะสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีน้ำหนักเบา

แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์

ต้นเหตุที่ทำให้ รถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดา สตาร์ทไม่ติด

เห็นได้ว่าต้นเหตุของปัญหาเริ่มต้นที่การสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดามักจะไม่ค่อยติดมีหลายสาเหตุหลายปัจจัยสำคัญ ๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. เครื่องยนต์


อาจมีปัญหาเกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องยนต์ที่ไม่ทำงานอย่างถูกต้องหรือชำรุด เช่น สายพร้อมพาสตาร์ทที่ไม่ได้รับการฉีดน้ำมันเพียงพอหรือไม่เพียงพอ หรือวงจรไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์

2. น้ำมันรั่วซึมเข้าห้องเผาไหม้


“น้ำมันอาจรั่วซึมจากเครื่องยนต์ไปยังห้องเผาไหม้เป็นไปได้ ซึ่งสามารถเกิดจากท่อน้ำมันที่ชำรุดหรือการฉีดน้ำมันที่ไม่ถูกต้อง

3. หัวเทียน


การเลือกซื้อหัวเทียนสำรองและอุปกรณ์ที่ใช้ในการถอดหัวเทียนออกเพื่อทำความสะอาดหรือเปลี่ยนหัวเทียนเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวเทียนที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ ทำให้การจุดระเบิดไม่เพียงพอหรือไม่เกิดการจุดระเบิดเลย

4. แบตเตอรี่


หากแบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานในการเริ่มต้นเครื่องยนต์ หากมีปัญหาเช่นไม่สามารถส่งพลังงานได้เพียงพอหรือมีปัญหาต่อไฟไม่ดี เครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์อาจไม่สามารถทำการสตาร์ทได้

สรุป สตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดา

การทำให้รถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดาให้ติดสตาร์ท อาจต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เหมาะกับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีน้ำหนักเบา ที่สามารถจะเข็นแบบคนเดียวได้แบบสบาย ๆ จะทำให้ไม่เหนื่อยมากนัก” ให้ติดสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดาเพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

มอเตอร์ไซค์
แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ มีทั้งหมดกี่แบบ ?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ มีหน้าที่จ่ายพลังงานกระแสตรงไปยังระบบต่าง ๆ ของมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็นไดสตาร์ทในการสตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบจุดระเบิด ระบบหัวฉีด รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ในตัวรถที่ใช้ไฟฟ้า จึงถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากของมอเตอร์ไซค์

‍การเลือกใช้แบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ไซค์ของคุณนั้น ขึ้นอยู่กับรุ่นมอเตอร์ไซค์ โดยคุณสามารถตรวจเช็คความจุและแอมป์ของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมได้จากคู่มือรถมอเตอร์ไซค์หรือแบตเตอรี่ลูกเก่า เพื่อให้มอเตอร์ไซค์ของคุณทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดครับ

ประเภทของแบตเตอรี่ มีทั้ง 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. แบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด หรือที่เรียกว่าแบตน้ำ (Conventional / Wet Cell Batteries)

เป็นแบตเตอรี่พื้นฐานซึ่งไม่นิยมใช้กันในมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ ๆ แล้ว เพราะมีขนาดใหญ่ หนัก อายุการใช้งานสั้น และจำเป็นที่จะต้องวางในแนวตั้งเท่านั้น ทำให้จำเป็นต้องคอยตรวจเช็คและเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง แต่มีข้อดีคือราคาถูกที่สุด และหาซื้อได้ง่าย

2. แบตเตอรี่แบบแห้ง (AGM / Maintenance Free Batteries)

เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาจากแบตน้ำ โดยยังคงใช้ตะกั่วกรด แต่ของเหลวจะติดอยู่ภายในแบตเตอรี่ระหว่างแผ่นเส้นใยไฟเบอร์กลาสพิเศษ มีการเพิ่มซีลปิดด้านบนทั้งหมดเหลือแค่เพียงขั้วไฟเท่านั้น จึงทำให้กรดไม่สามารถหกออกจากแบตเตอรี่ได้ มีขนาดกะทัดรัดกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ และไม่จำเป็นต้องเติมน้ำหรือตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์

‍ทำให้แบตเตอรี่แบบแห้งนั้นดูแลง่าย ไม่เกิดการรั่วซึม อีกทั้งยังมีแรงจ่ายกระแสเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์สูงกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรดหรือแบตน้ำอีกด้วย อายุการใช้งานนานกว่า แต่มีราคาแพงกว่า เพื่อแลกกับคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้น

