Search for:
แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์
แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ มีทั้งหมดกี่แบบ ?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ มีหน้าที่จ่ายพลังงานกระแสตรงไปยังระบบต่าง ๆ ของมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็นไดสตาร์ทในการสตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบจุดระเบิด ระบบหัวฉีด รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ในตัวรถที่ใช้ไฟฟ้า จึงถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากของมอเตอร์ไซค์

‍การเลือกใช้แบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ไซค์ของคุณนั้น ขึ้นอยู่กับรุ่นมอเตอร์ไซค์ โดยคุณสามารถตรวจเช็คความจุและแอมป์ของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมได้จากคู่มือรถมอเตอร์ไซค์หรือแบตเตอรี่ลูกเก่า เพื่อให้มอเตอร์ไซค์ของคุณทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดครับ

ประเภทของแบตเตอรี่ มีทั้ง 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. แบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด หรือที่เรียกว่าแบตน้ำ (Conventional / Wet Cell Batteries)

เป็นแบตเตอรี่พื้นฐานซึ่งไม่นิยมใช้กันในมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ ๆ แล้ว เพราะมีขนาดใหญ่ หนัก อายุการใช้งานสั้น และจำเป็นที่จะต้องวางในแนวตั้งเท่านั้น ทำให้จำเป็นต้องคอยตรวจเช็คและเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง แต่มีข้อดีคือราคาถูกที่สุด และหาซื้อได้ง่าย

2. แบตเตอรี่แบบแห้ง (AGM / Maintenance Free Batteries)

เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาจากแบตน้ำ โดยยังคงใช้ตะกั่วกรด แต่ของเหลวจะติดอยู่ภายในแบตเตอรี่ระหว่างแผ่นเส้นใยไฟเบอร์กลาสพิเศษ มีการเพิ่มซีลปิดด้านบนทั้งหมดเหลือแค่เพียงขั้วไฟเท่านั้น จึงทำให้กรดไม่สามารถหกออกจากแบตเตอรี่ได้ มีขนาดกะทัดรัดกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ และไม่จำเป็นต้องเติมน้ำหรือตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์

‍ทำให้แบตเตอรี่แบบแห้งนั้นดูแลง่าย ไม่เกิดการรั่วซึม อีกทั้งยังมีแรงจ่ายกระแสเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์สูงกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรดหรือแบตน้ำอีกด้วย อายุการใช้งานนานกว่า แต่มีราคาแพงกว่า เพื่อแลกกับคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้น

3. แบตเตอรี่แบบลิเธียม

เป็นแบตเตอรี่ที่ให้กำลังไฟมากและมีอายุการใช้งานที่นานที่สุด โดยด้านในแบตเตอรี่จะไม่มีของเหลวอยู่เลย จึงสามารถวางในแนวไหนก็ได้ มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กกว่าแบตเตอรี่อีกสองชนิด แต่ด้วยความซับซ้อนของแบตเตอรี่ในส่วนของวงจรควบคุมกระแสไฟฟ้า จึงทำให้แบตเตอรี่แบบลิเธียมนั้นมีราคาสูงมากเช่นกัน

‍โดยการเลือกยี่ห้อแบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซค์นั้นจะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจเป็นหลัก เนื่องจากมีหลากหลายราคา หลากหลายยี่ห้อให้ได้เลือกสรร ซึ่งในปัจจุบันความจุแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์จะเป็นแบบ 12 โวลท์ทั้งหมด แต่จะแตกต่างกันที่ “แอมป์” ขึ้นอยู่กับรุ่นของรถมอเตอร์ไซค์


ที่สำคัญคุณจะต้องควรคำนึงถึงค่า CCA หรือค่าความสามารถในการจ่ายกระแสไฟเพื่อสตาร์ทรถในสภาพอากาศเย็นอีกด้วย ถ้าหากค่า CCA สูงจะช่วยให้สตาร์ทง่ายขึ้น รวมไปถึงต้องเลือกขนาดแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ไซค์ของคุณอีกด้วย

นอกจากนี้คุณจะต้องหมั่นตรวจเช็คแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คระดับน้ำกลั่น ดูตะกอนขั้วบวก ขั้วลบ พร้อมทั้งทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกมาเกาะตามแบตเตอรี่ และเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ระบบคลัทช์ในมอเตอร์ไซค์
ระบบคลัทช์ในมอเตอร์ไซค์ มีหลักการทำงานอย่างไร ?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ระบบคลัทช์มอเตอร์ไซค์ มีหน้าที่ปลดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังชุดเฟืองเกียร์ ซึ่งหลักการทำงานของคลัทช์นั้นจะมีชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่ประกอบไปด้วยสปริงคลัทช์ แผ่นกดคลัทช์ ผ้าคลัทช์ แผ่นเหล็กคลัทช์ เรือนคลัทช์ตัวใน และเรือนคลัทช์ตัวนอก โดยจะทำการรวมชิ้นส่วนหลัก ๆ เหล่านี้เป็นชุดเรือนคลัทช์ ที่เป็นตัวกลางในการส่งกำลังจากเฟืองเพลาข้อเหวี่ยงผ่านไปยังที่เฟืองเกียร์ ทำให้การเปลี่ยนเกียร์มีความเสถียร สามารถเร่งเครื่องได้อย่างมั่นใจ และขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวลมากยิ่งขึ้นด้วยครับ

ในปัจจุบันระบบคลัทช์ที่นิยมนำมาใช้ จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

