Search for:
ขับรถทางไกล
ขับรถทางไกลนานๆ จอดรถแล้วดับเครื่องได้เลยหรือไม่?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 หลายคนมีข้อสงสัยว่า เวลาที่ขับรถทางไกลเป็นระยะเวลานานๆ เมื่อถึงจุดหมายแล้ว จะสามารถดับเครื่องยนต์ทันทีได้เลยหรือไม่ หรือต้องปล่อยให้อยู่ในรอบเดินเบาระยะหนึ่งก่อนจึงจะดับเครื่องยนต์ได้ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบกันครับ

รถไม่มีเทอร์โบ

กรณีเป็นรถเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลบางรุ่นที่ไม่มีระบบเทอร์โบ สามารถดับเครื่องยนต์ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้อง “คูลดาวน์” เนื่องจากในระหว่างการขับขี่เครื่องยนต์จะมีการระบายความร้อนโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้จึงไม่มีความจำเป็น และสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุ

รถมีเทอร์โบ

ส่วนกรณีรถที่มีเครื่องยนต์เทอร์โบ ไม่ว่าจะเป็นรถดีเซลหรือเบนซิน อันที่จริงสามารถดับเครื่องยนต์ได้ทันทีโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่หากต้องการถนอมเทอร์โบให้มีอายุการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น ก็ให้ติดเครื่องยนต์ไว้ชั่วครู่ประมาณ 2 – 3 นาที เพื่อระบายความร้อนของแกนเทอร์โบ ช่วยให้อุณหภูมิสะสมของตัวเทอร์โบค่อยๆ ลดลงก่อนที่จะดับเครื่องยนต์

อย่างไรก็ดี การลดความเร็วก่อนถึงที่หมาย รวมถึงการขับรถไปอย่างช้าๆ ในลานจอดรถ ก็เป็นการระบายความร้อนของเทอร์โบได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากการใช้รอบเดินเบาหรือเหยียบคันเร่งเพียงเล็กน้อย เทอร์โบก็จะไม่ทำงาน ซึ่งระหว่างนี้เทอร์โบก็จะมีอุณหภูมิค่อยๆ ลดลง กรณีนี้ก็สามารถลดระยะเวลาในการคูลดาวน์ลงได้ เช่น จากปกติคูลดาวน์ 3 นาที อาจลดระยะเวลาเหลือ 1 นาทีก็พอ

ทำไมรถเทอร์โบจึงควรคูลดาวน์ก่อนดับเครื่องยนต์?

โดยปกติแล้วหน้าที่ของเทอร์โบคือช่วยอัดอากาศเข้าไปยังห้องเผาไหม้มากยิ่งขึ้น จะช่วยเพิ่มพละกำลังของเครื่องยนต์ตั้งแต่รอบต่ำไปจนถึงรอบสูง (ช่วงรอบเครื่องยนต์ที่เทอร์โบทำงานจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น) เมื่อเทอร์โบทำงานเป็นระยะเวลานานๆ โข่งไอเสียฝั่งขาออกจะเกิดความร้อนสูง รถบางรุ่นจึงมีการออกแบบให้มีน้ำมันเครื่องยนต์ส่วนหนึ่งวิ่งวนเพื่อไปช่วยระบายความร้อนในแกนเทอร์โบ หากว่ามีการคูลดาวน์ก่อนดับเครื่องยนต์ก็จะช่วยลดความร้อนได้เร็วกว่านั่นเอง

เมื่อทราบแบบนี้แล้วผู้ใช้รถก็สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมเพื่อยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์ครับ

1
หลายคนคิดไม่ถึง! 4 สิ่งห้ามเก็บไว้ในรถช่วงหน้าร้อน ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

หลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งของจำพวกอิเลกทรอนิกส์หรือวัตถุไวไฟ เช่น พาวเวอร์แบงก์ ไฟแช็ก สเปรย์ปรับอากาศ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ในรถเมื่อจำเป็นต้องจอดทิ้งไว้กลางแดดช่วงฤดูร้อน แต่ยังมีอีก 4 สิ่งที่อาจสร้างความเสียหายได้อย่างไม่คาดคิดหากทิ้งไว้ในรถที่ร้อนจัด จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. ผลิตภัณฑ์นมบรรจุขวดแก้ว