3. แบตเตอรี่แบบลิเธียม

เป็นแบตเตอรี่ที่ให้กำลังไฟมากและมีอายุการใช้งานที่นานที่สุด โดยด้านในแบตเตอรี่จะไม่มีของเหลวอยู่เลย จึงสามารถวางในแนวไหนก็ได้ มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กกว่าแบตเตอรี่อีกสองชนิด แต่ด้วยความซับซ้อนของแบตเตอรี่ในส่วนของวงจรควบคุมกระแสไฟฟ้า จึงทำให้แบตเตอรี่แบบลิเธียมนั้นมีราคาสูงมากเช่นกัน

‍โดยการเลือกยี่ห้อแบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซค์นั้นจะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจเป็นหลัก เนื่องจากมีหลากหลายราคา หลากหลายยี่ห้อให้ได้เลือกสรร ซึ่งในปัจจุบันความจุแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์จะเป็นแบบ 12 โวลท์ทั้งหมด แต่จะแตกต่างกันที่ “แอมป์” ขึ้นอยู่กับรุ่นของรถมอเตอร์ไซค์


ที่สำคัญคุณจะต้องควรคำนึงถึงค่า CCA หรือค่าความสามารถในการจ่ายกระแสไฟเพื่อสตาร์ทรถในสภาพอากาศเย็นอีกด้วย ถ้าหากค่า CCA สูงจะช่วยให้สตาร์ทง่ายขึ้น รวมไปถึงต้องเลือกขนาดแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ไซค์ของคุณอีกด้วย

นอกจากนี้คุณจะต้องหมั่นตรวจเช็คแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คระดับน้ำกลั่น ดูตะกอนขั้วบวก ขั้วลบ พร้อมทั้งทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกมาเกาะตามแบตเตอรี่ และเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ระบบคลัทช์ในมอเตอร์ไซค์
ระบบคลัทช์ในมอเตอร์ไซค์ มีหลักการทำงานอย่างไร ?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ระบบคลัทช์มอเตอร์ไซค์ มีหน้าที่ปลดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังชุดเฟืองเกียร์ ซึ่งหลักการทำงานของคลัทช์นั้นจะมีชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่ประกอบไปด้วยสปริงคลัทช์ แผ่นกดคลัทช์ ผ้าคลัทช์ แผ่นเหล็กคลัทช์ เรือนคลัทช์ตัวใน และเรือนคลัทช์ตัวนอก โดยจะทำการรวมชิ้นส่วนหลัก ๆ เหล่านี้เป็นชุดเรือนคลัทช์ ที่เป็นตัวกลางในการส่งกำลังจากเฟืองเพลาข้อเหวี่ยงผ่านไปยังที่เฟืองเกียร์ ทำให้การเปลี่ยนเกียร์มีความเสถียร สามารถเร่งเครื่องได้อย่างมั่นใจ และขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวลมากยิ่งขึ้นด้วยครับ

ในปัจจุบันระบบคลัทช์ที่นิยมนำมาใช้ จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

1. ระบบคลัทช์ชนิดแรงเหวี่ยง มีหลักการทำงานแบบเหวี่ยงตามรอบเครื่องยนต์ที่หมุนไป หากเครื่องยนต์หมุนเพียงเล็กน้อย ตัวคลัทช์จะไม่จับชามเพื่อไม่ให้มีแรงจากเครื่องยนต์ส่งไปที่ล้อ แต่ถ้าหากเกิดการเร่งเครื่อง ตัวคลัทช์จะใช้แรงเหวี่ยงกางออกไปจับชามที่หุ้มไว้ ทำให้กำลังจากเครื่องยนต์ส่งไปถึงชุดเกียร์และล้อได้ในที่สุด

2. ระบบคลัทช์จานสปริง มีหลักการคือเมื่อเหยียบคลัทช์ก็จะทำให้แบริ่งกดไปบนจานสปริง ส่งผลให้จานสปริงงอตัวและดันแผ่นประกบให้แยกตัวออกจากล้อช่วยแรง จึงเป็นการตัดการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ได้ในที่สุด

วิธีใช้คลัทช์มอเตอร์ไซค์อย่างถูกต้องและปลอดภัย

– หมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ด้วยการใช้นิ้วชี้และกลางในการบีบคลัทช์ บีบเสร็จแล้วปล่อยนิ้ว

– ควรใช้คลัทช์ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ สูง ต่ำ และเกียร์ว่าง เท่านั้น

– ไม่ควรบีบคลัทช์เพื่อเพิ่มรอบเครื่องยนต์ขณะขับขี่ เพราะจะส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักและสิ้นเปลืองน้ำมัน

– เมื่อบีบคลัทช์ขณะเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์เสร็จแล้ว ให้คลายมืออกจากคลัทช์และวางไว้ที่แฮนด์ทันที

– ไม่ควรใช้มือจับคลัทช์ตลอดเวลา เพราะถ้าหากเกิดการเบรกกะทันหันแล้วเผลอใช้มือบีบคลัทช์ไปด้วย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ระบบคลัทช์ช่วยอะไรได้บ้าง ?