1. ระบบคลัทช์ชนิดแรงเหวี่ยง มีหลักการทำงานแบบเหวี่ยงตามรอบเครื่องยนต์ที่หมุนไป หากเครื่องยนต์หมุนเพียงเล็กน้อย ตัวคลัทช์จะไม่จับชามเพื่อไม่ให้มีแรงจากเครื่องยนต์ส่งไปที่ล้อ แต่ถ้าหากเกิดการเร่งเครื่อง ตัวคลัทช์จะใช้แรงเหวี่ยงกางออกไปจับชามที่หุ้มไว้ ทำให้กำลังจากเครื่องยนต์ส่งไปถึงชุดเกียร์และล้อได้ในที่สุด

2. ระบบคลัทช์จานสปริง มีหลักการคือเมื่อเหยียบคลัทช์ก็จะทำให้แบริ่งกดไปบนจานสปริง ส่งผลให้จานสปริงงอตัวและดันแผ่นประกบให้แยกตัวออกจากล้อช่วยแรง จึงเป็นการตัดการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ได้ในที่สุด

วิธีใช้คลัทช์มอเตอร์ไซค์อย่างถูกต้องและปลอดภัย

– หมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ด้วยการใช้นิ้วชี้และกลางในการบีบคลัทช์ บีบเสร็จแล้วปล่อยนิ้ว

– ควรใช้คลัทช์ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ สูง ต่ำ และเกียร์ว่าง เท่านั้น

– ไม่ควรบีบคลัทช์เพื่อเพิ่มรอบเครื่องยนต์ขณะขับขี่ เพราะจะส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักและสิ้นเปลืองน้ำมัน

– เมื่อบีบคลัทช์ขณะเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์เสร็จแล้ว ให้คลายมืออกจากคลัทช์และวางไว้ที่แฮนด์ทันที

– ไม่ควรใช้มือจับคลัทช์ตลอดเวลา เพราะถ้าหากเกิดการเบรกกะทันหันแล้วเผลอใช้มือบีบคลัทช์ไปด้วย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ระบบคลัทช์ช่วยอะไรได้บ้าง ?

– ช่วยตัดกำลังงานเครื่องยนต์ – คลัทช์จะทำหน้าที่ตัดหรือต่อกำลังงานระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ เพื่อส่งกำลังงานให้รถเคลื่อนที่ไปได้อย่างลื่นไหลและนุ่มนวล และไม่ให้เสียกำลังจากเครื่องยนต์จนมากเกินไป

– ช่วยป้องกันการชำรุดของฟันเฟือง – เนื่องจากชุดคลัทช์จะมีแผ่นคลัทช์ที่ทำมาจากสารสังเคราะห์ผสมกับเส้นใยโลหะ ช่วยทำให้เกิดการเสียดสีที่นุ่มนวล ฟันเฟืองของเกียร์สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้อย่างคล่องตัวตลอดการใช้งาน

– ช่วยลดการเกิดเสียงดังขณะเข้าเกียร์ – เมื่อทำการบีบคลัทช์ ปลายของก้ามปูคลัทช์จะเข้าไปดันลูกปืนคลัทช์เพื่อกดปลายคลัทช์ให้ถอยออกมา จากนั้นแผ่นคลัทช์ก็จะลอยตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไม่มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวล

จะเห็นได้ว่า ระบบคลัทช์ของมอเตอร์ไซค์นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวล ล้อขับเคลื่อนได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และที่สำคัญคุณต้องใช้คลัทช์ใอย่างถูกวิธีมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับคุณได้

ขี่มอเตอร์ไซค์ลุยทางฝุ่น ต้องระวังอะไรบ้าง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

สิงห์นักบิดหลายคนต้องมีโอกาสได้ขับขี่ผ่านเส้นทางทั้งดีและไม่ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางท่องเที่ยวย่อมต้องเจอกับสภาพถนนไม่เป็นใจหรือว่าทางในแบบ “ออฟโร้ด” อยู่บ้าง แต่ก่อนอื่นเลย ไม่ว่าเราจะเป็นใช้รถมอเตอร์ไซค์แบบ Adventure รถมอเตอร์ไซค์แบบสปอร์ต หรือรถมอเตอร์ไซค์คลาสสิก จะต้องใส่ชุดขับขี่ให้ครบและปลอดภัย เช่น หมวกกันน็อก ถุงมือ รองเท้า เสื้อสำหรับขับขี่ยิ่งที่มีการ์ดป้องกันกระแทกยิ่งดีครับ มาดูกันว่าการขับขี่เส้นทางแบบนี้มีข้อควรที่ต้องระวังอะไรบ้าง

1. ประเมินเส้นทางก่อนที่จะขับผ่านไป

ก่อนจะขับผ่านไปนั้นเราต้อง คิด วิเคราะห์ แล้วเตรียมความพร้อมทั้งรถและคนขับให้พร้อม จะต้องประเมินว่าอุปสรรคที่จะผ่านไปนั้น สภาพทางฝุ่นที่มีโค้ง ทราย บ่อน้ำ หญ้า และ หินกรวด หรือ ทางตรงยาว และมีต้นไม้หรือกิ่งไม้ อยู่ในทางที่จะผ่านหรือไม่ แต่บางสถานการณ์ที่ขับความเร็วคงที่อยู่แล้วและกำลังจะผ่านเส้นทางที่คาดว่ามีความเสี่ยง ก้ต้องลดความเร็วลงให้ปลอดภัยที่สุด และจับแฮนด์และวางเท้าบนที่วางให้แน่นและกระชับ นอกจากนี้หากเป็นทางโค้งที่ผิวทางเปียกลื่นหรือเป็นฝุ่น ก็ให้ลดความเร็วและค่อย ๆ ขับขี่ไปอย่างระมัดระวังโดยใช้การหักเลี้ยวให้น้อยที่สุด