– เนื่องจากผลิตภัณฑ์นมมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นนมวัวหรือนมถั่วเหลืองก็ตาม อาจก่อให้เกิดแรงดันมหาศาลภายในขวดแก้วจนกระทั่งระเบิดออกอย่างรุนแรง ซึ่งนอกจากนมที่เน่าเสียจะกระจายไปทั่วทั่งรถส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งยากต่อการทำความสะอาดแล้ว แรงดันอันมหาศาลอาจทำให้กระจกรถถึงขั้นแตกด้วยซ้ำไป

2. น้ำอัดลมบรรจุขวดและกระป๋อง

– น้ำอัดลมและเครื่องดื่มอัดก๊าซต่างๆ หากได้รับความร้อนสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็จะเกิดแรงดันในบรรจุขวดหรือกระป๋องจนทำให้เกิดการระเบิดได้เช่นกัน หากจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้กลางแดดก็อย่าลืมน้ำกระป๋องหรือขวดน้ำอัดลมที่ยังไม่เปิดออกจากรถด้วย

3. แว่นสายตาหรือแว่นตากันแดด

– เลนส์ของแว่นตาอาจทำให้เกิดการรวมแสงไปยังจุดในจุดหนึ่งภายในห้องโดยสาร กระทั่งเกิดความร้อนสูงจนสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์ภายในรถได้ แม้ว่าโอกาสจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ทางที่ดีควรเก็บแว่นตาไว้ในกล่องเก็บของหน้ารถ หรือช่องเก็บแว่นโดยเฉพาะจะดีที่สุด

4. สีเทียนหรือสีชอล์ก

 – สีเทียนมีจุดหลอมละลายต่ำ การทิ้งสีเทียนหรือสีชอล์กของลูกๆ ไว้ในรถที่จอดกลางแดดอาจสร้างความเสียหายแก่ชิ้นส่วนภายในห้องโดยสาร โดยผู้ผลิตสีเทียนและอุปกรณ์ศิลปะชั้นนำอย่าง Crayola ระบุว่าสีเทียนจะเริ่มอ่อนตัวลงที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 49 องศาเซลเซียสขึ้นไป

เมื่อทราบเช่นนี้แล้วก็อย่าลืมนำสิ่งของเหล่านี้ออกจากรถในวันที่จำเป็นต้องจอดทิ้งไว้กลางแดดด้วยนะครับ

ขับรถเกียร์ออโต้
5 เคล็ดลับขับรถเกียร์ออโต้ให้ประหยัดในช่วงน้ำมันแพง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 ในช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นรายวันเช่นนี้ หลายคนเริ่มถอดใจเตรียมหันไปคบ LPG กันบ้างแล้ว ครั้นจะไปถอยรถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องเป็นหนี้กันไปยาวๆ อีกหลายปีก็เลยมีเคล็ด (ไม่) ลับขับรถเกียร์ออโต้ให้ประหยัดน้ำมันแบบถึงใจมาฝากกันครับ

1.เร่งออกตัวแบบไม่ต้องรีบร้อน

– เครื่องยนต์จะกินน้ำมันมากที่สุดในช่วงขณะเร่งออกตัว จึงควรเร่งออกตัวอย่างช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน ประคองรอบเครื่องยนต์ไม่ให้เกิน 2,000 – 2,500 รอบต่อนาที หากต้องการเปลี่ยนเกียร์ให้เร็วขึ้นก็สามารถยกเท้าออกจากคันเร่งเบาๆ จากนั้นจึงเติมคันเร่งลงไปอีกครั้ง จะช่วยลดการลากรอบเครื่องยนต์ที่เป็นสาเหตุให้กินน้ำมันเพิ่มขึ้นได้

2.ใช้ความเร็วคงที่ 80-90 กม./ชม.

– เนื่องจากช่วงความเร็วดังกล่าวเป็นช่วงที่เครื่องยนต์จะกินน้ำมันน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระยะทางที่วิ่งได้ ควรเลี้ยงความเร็วให้คงที่ ลดการเหยียบเบรกโดยไม่จำเป็น รวมถึงหลีกเลี่ยงการเร่งแซงที่มีผลทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้น อาจใช้เวลาถึงที่หมายนานขึ้นอีกหน่อย แต่ประหยัดน้ำมันขึ้นได้แน่นอน!