– ช่วยตัดกำลังงานเครื่องยนต์ – คลัทช์จะทำหน้าที่ตัดหรือต่อกำลังงานระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ เพื่อส่งกำลังงานให้รถเคลื่อนที่ไปได้อย่างลื่นไหลและนุ่มนวล และไม่ให้เสียกำลังจากเครื่องยนต์จนมากเกินไป

– ช่วยป้องกันการชำรุดของฟันเฟือง – เนื่องจากชุดคลัทช์จะมีแผ่นคลัทช์ที่ทำมาจากสารสังเคราะห์ผสมกับเส้นใยโลหะ ช่วยทำให้เกิดการเสียดสีที่นุ่มนวล ฟันเฟืองของเกียร์สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้อย่างคล่องตัวตลอดการใช้งาน

– ช่วยลดการเกิดเสียงดังขณะเข้าเกียร์ – เมื่อทำการบีบคลัทช์ ปลายของก้ามปูคลัทช์จะเข้าไปดันลูกปืนคลัทช์เพื่อกดปลายคลัทช์ให้ถอยออกมา จากนั้นแผ่นคลัทช์ก็จะลอยตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไม่มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวล

จะเห็นได้ว่า ระบบคลัทช์ของมอเตอร์ไซค์นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวล ล้อขับเคลื่อนได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และที่สำคัญคุณต้องใช้คลัทช์ใอย่างถูกวิธีมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับคุณได้

ขี่มอเตอร์ไซค์ลุยทางฝุ่น ต้องระวังอะไรบ้าง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

สิงห์นักบิดหลายคนต้องมีโอกาสได้ขับขี่ผ่านเส้นทางทั้งดีและไม่ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางท่องเที่ยวย่อมต้องเจอกับสภาพถนนไม่เป็นใจหรือว่าทางในแบบ “ออฟโร้ด” อยู่บ้าง แต่ก่อนอื่นเลย ไม่ว่าเราจะเป็นใช้รถมอเตอร์ไซค์แบบ Adventure รถมอเตอร์ไซค์แบบสปอร์ต หรือรถมอเตอร์ไซค์คลาสสิก จะต้องใส่ชุดขับขี่ให้ครบและปลอดภัย เช่น หมวกกันน็อก ถุงมือ รองเท้า เสื้อสำหรับขับขี่ยิ่งที่มีการ์ดป้องกันกระแทกยิ่งดีครับ มาดูกันว่าการขับขี่เส้นทางแบบนี้มีข้อควรที่ต้องระวังอะไรบ้าง

1. ประเมินเส้นทางก่อนที่จะขับผ่านไป

ก่อนจะขับผ่านไปนั้นเราต้อง คิด วิเคราะห์ แล้วเตรียมความพร้อมทั้งรถและคนขับให้พร้อม จะต้องประเมินว่าอุปสรรคที่จะผ่านไปนั้น สภาพทางฝุ่นที่มีโค้ง ทราย บ่อน้ำ หญ้า และ หินกรวด หรือ ทางตรงยาว และมีต้นไม้หรือกิ่งไม้ อยู่ในทางที่จะผ่านหรือไม่ แต่บางสถานการณ์ที่ขับความเร็วคงที่อยู่แล้วและกำลังจะผ่านเส้นทางที่คาดว่ามีความเสี่ยง ก้ต้องลดความเร็วลงให้ปลอดภัยที่สุด และจับแฮนด์และวางเท้าบนที่วางให้แน่นและกระชับ นอกจากนี้หากเป็นทางโค้งที่ผิวทางเปียกลื่นหรือเป็นฝุ่น ก็ให้ลดความเร็วและค่อย ๆ ขับขี่ไปอย่างระมัดระวังโดยใช้การหักเลี้ยวให้น้อยที่สุด