2. ค่อย ๆ ผ่านอุปสรรคไปอย่างระมัดระวัง

เมื่อประเมินสถานการณ์เรียบร้อยต่อมาคือ มองไปข้างหน้าให้ไกลเผื่อระยะเอาไว้เพื่อให้เห็นถึงสภาพถนนพร้อมกับการสลับการมองดูระยะใกล้ล้อหน้า และรอบ ๆ ข้าง เพื่อให้แม่นยำยิ่งขึ้น การปรับตำแหน่งเกียร์เช่นใช้เกียร์ 2 เมื่อขับช้า ๆ ผ่านเส้นทางที่เป็ยหลุมบ่อ หรือการใช้ความเร็วรถ ความเร็วรอบเครื่องยนต์รวมถึงตำแหน่งให้เหมาะสมกับความเร็วหรือกำลังของเครื่องยนต์ที่จะต้องบิดข้ามไป และใช้ความเร็วให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะประคองรถไปได้ตามต้องการ

3. ยืนขับถ้าจำเป็น

ในการขับขี่ผ่านเส้นทางออฟโร้ดบางครั้งก็อาจจำเป็นต้องขับในท่ายืนเพื่อให้คล่วงตัวในการโยกตัวรถหลบหลีกหรือเอียงองศาตัวรถให้สามารถขับผ่านไปได้ หรือบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะเล็กน้อยในการเลี้ยวทางโค้ง เช่นการเอียงตัวตรงข้ามกับตัวรถหรือโค้งที่จะเลี้ยวเป็นต้น เพื่อรักษาสมดุลให้ขับไปได้อย่างปลอดภัย โดยท่ายืนขับจะใช้ขาหนีบเบาะหรือลำตัวรถเพื่อให้โยกไปมาได้ตามต้องการ ทำให้บังคับรถง่ายขึ้น

ขี่มอเตอร์ไซค์ลุยทางฝุ่น

4. จับอาการรถ

ในระหว่างที่กำลังขับขี่ผ่านเส้นทางออฟโร้ดหรืออุปสรรคต่าง ๆ เหล่านั้น ให้จับอาการของรถทั้งกำลังเครื่องยนต์ ตำแหน่งเกียร์ ท่านั่งหรือยืน ตำแหน่งมือจับแฮนด์บาร์ ว่าพร้อมรักสถานการณ์ที่อาจไม่คาดคิดได้ เช่น รถลื่นไถล หรือ ต้องใช้เบรกและสำรวจพื้นถนนเมื่อจำเป็นต้องเอาเท้าลงเพื่อยันพื้นช่วยการทรงตัวของรถ

5. ใช้เบรกอย่างเหมาะสม

ในการขับขี่ผ่านถนนฝุ่นหรือโคลนที่ลื่น ๆ การใช้เบรกให้ถูกต้องค่อนข้างสำคัญ ส่วนมากมักใช้เครื่องยนต์ชุดหรือ “Engine Brake” เพื่อลดคามเร็วเข้าทางลื่นหรือทางโค้ง ทำงานรวมกันกับเบรกล้อหลัง และแนะนำว่าควรเบรกในขณะทิศทางรถตรงอยู่และตัวรถเอียงน้อยที่สุดก่อนถึงทางโค้ง และใช้ความเร็วที่คิดว่า “เอาอยู่” ค่อย ๆ ผ่านไป แต่ถ้าใครที่ได้ทักษะการเข้าโค้งในทางฝุ่นก็ใช้ท่าทางที่ถูกต้องไปเลยครับ

6. หมั่นเรียนรู้อยู่เสมอ

การขับขี่ไม่ว่าจะทางเรียบ ถนนหลาง ทางฝุ่น ควรจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้วิธีขับขี่ เทคนิคต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคนิคในการขับขี่รถแนววิบากแบบ ออฟโร้ด ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องนำมาใช้ในบางสถานการณ์ และไม่ว่าว่าจะขับขี่ในเส้นทางแบบไหน ก็จำเป็นต้องปรับตัว เรียนรู้ และฝึกฝนตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

ทริคเล็กน้อยน้อยที่นำมาเล่าสู่กันฟังถึงการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทางฝุ่นในสไตล์วิบากหรือว่าจะเป็นแอดแวนเจอร์ หรือแม้กระทั่งสายมอเตอร์ไซค์คลาสสิกก็สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ความไม่ประมาท การวางแผนการเดินทางให้สะดวกสบายประหยัดและปลอดภัย คำนึงถึงเพื่อร่วมทางและผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น ๆ เพราะหากเจอทางฝุ่นหนา ๆ แม้เราจะเป็นนักบิดที่เก่ง ก็ต้องขับผ่านไปด้วยความระวังและไม่ให้คนพื้นที่ต้องมาเดือดร้อนเพราะการขับขี่ที่อันตรายครับ

หมวกกันน็อก
หมวกกันน็อก ช่วยป้องกันอันตรายได้อย่างไรบ้าง?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

“หมวกกันน็อก” ไอเท็มสำคัญที่ใครหลายคนมักประมาทละเลย คิดว่าขับระยะทางสั้น ๆ แค่นี้ไม่ต้องสวมหมวกกันน็อกก็ได้ แต่ใครจะรู้ว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งหมวกกันน็อกเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่มาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ถ้าหากใครยังไม่เห็นภาพว่าหมวกกันน็อกสำคัญไฉน วันนี้ 35 ยนตรการ ได้รวบรวมหน้าที่และประโยชน์ของหมวกกันน็อกมาให้แล้ว ตามมาอ่านกันได้เลยครับ

5 ส่วนของหมวกกันน็อก มีหน้าที่อะไรบ้าง?