3.ปรับอุณหภูมิแอร์สูงขึ้นเล็กน้อย

– ระบบปรับอากาศของรถยนต์มีส่วนทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้น ให้ลองปรับอุณหภูมิสูงขึ้นจากปกติเล็กน้อย 2-3 องศา จะช่วยให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานน้อยลง เป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ และช่วยให้ประหยัดน้ำมันขึ้นได้

4.ใส่เกียร์ N ขณะติดไฟแดง

– การใส่เกียร์ว่าง (N) ขณะหยุดติดไฟแดง จะช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองลงได้ไม่ต่ำกว่า 30% เมื่อเทียบกับการใส่เกียร์ D แล้วเหยียบเบรกค้างไว้ แต่ทางที่ดีควรเหยียบเบรกหรือใส่เบรกมือเพื่อป้องกันรถไหลด้วย

5.เติมลมยางให้เหมาะสม

– การปล่อยให้แรงดันลมยางน้อยจนเกินไป จะไปเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างหน้ายางและพื้นถนน ทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้น จึงควรเติมลมยางให้เหมาะสมตามที่ผู้ผลิตกำหนด และอย่าลืมเพิ่มลมยางมากกว่าปกติเมื่อบรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระเต็มคัน (Full Load) รวมถึงนำสิ่งของไม่จำเป็นออกจากรถด้วย

นอกเหนือจากเคล็ด (ไม่) ลับช่วยประหยัดน้ำมันเหล่านี้แล้ว การดูแลบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เหมาะสม เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์เมื่อถึงระยะที่กำหนด ก็มีส่วนช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองในช่วงภาวะน้ำมันแพงได้เช่นกันครับ

ขากลับ
เพิ่งจะรู้! เหตุผลว่าทำไมขับรถ “ขากลับ” ถึงรู้สึกเร็วกว่า “ขาไป”

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเวลาขับรถไปต่างจังหวัด เรามักจะรู้สึกว่าขาไปใช้เวลายาวนานกว่าขากลับเสมอ ทั้งๆ ที่ระยะทางของทั้งสองขาก็แทบไม่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปหาคำตอบของปริศนานี้กัน

สาเหตุเกิดจาก "จิต" ของมนุษย์เอง

ธรรมดามนุษย์เรามีการรับรู้เกี่ยวกับเวลาได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะเป็นหลักวินาที หรือยาวนานนับชั่วโมงก็ตาม บางวันเรารู้สึกว่าเวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน แต่พออีกวันกลับรู้สึกว่าเวลาช่างผ่านไปเชื่องช้า ทั้งๆ ที่แต่ละวันต่างก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน สิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อตัวเรา เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว, อารมณ์ในแต่ละช่วงขณะ หรือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เป็นต้น

เช่นเดียวกับความรู้สึกว่าทำไมการเดินทางขับรถขาไป จึงรู้สึกยาวนานกว่าขากลับเสมอ ปรากฏการณ์ที่ว่านี้เรียกกันว่า “Returning trip effect” เมื่อคุณเดินทางไปยังจุดหมายที่ไม่คุ้นเคยแล้วเดินทางกลับ มักจะดูเหมือนว่าขากลับใช้เวลาน้อยกว่าเดินทางขาไป แม้ว่าจะเดินทางด้วยระยะทางเท่ากันก็ตาม


สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นสามารถตอบตามหลักจิตวิทยาได้หลายรูปแบบ โดยคำอธิบายหนึ่ง คือ “การใส่ใจกับเวลา” เมื่อคุณใส่ใจกับเวลาที่ผ่านไป จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนกับใช้เวลานานขึ้น การที่คุณเดินทางไปในที่ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น กระตือรือร้นที่จะไปถึงจุดหมายโดยเร็ว จึงรู้สึกเหมือนกับว่าเวลาผ่านไปเชื่องช้า ผิดกับการขับรถกลับบ้านที่คุณแทบไม่เหลือความตื่นเต้นอะไรแล้ว คุณจึงให้ความสนใจกับเวลาลดน้อยลง ทำให้รู้สึกว่าขากลับเร็วกว่าขาไปนั่นเอง