2. ค่อย ๆ ผ่านอุปสรรคไปอย่างระมัดระวัง

เมื่อประเมินสถานการณ์เรียบร้อยต่อมาคือ มองไปข้างหน้าให้ไกลเผื่อระยะเอาไว้เพื่อให้เห็นถึงสภาพถนนพร้อมกับการสลับการมองดูระยะใกล้ล้อหน้า และรอบ ๆ ข้าง เพื่อให้แม่นยำยิ่งขึ้น การปรับตำแหน่งเกียร์เช่นใช้เกียร์ 2 เมื่อขับช้า ๆ ผ่านเส้นทางที่เป็ยหลุมบ่อ หรือการใช้ความเร็วรถ ความเร็วรอบเครื่องยนต์รวมถึงตำแหน่งให้เหมาะสมกับความเร็วหรือกำลังของเครื่องยนต์ที่จะต้องบิดข้ามไป และใช้ความเร็วให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะประคองรถไปได้ตามต้องการ

3. ยืนขับถ้าจำเป็น

ในการขับขี่ผ่านเส้นทางออฟโร้ดบางครั้งก็อาจจำเป็นต้องขับในท่ายืนเพื่อให้คล่วงตัวในการโยกตัวรถหลบหลีกหรือเอียงองศาตัวรถให้สามารถขับผ่านไปได้ หรือบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะเล็กน้อยในการเลี้ยวทางโค้ง เช่นการเอียงตัวตรงข้ามกับตัวรถหรือโค้งที่จะเลี้ยวเป็นต้น เพื่อรักษาสมดุลให้ขับไปได้อย่างปลอดภัย โดยท่ายืนขับจะใช้ขาหนีบเบาะหรือลำตัวรถเพื่อให้โยกไปมาได้ตามต้องการ ทำให้บังคับรถง่ายขึ้น

ขี่มอเตอร์ไซค์ลุยทางฝุ่น

4. จับอาการรถ

ในระหว่างที่กำลังขับขี่ผ่านเส้นทางออฟโร้ดหรืออุปสรรคต่าง ๆ เหล่านั้น ให้จับอาการของรถทั้งกำลังเครื่องยนต์ ตำแหน่งเกียร์ ท่านั่งหรือยืน ตำแหน่งมือจับแฮนด์บาร์ ว่าพร้อมรักสถานการณ์ที่อาจไม่คาดคิดได้ เช่น รถลื่นไถล หรือ ต้องใช้เบรกและสำรวจพื้นถนนเมื่อจำเป็นต้องเอาเท้าลงเพื่อยันพื้นช่วยการทรงตัวของรถ

5. ใช้เบรกอย่างเหมาะสม

ในการขับขี่ผ่านถนนฝุ่นหรือโคลนที่ลื่น ๆ การใช้เบรกให้ถูกต้องค่อนข้างสำคัญ ส่วนมากมักใช้เครื่องยนต์ชุดหรือ “Engine Brake” เพื่อลดคามเร็วเข้าทางลื่นหรือทางโค้ง ทำงานรวมกันกับเบรกล้อหลัง และแนะนำว่าควรเบรกในขณะทิศทางรถตรงอยู่และตัวรถเอียงน้อยที่สุดก่อนถึงทางโค้ง และใช้ความเร็วที่คิดว่า “เอาอยู่” ค่อย ๆ ผ่านไป แต่ถ้าใครที่ได้ทักษะการเข้าโค้งในทางฝุ่นก็ใช้ท่าทางที่ถูกต้องไปเลยครับ

6. หมั่นเรียนรู้อยู่เสมอ

การขับขี่ไม่ว่าจะทางเรียบ ถนนหลาง ทางฝุ่น ควรจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้วิธีขับขี่ เทคนิคต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคนิคในการขับขี่รถแนววิบากแบบ ออฟโร้ด ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องนำมาใช้ในบางสถานการณ์ และไม่ว่าว่าจะขับขี่ในเส้นทางแบบไหน ก็จำเป็นต้องปรับตัว เรียนรู้ และฝึกฝนตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

ทริคเล็กน้อยน้อยที่นำมาเล่าสู่กันฟังถึงการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทางฝุ่นในสไตล์วิบากหรือว่าจะเป็นแอดแวนเจอร์ หรือแม้กระทั่งสายมอเตอร์ไซค์คลาสสิกก็สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ความไม่ประมาท การวางแผนการเดินทางให้สะดวกสบายประหยัดและปลอดภัย คำนึงถึงเพื่อร่วมทางและผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น ๆ เพราะหากเจอทางฝุ่นหนา ๆ แม้เราจะเป็นนักบิดที่เก่ง ก็ต้องขับผ่านไปด้วยความระวังและไม่ให้คนพื้นที่ต้องมาเดือดร้อนเพราะการขับขี่ที่อันตรายครับ