ส่วนที่ 1 เปลือกหมวกกันน็อก (Outer Shell)

มีหน้าที่รับแรงกระแทก ช่วยให้ศีรษะได้รับแรงกระแทกน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงไม่ให้สมองได้รับบาดเจ็บ

‍ส่วนที่ 2 โฟมกันกระแทก (Impact Absorbing Liner)

เป็นชั้นที่หนาที่สุด มีหน้าที่คอยดูดซับแรงกระแทกให้กระจายเป็นวงกว้างก่อนถึงศีรษะ

‍ส่วนที่ 3 ฟองน้ำ (Comfort Padding)

มีหน้าที่ช่วยกระชับให้หมวกกับศีรษะมีความพอดีกัน หมวกไม่ขยับหรือเคลื่อนที่ระหว่างสวมใส่

‍ส่วนที่ 4 สายรัดคาง (Chin Strap)

มีหน้าที่ช่วยล็อคหมวกไว้กับศีรษะ เพื่อไม่ให้หมวกเกิดการขยับหรือเคลื่อนที่ระหว่างสวมใส่ ป้องกันหมวกหลุดออกจากศีรษะ

‍ส่วนที่ 5 หน้ากาก (Face Shield)

มีหน้าที่ช่วยกันลมและเศษหินต่าง ๆ ไม่ให้กระทบเข้าใบหน้าหรือดวงตา ป้องกันไม่ให้ดวงตาเกิดอาการอับเสบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพวิสัยทัศน์ในการมองเห็นบนท้องถนนได้ดีมากยิ่งขึ้น

หมวกกันน็อก

3 ประโยชน์ของหมวกกันน็อก

1. เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่

หากคุณประสบอุบัติเหตุแต่ยังสวมใส่หมวกกันน็อกอยู่ หมวกกันน็อกจะสามารถช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เช่น ศีรษะได้รับแรงกระแทกน้อยลง สมองไม่ถูกกระทบกระเทือน เป็นต้น

‍2. ไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ

เนื่องจากการสวมใส่หมวกกันน็อกถือว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 หากไม่สวมใส่หมวกกันน็อกระหว่างการขับขี่ คุณจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายกำหนด ‍

‍3. กันลมปะทะใบหน้า

หากคุณไม่สวมใส่หมวกกันน็อกและปล่อยให้ลมตีเข้าใบหน้าระหว่างการขับขี่ คุณจะรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าแก้ม รวมถึงลมยังสามารถปะทะเข้าดวงตาได้อีกด้วย ทำให้ดวงตาเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อลม หมวกกันน็อกจึงเป็นตัวช่วยป้องกันลมปะทะเข้าใบหน้าได้เป็นอย่างดี

หมวกกันน็อกแบบใดปลอดภัยที่สุด?

แนะนำว่าควรเลือกสวมใส่ “หมวกกันน็อกแบบเต็มใบ” เนื่องจากเป็นทรงหมวกที่ช่วยปกป้องศีรษะของคุณได้ทั้งหมด สวมใส่ได้อย่างกระชับ ไม่ขยับหรือเคลื่อนหลุดออกจากศีรษะได้ง่าย ๆ และที่สำคัญต้องเลือกยี่ห้อหมวกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ว่าหมวกกันน็อกที่คุณสวมใส่ได้รับมาตรฐานและปลอดภัยที่สุด

 

สรุปได้ว่า หมวกกันน็อกเป็นไอเท็มสำคัญที่ช่วยให้ศีรษะได้รับแรงกระแทกน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงไม่ให้สมองเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น สมองบวม เลือดคลั่งในสมอง เป็นต้น ดังนั้นการสวมใส่หมวกกันน็อกจะทำให้คุณขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ขี่มอเตอร์ไซค์
ขี่มอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อมีคนซ้อนท้าย?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

การขับขี่มอเตอร์ไซค์แบบมีคนนั่งซ้อนท้ายนั้นแตกต่างจากการขับขี่คนเดียวเป็นอย่างมาก และจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติ เพราะชีวิตของคนนั่งซ้อนท้ายขึ้นอยู่กับคุณที่เป็นคนขับ ไม่ว่าคนซ้อนท้ายจะเป็นลูกค้า คู่หู เพื่อนสนิท หรือคนรู้ใจ คุณก็ควรใส่ใจและมีเทคนิคในการขับขี่เพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอ ยิ่งถ้าหากต้องขับขี่ระยะทางไกล ๆ ล่ะก็ต้องอ่านบทความนี้เลย เพราะเราได้รวบรวมเทคนิคการขับขี่มอเตอร์ไซค์ให้ปลอดภัยระหว่างมีคนนั่งซ้อนท้ายมาให้แล้ว ตามมาอ่านกันเลยครับ !

ผู้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

– สวมหมวกกันน็อคแบบเต็มใบทุกครั้ง

– สวมใส่เครื่องแต่งกายที่มีวัสดุคงทน และแข็งแรง

– มือผู้ซ้อนท้ายต้องกอดเอวผู้ขับขี่เสมอ ในกรณีซ้อนท้ายบิ๊คไบค์ ผู้ซ้อนท้ายจะต้องเอื้อมมือไปจับที่ตัวถังเอาไว้ เพราะเป็นท่าที่ช่วยยึดตัวได้ดีที่สุด

– เข่าของผู้ซ้อนท้ายจะต้องหนีบให้กระชับ ซึ่งใกล้กับบริเวณสะโพกผู้ขับขี่

– เท้าของผู้ซ้อนท้ายต้องวางอยู่ที่พักเท้าเสมอ

ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ควรปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัยเมื่อมีคนซ้อนท้าย?