อีกสาเหตุหนึ่งคือความคาดหวังของผู้คนสำหรับการเดินทางกลับจะต่ำกว่า เมื่อเรามุ่งหน้าไปยังจุดหมายปลายทาง เรามักจะคาดหวังที่จะได้สัมผัสอะไรบางอย่างที่นั่น การคาดหวังนี้อาจทำให้การเดินทางดูยาวนานขึ้น ในทางกลับกัน เราได้มีประสบการณ์จุดหมายปลายทางแล้วในการเดินทางไปกลับ ดังนั้นเราจึงคาดหวังต่ำลงและการเดินทางจึงดูสั้นลง

เหล่านี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมการขับรถขากลับจึงรู้สึกเร็วกว่าขาไปนั่นเองครับ

ปุ่มบนสายเข็มขัด
ปุ่มบนสายเข็มขัดนิรภัยมีไว้ทำอะไร?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 หลายคนคงเคยสังเกตเห็นว่าบริเวณสายเข็มขัดนิรภัย จะมีตุ่มเล็กๆ ติดตั้งเอาไว้บนสายเข็มขัดของรถแทบทุกคัน แล้วทราบหรือไม่ว่าตุ่มดังกล่าวมีไว้ทำอะไร?

1

 อันที่จริงแล้วตุ่มดังกล่าวมีไว้เพื่อให้หัวเข็มขัดนิรภัยอยู่ที่ปลายสายเสมอทุกครั้งที่หยิบมาคาด เพราะถ้าหากไม่มีตุ่มที่ว่านี้ หัวเข็มขัดก็จะลงไปกองอยู่กับพื้นอย่างแน่นอน ทำให้ไม่สะดวกต่อการหยิบมาใช้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ภายในรถอีกหลายอย่างที่คุณเองก็อาจไม่ทราบถึงประโยชน์ในการใช้งาน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

2

รถยนต์แทบทุกคันจะมีกระจกมองหลังแบบตัดแสงมาให้ เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่รถคันหลังเผลอเปิดไฟสูงค้างไว้ วิธีใช้ก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่ดึงปุ่มบริเวณขอบล่างของกระจกเข้าหาตัว องศาของกระจกมองหลังก็จะถูกปรับองศาเพื่อตัดแสงจากรถคันหลัง ช่วยลดแสงจ้าลงได้อย่างเห็นผล

3

ลูกศรที่อยู่บริเวณด้านข้างของสัญลักษณ์รูปหัวจ่าย มีไว้เพื่อบอกตำแหน่งของฝาถังน้ำมันว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของตัวรถ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกฝั่งที่จะเติมน้ำมันได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

4

หลายคนอาจเคยสงสัยว่าช่องตะแกรงเล็กๆ บนแผงคอนโซลหน้ามีไว้ทำอะไร จะเป่าลมออกมาก็ไม่ใช่ จะมีไว้ดูดอากาศก็ไม่เชิง ซึ่งอันที่จริงแล้วช่องดังกล่าวเป็นตำแหน่งของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร เพื่อให้ระบบปรับอากาศสามารถทำความเย็นได้อย่างเหมาะสมกับอุณหภูมิจริงในขณะนั้น

5

ถบางรุ่นสามารถปรับระดับความสูงของไฟหน้าตามน้ำหนักบรรทุกได้ เพราะหากมีผู้โดยสารเต็มคัน หรือบรรทุกสัมภาระที่มีน้ำหนักมาก หน้ารถก็จะเชิดขึ้น ส่งผลให้ไฟหน้าพุ่งแยงสายตาผู้ขับขี่คนอื่นๆ ได้ โดยที่ตำแหน่ง 0 คือตำแหน่งปกติ ไฟหน้าจะพุ่งไปได้ไกลที่สุด เหมาะสำหรับกรณีที่ไม่มีน้ำหนักบรรทุก ส่วนตำแหน่ง 1, 2 และ 3 ก็จะเป็นการกดองศาไฟหน้าให้ต่ำลงลดหลั่นกันไปตามลำดับ ยิ่งตัวเลขมากขึ้นเท่าไหร่ ไฟหน้ายิ่งต่ำลงเท่านั้น