หมวกกันน็อก
หมวกกันน็อก ช่วยป้องกันอันตรายได้อย่างไรบ้าง?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

“หมวกกันน็อก” ไอเท็มสำคัญที่ใครหลายคนมักประมาทละเลย คิดว่าขับระยะทางสั้น ๆ แค่นี้ไม่ต้องสวมหมวกกันน็อกก็ได้ แต่ใครจะรู้ว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งหมวกกันน็อกเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่มาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ถ้าหากใครยังไม่เห็นภาพว่าหมวกกันน็อกสำคัญไฉน วันนี้ 35 ยนตรการ ได้รวบรวมหน้าที่และประโยชน์ของหมวกกันน็อกมาให้แล้ว ตามมาอ่านกันได้เลยครับ

5 ส่วนของหมวกกันน็อก มีหน้าที่อะไรบ้าง?

ส่วนที่ 1 เปลือกหมวกกันน็อก (Outer Shell)

มีหน้าที่รับแรงกระแทก ช่วยให้ศีรษะได้รับแรงกระแทกน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงไม่ให้สมองได้รับบาดเจ็บ

‍ส่วนที่ 2 โฟมกันกระแทก (Impact Absorbing Liner)

เป็นชั้นที่หนาที่สุด มีหน้าที่คอยดูดซับแรงกระแทกให้กระจายเป็นวงกว้างก่อนถึงศีรษะ

‍ส่วนที่ 3 ฟองน้ำ (Comfort Padding)

มีหน้าที่ช่วยกระชับให้หมวกกับศีรษะมีความพอดีกัน หมวกไม่ขยับหรือเคลื่อนที่ระหว่างสวมใส่

‍ส่วนที่ 4 สายรัดคาง (Chin Strap)

มีหน้าที่ช่วยล็อคหมวกไว้กับศีรษะ เพื่อไม่ให้หมวกเกิดการขยับหรือเคลื่อนที่ระหว่างสวมใส่ ป้องกันหมวกหลุดออกจากศีรษะ

‍ส่วนที่ 5 หน้ากาก (Face Shield)

มีหน้าที่ช่วยกันลมและเศษหินต่าง ๆ ไม่ให้กระทบเข้าใบหน้าหรือดวงตา ป้องกันไม่ให้ดวงตาเกิดอาการอับเสบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพวิสัยทัศน์ในการมองเห็นบนท้องถนนได้ดีมากยิ่งขึ้น

หมวกกันน็อก

3 ประโยชน์ของหมวกกันน็อก

1. เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่

หากคุณประสบอุบัติเหตุแต่ยังสวมใส่หมวกกันน็อกอยู่ หมวกกันน็อกจะสามารถช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เช่น ศีรษะได้รับแรงกระแทกน้อยลง สมองไม่ถูกกระทบกระเทือน เป็นต้น

‍2. ไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ

เนื่องจากการสวมใส่หมวกกันน็อกถือว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 หากไม่สวมใส่หมวกกันน็อกระหว่างการขับขี่ คุณจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายกำหนด ‍

‍3. กันลมปะทะใบหน้า

หากคุณไม่สวมใส่หมวกกันน็อกและปล่อยให้ลมตีเข้าใบหน้าระหว่างการขับขี่ คุณจะรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าแก้ม รวมถึงลมยังสามารถปะทะเข้าดวงตาได้อีกด้วย ทำให้ดวงตาเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อลม หมวกกันน็อกจึงเป็นตัวช่วยป้องกันลมปะทะเข้าใบหน้าได้เป็นอย่างดี

หมวกกันน็อกแบบใดปลอดภัยที่สุด?

แนะนำว่าควรเลือกสวมใส่ “หมวกกันน็อกแบบเต็มใบ” เนื่องจากเป็นทรงหมวกที่ช่วยปกป้องศีรษะของคุณได้ทั้งหมด สวมใส่ได้อย่างกระชับ ไม่ขยับหรือเคลื่อนหลุดออกจากศีรษะได้ง่าย ๆ และที่สำคัญต้องเลือกยี่ห้อหมวกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ว่าหมวกกันน็อกที่คุณสวมใส่ได้รับมาตรฐานและปลอดภัยที่สุด

 

สรุปได้ว่า หมวกกันน็อกเป็นไอเท็มสำคัญที่ช่วยให้ศีรษะได้รับแรงกระแทกน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงไม่ให้สมองเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น สมองบวม เลือดคลั่งในสมอง เป็นต้น ดังนั้นการสวมใส่หมวกกันน็อกจะทำให้คุณขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น