1. การขับขี่เส้นทางตรง

– ขับขี่ด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด

– ผู้ขับขี่ควรเว้นระยะห่างระหว่างตัวเองกับรถหรือวัตถุต่าง ๆ บนท้องถนน ทั้งซ้ายและขวา

– ผู้ขับขี่ไม่ควรเปลี่ยนทิศทางรถแบบกะทันหัน เพราะอาจทำให้รถเสียการทรงตัวได้ง่ายและเป็นอันตรายต่อผู้ซ้อนท้าย

– ผู้ขับขี่ต้องมีสติจดจ่อกับเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย เพื่อที่จะวางแผนในการขับขี่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

2. การเข้าโค้ง

เนื่องจากการมีผู้ซ้อนท้ายจะทำให้น้ำหนักรวมของรถมอเตอร์ไซค์หนักมากขึ้น ส่งผลให้การควบคุมทิศทางของรถอาจทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผู้ขับขี่จึงจำเป็นต้องลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง โดยต้องลดความเร็วมากกว่าตอนขับขี่คนเดียว พร้อมทั้งขับขี่อย่างระมัดระวัง ค่อย ๆ เข้าโค้ง ซึ่งผู้ซ้อนก็ควรเอียงตัวตามทิศทางรถระหว่างเข้าโค้ง เพื่อให้น้ำหนักรวมของรถมอเตอร์ไซค์เกิดความสมดุล

3. การเบรก

ผู้ขับขี่ต้องคอยสังเกตเส้นทางรอบข้างอยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเบรกรถกะทันหัน โดยการเบรกที่นุ่มนวลต้องใช้เบรกมือและเท้าพร้อมกัน และควรหยุดรถให้ทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าพอสมควร ซึ่งในระหว่างการเบรก น้ำหนักของผู้ซ้อนท้ายจะเทมาที่ผู้ขับขี่ ผู้ขับขี่จึงควรกดศอกมาชิดลำตัว เพราะจะช่วยให้ร่างกายส่วนบนรับน้ำหนักได้ดีมากยิ่งขึ้น ส่วนผู้ซ้อนท้ายควรยกเข่าสูงและแนบไปกับตัวรถ เพื่อป้องกันไม่ให้สะโพกเคลื่อนไปข้างหน้าจนทำให้รถเสียความสมดุลย์

จะเห็นได้ว่า วิธีการขับขี่มอเตอร์ไซค์เมื่อมีผู้ซ้อนท้าย ผู้ขับขี่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญมากกว่าการขับขี่คนเดียว เพราะชีวิตของผู้ซ้อนท้ายขึ้นอยู่กับคุณที่เป็นผู้ขับขี่ ซึ่งเราหวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนขับขี่ได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

กระจกมองข้างมอเตอร์ไซค์
​​ปรับกระจกมองข้างมอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ถูกต้อง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

กระจกมองข้างมอเตอร์ไซค์ เปรียบเสมือนดวงตาอีกคู่ของผู้ขับขี่ ช่วยทำให้มองเห็นสภาพแวดล้อมด้านข้างและด้านหลังโดยที่ไม่ต้องเอี้ยวตัวไปมอง หากคุณไม่ปรับกระจกมองข้างให้เหมาะสมกับตำแหน่งผู้ขับอาจทำให้เกิดมุมอับทางสายตา มองไม่เห็นสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ระหว่างขับขี่ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

‍ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของนักขับขี่ทุกท่าน วันนี้ 35 ยนตรการ ได้รวบรวมวิธีการปรับกระจกมองข้างมอเตอร์ไซค์อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งวิธีตรวจเช็คดูแลกระจกมองข้างมาให้แล้วในบทความนี้ ตามมาอ่านกันเลยครับ

วิธีการปรับกระจกมองข้างมอเตอร์ไซค์อย่างถูกต้อง

1. เตรียมสก็อตเทปเส้นเล็ก

‍2. ขึ้นคร่อมมอเตอร์ไซค์ในท่าขับปกติของคุณ แล้วใช้สายตามองไปที่กระจกมองข้าง

‍3. ใช้สก็อตเทปเส้นเล็ก แบ่งกระจกให้เป็น 8 ส่วน โดยลากเส้นแนวนอนเป็นกึ่งกลาง 1 เส้น และลากเส้นจากบนลงล่างอีก 3 เส้น จากนั้นนับเลข 1-8 จากซ้ายบนด้านในมุมกระจก จนกระทั่งได้เลข 8 อยู่ที่มุมขวาล่างด้านนอกมุมกระจก จะถือว่าทำได้ถูกต้องครับ

‍4. จากนั้นมองผ่านเข้าไปในตัวกระจก โดยข้อศอกต้องอยู่กึ่งกลางบน-ล่างของกระจก และกินเนื้อที่ไม่เกิน ¼ จากมุมด้านในตัวกระจก สังเกตง่าย ๆ คือ ตำแหน่งข้อศอกต้องอยู่ระหว่างเส้นกั้นเลข 1 และ 5 นั่นเองครับ