6

รถบางรุ่นอาจมีปุ่มรูปหิมะติดตั้งมาให้ใกล้กับคันเกียร์ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้รถออกตัวอย่างนุ่มนวลบนทางที่เต็มไปด้วยหิมะ หากเป็นรถที่ใช้เกียร์แบบทอร์กคอนเวอร์เตอร์ มักจะเป็นการออกตัวด้วยเกียร์ 2 เพื่อป้องกันไม่ให้ล้อได้รับแรงบิดจากเครื่องยนต์มากจนเกินไป จนอาจเกิดเป็นอาการล้อหมุนฟรีบนพื้นผิวที่ปกคลุมไปด้วยหิมะนั่นเอง

เมื่อรู้จักอุปกรณ์เหล่านี้แล้วก็อย่าลืมใช้ให้เกิดประโยชน์กันด้วยนะครับ

อัปเดตข้อหา “เมาแล้วขับ” ปี 2567 มีโทษอย่างไรบ้าง?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

อัปเดตข้อหา "เมาแล้วขับ" ปี 2567 มีโทษปรับ-จำคุกอย่างไรบ้าง?

โทษข้อหาเมาแล้วขับ

มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

เมาแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเมาแล้วขับ

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ กรณีผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือมีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (แบบ 2 ปี) ถือเป็นผู้เมาสุรา
ไม่เป่า = เมาแล้วขับ
การปฏิเสธเป่าวัดแอลกอฮอล์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน

โทษเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ-เสียชีวิต
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ

จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส

จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที

เมาแล้วขับ
ป้ายหมายเลขโลหะ
แผ่นป้ายหมายเลขโลหะที่ติดมากับกุญแจรถคืออะไร?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ใครก็ตามที่ซื้อรถใหม่ป้ายแดงออกมาจากโชว์รูม คงจะเห็นว่าในพวงกุญแจรถที่ให้มานั้น จะมีแผ่นโลหะขนาดเล็กที่สลักหมายเลขติดมาให้ด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของรถจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนหายอย่างเด็ดขาด คงอยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะครับว่าเจ้าสิ่งนี้คืออะไรกันแน่?

แผ่นป้ายหมายเลขกุญแจ เป็นรหัสเฉพาะสำหรับรถแต่ละคันสำหรับทำกุญแจดอกใหม่ในกรณีกุญแจสูญหาย ซึ่งโดยปกติแล้วหากกุญแจดอกใดดอกหนึ่งหาย สามารถนำกุญแจสำรองที่เหลือไปให้ศูนย์บริการทำดอกใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นป้ายโลหะดังกล่าว

แผ่นป้ายหมายเลขโลหะ

แต่กรณีกุญแจหลักและกุญแจสำรองหายพร้อมกันทุกดอก คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำแผ่นป้ายหมายเลขดังกล่าวไปให้ศูนย์บริการเพื่อทำกุญแจดอกใหม่ หากว่าไม่มีรหัสดังกล่าว อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเบ้ากุญแจทั้งชุด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงจนถึงหลักหมื่นบาทได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีอยู่ภายในบ้าน

ทางที่ดีคุณควรพ่วงแผ่นป้ายไว้กับกุญแจสำรองที่เก็บรักษาอยู่ภายในบ้าน ไม่ควรห้อยติดตัวไปใช้งาน เมื่อใดก็ตามที่จำเป็นต้องนำกุญแจสำรองออกมาใช้ ก็ควรถอดแผ่นป้ายโลหะเก็บไว้อีกที หรืออีกวิธีหนึ่งคือการถ่ายรูปแผ่นป้ายเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ เผื่อกรณีเกิดสูญหายขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถใช้รหัสดังกล่าวเพื่อแสดงให้กับศูนย์บริการได้เช่นกัน

รู้แบบนี้แล้วก็ควรเก็บรักษาแผ่นป้ายหมายเลขอย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการนำมาห้อยกับกุญแจที่ใช้งานอยู่เป็นประจำด้วยนะครับ