‍5. พื้นที่เหลือไว้สำหรับมองสภาพแวดล้อมด้านข้าง – ด้านหลัง

วิธีดูแลกระจกมองข้าง

– หากกระจกมองข้างมัว ต้องเช็ดกระจกอยู่เสมอ ใช้น้ำยาเช็ดกระจกโดยเฉพาะ หรือใช้แอลกอฮอล์เช็ดก็ได้ สะอาดเหมือนกัน แต่น้ำยาเช็ดกระจกโดยเฉพาะนั้นจะมีคุณสมบัติช่วยเคลือบกระจก ทำให้กระจกใสสะอาดได้นานมากกว่าแอลกอฮอล์

‍- หากกระจกมองข้างเกิดการสั่น ทำให้ภาพที่มองผ่านกระจกมีความผิดเพี้ยน อาจเกิดจากกระจกมองข้างหลวมหรือใกล้หลุด ควรดันกลับไปให้แน่นเท่าเดิม

‍- ตรวจเช็คความแน่นของขากระจก เพราะถ้าหากขากระจกเกิดการชำรุด แม้เราเพียงแค่ขับปะทะลมระดับกลาง ๆ ก็อาจทำให้กระจกหลุดลอยออกไป หรือหล่นกลางทางได้

แต่อย่างไรก็ตามบางคนอาจไม่คุ้นชินกับวิธีการปรับกระจกมองข้างที่ถูกต้อง รู้สึกว่าปรับตามวิธีแล้ว แต่มองไม่ถนัดเลย ผู้ขับขี่ก็สามารถประยุกต์วิธีการปรับกระจกมองข้างให้เข้ากับความถนัดของตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องทำตามวิธีเป๊ะ ๆ 100%

โดยการปรับกระจกมองข้างที่ดีต่อการขับขี่ที่สุด คือ ต้องเห็นสภาพแวดล้อมและทัศนวิสัยทั้งหมด เมื่อเหลือบตามอง ไม่ต้องหันหน้าหรือหันทั้งหัวไปมองนั่นเองครับ นอกจากนี้ควรตรวจเช็คความสะอาดของกระจกมองข้างก่อนออกรถทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

แต่งรถมอเตอร์ไซค์
แต่งรถมอเตอร์ไซค์ยังไง ไม่ให้ผิดกฎหมาย ?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

มอเตอร์ไซค์กับการแต่งรถเป็นของคู่กัน ซึ่งการแต่งรถให้เท่ระเบิดก็คล้ายกับเป็นการการบ่งบอกบุคลิกภาพและเอกลักษณ์เฉพาะของเจ้าของรถนั้น ๆ แน่นอนว่าไบค์เกอร์หลายคนคงอดใจไม่ได้

แต่รู้หรือไม่ว่าการแต่งรถมอเตอร์ไซค์ก็มีขอบเขตตามกฎหมายพอสมควร ถ้าแต่งมากจนเกินไปและสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนร่วมท้องถนน คุณก็อาจโดนตำรวจเรียกและเสียค่าปรับได้ วันนี้เราจึงได้รวบรวมเทคนิคแต่งรถมอเตอร์ไซค์ยังไงให้เท่และปลอดภัย ไม่ผิดกฎหมาย ตามไปดูกันเลย!

เทคนิคการแต่งรถมอเตอร์ไซค์ให้ถูกฎหมาย

ท่อไอเสีย

ท่อไอเสียถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ไบค์เกอร์ส่วนใหญ่เลือกดัดแปลงกันเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมสร้างความดุดันไม่เกรงใจใคร บ่งบอกถึงความเท่ของเครื่องยนต์ แต่ก็ดันเป็นอุปกรณ์ที่ตำรวจจับตามองและเล็งให้เสียค่าปรับมากที่สุด ซึ่งตำรวจจะเรียกคุณด้วยข้อหาท่อไอเสียเสียงดังเกินกฎหมายกำหนด ดังนั้นท่อไอเสียจึงมีกฎบังคับว่าห้ามดัดแปลงจนทำให้เสียงดังเกิน 95 เดซิเบล

โดยขั้นตอนการวัดระดับเสียงท่อไอเสีย มีดังนี้

– เลือกสถานที่ที่มีพื้นที่โล่ง ไม่มีวัตถุอื่นในรัศมี 3 เมตร รวมถึงสภาพแวดล้อมต้องเสียงไม่ดังเกิน 85 เดซิเบล

– นำเครื่องวัดไว้ห่างจากปลายท่อ 0.5 เมตร และทำมุม 45 องศา

– จากนั้นให้บิดคันเร่งเครื่องไปที่ความเร็วรอบ ¾ ของรอบเครื่องที่ให้แรงม้าสูงที่ไม่เกิน5,000 รอบ/นาที แต่ถ้าหากมอเตอร์ไซค์ที่มีแรงม้าสูงเกิน 5,000 รอบ/นาที ให้เร่งเครื่องไปที่ความเร็วรอบ ½ เพียงเท่านั้น

– หากผลทดสอบออกมาว่าเสียงดังไม่เกิน 95 เดซิเบล ถือว่าผ่าน

กระจกมองข้าง

การติดกระจกมองข้างที่ดี จะต้องสามารถมองเห็นรถด้านข้างได้อย่างชัดเจน มีระยะการมองเห็นที่กว้างไกล ซึ่งถ้าหากต้องการดัดแปลงกระจกมองข้างให้ถูกฎหมาย คุณควรติดกระจกมองข้างให้อยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิมมากที่สุด รวมถึงห้ามติดสติ๊กเกอร์พื้นผิวสะท้อนโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการสร้างความรำคาญลูกตาให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ควรเลือกขนาดของกระจกมองข้างให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะถ้ามีขนาดใหญ่เกินไปก็อาจเสี่ยงไปขูดรถคันอื่น ๆ จนทำให้ตัวเองและผู้ร่วมท้องถนนเดือดร้อนได้ครับ

ล้อและยางรถ


การเปลี่ยนล้อและยางรถที่ดี ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับตัวรถมอเตอร์ไซค์ ขนาดเดียวกับยางรถเดิม ไม่หนาหรือใหญ่จนเกินไป เพราะถ้าล้อและยางรถมีขนาดไม่พอดีกับตัวรถมอเตอร์ไซค์ ก็อาจส่งผลให้คุณสูญเสียการควบคุมรถได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและสร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนร่วมทาง ดังนั้นควรเลือกล้อและยางรถที่มีความแข็งแรง ปลอดภัย และได้รับมาตรฐานจากโรงงาน

นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดทางกฎหมาย ห้ามใช้ล้อรถที่มีขนาดใหญ่จนล้นออกมา หรือประเภทดึงโป่งให้ยื่น เพราะถือว่าเป็นการดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ที่ผิดกฎหมายครับ

ไฟมอเตอร์ไซค์


การติดไฟให้ส่องสว่าง ทั้งไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟส่องป้ายทะเบียน และไฟ LED การติดไฟให้ถูกต้องตามกฎหมาย คุณควรติดไฟที่ให้ความสว่างไม่จ้าจนเกินไป ไม่รบวนสายตาหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น ห้ามดัดแปลงไฟหน้ารถเป็นสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีตามกฎหมาย มิเช่นนั้นคุณจะโดนตำรวจเรียกเข้าข้างทางและเสียค่าปรับอย่างแน่นอน ทางที่ดีคุณควรเลือกร้านติดตั้งไฟที่ได้รับมาตรฐานและปลอดภัย

 

หลอดใส่ทะเบียนรถ

การหาตำแหน่งติดหลอดใส่ทะเบียนรถที่เหมาะสม จะต้องสามารถมองเห็นได้ง่าย มองเห็นวันเดือนปีหมดอายุได้อย่างชัดเจน ไม่ควรนำไปติดไว้ใต้เบาะ บังโคลน เพราะดูเหมือนคุณจะพยายามปกปิดหรือซ่อนความผิด เสี่ยงต่อการโดนตำรวจเรียกตรวจอย่างมาก ดังนั้นควรหากรอบใส่ทะเบียนรถแบบเต็มแผ่น มองเห็นได้ง่าย ๆ ไม่ต้องม้วนเป็นท่อกลม เพราะบางทีความอยากเท่ก็อาจทำให้คุณเสียค่าปรับโดยใช่เหตุ

 

ตำแหน่งของป้ายทะเบียนรถ

ป้ายทะเบียนรถ ถือว่าเป็นการยืนยันว่ารถของคุณออกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นคุณควรติดป้ายทะเบียนรถในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัด เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าคุณได้ได้รับการอนุญาตจากกรมขนส่งทางบกแล้วนั่นเอง ซึ่งถ้าหากคุณติดป้ายทะเบียนแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ก็อาจทำให้คุณโดนตำรวจเรียกและเสียเวลายื่นเอกสารและหลักฐานเพื่อตรวจสอบป้ายทะเบียนรถของคุณตามกฎหมาย

และนี่คือเทคนิคการแต่งรถมอเตอร์ไซค์ให้ถูกฎหมาย ซึ่งนอกเหนือจากนี้ก็จะมีการพิจารณาอุปกรณ์แต่งรถที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมการขนส่งทางบก อย่างไรก็ตามคุณควรแต่งรถให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนและเลี่ยงการเสียค่าปรับโดยใช่เหตุ

ปุ่ม “Shift Lock”
ปุ่ม “Shift Lock” คืออะไร ทำไมรถเกียร์ออโต้ถึงต้องมี?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

โดยปกติแล้วรถเกียร์ออโต้จะถูกออกแบบให้ผู้ขับขี่ต้องผลักเกียร์ไปยังตำแหน่ง P (Park) ก่อนลงจากรถทุกครั้ง เพื่อช่วยให้รถหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ขยับไปไหน แต่กรณีจำเป็นต้องจอดรถขวางคนอื่นหรือจอดซ้อนคันแล้วล่ะก็ ปุ่ม “Shift Lock” เป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้รถสามารถเข็นไปมาได้ ไม่เดือดร้อนรถที่จอดอยู่ด้านในนั่นเอง

มือใหม่หลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าการจอดรถทุกครั้งจำเป็นต้องเข้าเกียร์ P เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถดึงกุญแจรถออก หรือจะไม่สามารถกดล็อกรถได้ แต่กรณีมีความจำเป็นต้องจอดรถซ้อนคันแล้วล่ะก็ การเข้าเกียร์ P ทิ้งไว้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รถที่อยู่ด้านในเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถเข็นรถของคุณเพื่อนำรถออกไปได้

วิธีแก้ง่ายๆ คือ ภายหลังจากที่ดับเครื่องยนต์เรียบร้อยแล้ว ให้เหยียบเบรกค้างไว้ จากนั้นกดปุ่ม Shift Lock ที่อยู่ใกล้กับคันเกียร์ แล้วจึงลากเกียร์จากตำแหน่ง P มายังตำแหน่ง N จากนั้นค่อยๆ ปล่อยเบรก และตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถไม่ไหล เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจอดรถซ้อนคันได้อย่างสบายใจแล้วล่ะครับ

ปุ่ม “Shift Lock”