เทคนิคขับรถขึ้น-ลงเขาอย่างปลอดภัย ทั้งเกียร์ออโต้และเกียร์ธรรมดา

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 การขับรถขึ้นเขา-ลงเขาจำเป็นต้องอาศัยทักษะการขับขี่ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งการขับรถขึ้นเขาไม่จำเป็นต้องใช้รถใหญ่เสมอไป รถขนาดเล็กอย่างอีโคคาร์ก็สามารถไปได้โดยปลอดภัยหากมีทักษะเพียงพอ จึงขอแนะนำวิธีขับรถขึ้นเขาและลงเขาแบบมือโปร ทั้งรถเกียร์ออโต้และเกียร์ธรรมดามาฝากกัน

การขับรถขึ้นเขา

สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ –

ควรใช้เกียร์ต่ำในการขับรถขึ้นเขา ซึ่งไฟบอกตำแหน่งเกียร์อาจระบุเป็น D2 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ กรณีที่รถสามารถปรับเป็นโหมดเกียร์ธรรมดาได้ ให้เลือกใช้เกียร์ 2 เป็นหลัก หากเส้นทางมีลักษณะชันเพิ่มขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เริ่มไม่มีแรง ให้ปรับเป็นเกียร์ L หรือ 1 จะช่วยให้รักษากำลังของเครื่องยนต์ได้ ป้องกันไม่ให้ความเร็วลดต่ำจนเกินไป

เมื่อเข้าสู่ช่วงทางราบให้สลับไปใช้ตำแหน่งเกียร์ D บ้าง จะช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ และช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองลงได้

สำหรับรถเกียร์ธรรมดา –

เมื่อรถเริ่มมีความเร็วลดลงขณะไต่ทางชัน ให้รีบลดเกียร์ลงมายังตำแหน่ง 2 หรือ 1 เพื่อรักษากำลังของเครื่องยนต์ไว้ หลีกเลี่ยงการปล่อยคันเร่งโดยไม่จำเป็น จะช่วยให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วคงที่อย่างต่อเนื่อง

เทคนิคขับรถขึ้น

การขับรถลงเขา

สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ –

ให้ผลักเกียร์ไปยังตำแหน่ง D2 หรือ 2 จะช่วยป้องกันไม่ให้รถไหลลงเขาด้วยความเร็วสูงจนเกินไป ช่วยป้องกันไม่ให้เบรกร้อนจัด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รถเบรกไม่อยู่ โดยระหว่างนี้รอบเครื่องยนต์เบนซินอาจพุ่งสูงถึง 4,000 – 5,000 รอบต่อนาที หรือราว 3,000 – 4,000 รอบต่อนาทีสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการขับรถลงเขา

สำหรับรถเกียร์ธรรมดา –

ควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วให้คงที่ สามารถเหยียบเบรกเพื่อช่วยประคองความเร็วได้ กรณีพื้นผิวถนนเปียกหรือมีฝนตก ควรเพิ่มความนุ่มนวลในการเหยียบและปล่อยคลัตช์ไม่ให้เกิดแรงกระชากมากจนเกินไป มิเช่นนั้นอาจทำให้รถเสียการทรงตัวได้

นอกเหนือจากทักษะการขับขี่ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว รถยนต์ที่ใช้ก็ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเครื่องยนต์, เกียร์, ช่วงล่าง รวมถึงสภาพยาง เหล่านี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุลงได้ครับ

ช่องตะแกรงเล็กๆ
เพิ่งจะรู้! ช่องตะแกรงเล็กๆ ข้างคนขับมีไว้ทำอะไร

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 เชื่อว่าเจ้าของรถหลายคนคงสังเกตเห็นกันมาบ้าง ว่าบริเวณแผงคอนโซลภายในรถจะมีช่องเล็กๆ ติดตั้งไว้ฝั่งผู้ขับขี่แทบทุกคัน บางรุ่นก็อาจมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม บางรุ่นอาจเป็นวงกลม แล้วทราบหรือไม่ว่าช่องดังกล่าวมีไว้ทำอะไร?

 อันที่จริงแล้วช่องบนแผงคอนโซลที่ว่านี้ไม่ได้มีขึ้นมาลอยๆ เท่านั้น หากแต่ภายในจะมีเซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร เพื่อใช้ในการทำงานของระบบปรับอากาศ ช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องโดยสารเป็นไปตามที่ตั้งค่าไว้นั่นเอง โดยรถแทบทุกคันมักจะติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิไว้ใกล้กับผู้ขับขี่มากที่สุด และรถบางรุ่นอาจมีเซ็นเซอร์มากกว่า 1 จุดขึ้นไปก็เป็นได้

ช่องตะแกรงเล็กๆ

นอกจากนี้ ระบบปรับอากาศภายในรถแต่ละคันยังอาศัยเซ็นเซอร์อื่นๆ เพื่อใช้ในการควบคุมอุณหภูมิและคุณภาพอากาศภายในรถให้เป็นไปอย่างเหมาะสมมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับแสงอาทิตย์, เซ็นเซอร์ตรวจจับความชื้น, เซ็นเซอร์ตรวจจับฝุ่นและอนุภาค และเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิภายนอก เป็นต้น

 ดังนั้น หากพบว่าระบบปรับอากาศของรถคุณเกิดมีปัญหาขึ้นมา โดยเฉพาะรถที่มีระบบปรับอากาศอัตโนมัติ ก็เป็นไปได้ว่าสาเหตุอาจเกิดจากเซ็นเซอร์เหล่านี้ทำงานผิดปกตินั่นเอง

เล่มทะเบียน
เพิ่งจะรู้! เหตุผลที่ห้ามเก็บ “เล่มทะเบียน” ไว้ในรถเด็ดขาด

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 คุณเป็นคนหนึ่งที่เก็บ “เล่มทะเบียน” เอาไว้ในลิ้นชักหน้ารถหรือไม่? บทความนี้จะมาบอกว่าทำไมคุณจึงไม่ควรเก็บคู่มือจดทะเบียนเอาไว้ในรถอย่างเด็ดขาด จะหาว่าไม่เตือน!

"เล่มทะเบียน" ห้ามเก็บไว้ในรถเด็ดขาด

เล่มทะเบียน หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ใบคู่มือจดทะเบียน” เป็นเอกสารสำคัญประจำรถที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของตัวรถ และผู้ถือกรรมสิทธิ์ของรถแต่ละคัน ซึ่งถือเป็นเอกสารที่มีความสำคัญมาก เพราะจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับตัวรถกับกรมการขนส่งทางบก รวมถึงอาจต้องใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของรถ เช่น รถหาย, รถถูกสวมทะเบียน ฯลฯ

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เจ้าของรถจึงไม่ควรเก็บเล่มทะเบียนทิ้งไว้ในรถโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญที่เสี่ยงต่อการสูญหายได้ ยกตัวอย่างกรณีรถถูกขโมยยามวิกาล เจ้าของรถก็จะไม่มีเอกสารเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเป็นต้องไปขอคัดสำเนากับขนส่งฯ เสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินการต่อได้ สร้างความปวดหัวแก่เจ้าของรถทั้งที่อยู่ในช่วงเวลายากลำบาก

นอกจากนี้ หากเล่มทะเบียนตกไปอยู่ในมือผู้ไม่หวังดี ก็อาจถูกนำไปใช้ดำเนินการใดๆ โดยที่เจ้าของรถไม่รับรู้ได้ เช่น ถูกนำไปสวมทะเบียน, จำนำเล่มทะเบียน และอื่นๆ อีกมากมาย กว่าที่เจ้าของรถตัวจริงจะทราบก็อาจสายเกินไปเสียแล้ว

เล่มทะเบียนรถหายทำไงดี ต้องแจ้งความหรือไม่ ทำเล่มใหม่ ต้องทำอย่างไร

เก็บเฉพาะสำเนาเล่มทะเบียนไว้ในรถเสมอ


เจ้าของรถควรถ่ายสำเนาแสดงรายละเอียดรถและผู้ครอบครองล่าสุดเก็บไว้ในรถเสมอ เพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบ ส่วนเล่มจริงให้เก็บไว้ที่บ้านหรือสถานที่ปลอดภัยเท่านั้น เพื่อป้องกันการสูญหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ใครที่ยังเก็บเล่มทะเบียนไว้ในรถ ควรรีบนำไปเก็บไว้ในบ้านอย่างปลอดภัยทันทีครับ