อย่างไรก็ดี รถบางรุ่นอาจถูกออกแบบให้มีลักษณะของปุ่ม Shift Lock แตกต่างกันออกไป เช่น บางรุ่นอาจต้องใช้วิธีเสียบกุญแจเข้าไปในร่องเล็กๆ ใกล้กับคันเกียร์ บางรุ่นอาจถูกออกแบบให้ซ่อนอยู่ในฐานเกียร์ ฯลฯ จึงควรศึกษาวิธีใช้งานจากคู่มือควบคู่กันไปด้วย

กรณีที่กลัวว่าจอดรถเกียร์ N แล้วรถจะไหล ให้หาวัตถุใกล้ตัว เช่น ก้อนหินหรือเศษไม้มาขัดล้อรถไว้ จะช่วยป้องกันไม่ให้รถไหลได้ แล้วอย่าเผลอใส่เบรกมือเด็ดขาดเชียวล่ะ มิเช่นนั้นแล้วรถก็จะไม่สามารถเข็นไปมาได้อยู่ดีนั่นเอง

คันเกียร์มอเตอร์ไซค์
อันตรายกว่าที่คิด ! วางเท้าไว้ใต้คันเกียร์มอเตอร์ไซค์ระหว่างขับขี่

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เชื่อว่าหลายคนคงเคยชินกับการวางเท้าไว้ใต้คันเกียร์มอเตอร์ไซค์ขณะขับขี่ เพราะเป็นบริเวณที่วางเท้าได้ง่ายและไม่เมื่อยเท้า แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการวางเท้าสอดไว้ใต้คันเกียร์นั้นส่งผลอันตรายต่อการขับขี่มอเตอร์ไซค์ไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกับวิธีการวางเท้าขณะขับขี่อย่างถูกต้อง ตามไปดูกันเลย!

วางเท้าไว้ใต้คันเกียร์มอเตอร์ไซค์ อันตรายอย่างไร?

แม้ว่าการวางเท้าไว้ใต้คันเกียร์จะทำให้คุณรู้สึกสบายและไม่ต้องอเท้าให้เมื่อย แต่การวางเท้าสอดไว้ใต้คันเกียร์มอเตอร์ไซค์นั้นจะทำให้เท้าถูกล็อคเอาไว้แบบนั้นทันที และเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนเกียร์ในแต่ละครั้งก็ต้องดึงเท้าออกมาจากใต้คันเกียร์และยกปลายเท้าขึ้นมาเปลี่ยนเกียร์ตามที่ต้องการ ซึ่งอาจทำให้คุณเสียจังหวะในการเปลี่ยนเกียร์ได้ เช่น ยกเท้าขึ้นไม่ทัน เปลี่ยนเกียร์ไม่ได้ตามรอบเครื่องยนต์ เป็นต้น

นอกจากนี้ในบางครั้งการวางเท้าไว้ใต้คันเกียร์อาจทำให้ปลายเท้าไปเตะคันเกียร์อัตโนมัติ จนทำให้มอเตอร์ไซค์เสียการทรงตัว ส่งผลให้คุณอาจได้รับอันตรายและเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ได้

‍ในกรณีรถคว่ำและคุณไม่สามารถนำเท้าออกมาจากใต้คันเกียร์ให้ทัน ตัวคุณจะติดอยู่กับรถและเกิดแรงกระแทกบริเวณข้อเท้าอย่างหนักหน่วง ทำให้ข้อเท้าหักได้ในทันที ดังนั้นต้องพยายามมองข้ามความเมื่อยและวางเท้าระหว่างการขับขี่อย่างถูกต้องจะดีที่สุดครับ

วางเท้าขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์อย่างถูกต้อง ทำอย่างไร?

การวางเท้าขณะขับขี่อย่างถูกต้องนั้นจะต้องวางเท้าไว้ที่พักเท้า โดยปลายเท้าจะต้องวางไว้ที่แป้นคันเกียร์หรือแป้นเบรกเท่านั้น เพื่อให้ปลายเท้าสามารถควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ให้ทันตามรอบเครื่องยนต์ได้ เพียงเท่านี้ตลอดการเดินทางของคุณก็ปลอดภัยแล้วครับ

‍โดยจำไว้ว่าทุกส่วนภายในร่างกายจะต้องเป็นอิสระจากตัวรถ ห้ามให้ตัวเองถูกล็อคกับตัวรถเป็นอันขาด เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ตัวคุณจะต้องสามารถหลุดออกมาจากมอเตอร์ไซค์ได้ 100% วิธีนี้จะช่วยให้คุณรอดจากขีดอันตรายได้มากที่สุดครับ

‍จะเห็นได้ว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการวางเท้าไว้ใต้คันเกียร์มอเตอร์ไซค์ ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ ซึ่งในบางครั้งเราก็เข้าใจได้ว่าบางคนต้องขับขี่รถทางไกล หรือขับขี่รถเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็อาจเผลอตัวไปด้วยความเคยชิน เท้าเลื่อนลงมาบริเวณใต้คันเกียร์เองโดยไม่รู้ตัว

‍แต่เราก็อยากให้ทุกคนคอยเตือนสติตัวเองอยู่เสมอว่าการวางเท้าไว้ใต้คันเกียร์มอเตอร์ไซค์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี ลองปรับพฤติกรรมการวางเท้าและทำให้เคยชินบ่อย ๆ เพื่อความปลอดภัยระหว่างการขับขี่

สภาพถนน
มือใหม่ต้องรู้ ! สภาพถนนแบบไหนที่คุณต้องระวังเป็นพิเศษ

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เชื่อว่ามือใหม่หลายคนต้องเคยฝึกหัดขับรถกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่ว่าส่วนใหญ่ก็คงฝึกขับแค่บนถนนทางเรียบที่ไม่มีอุปสรรคใด ๆ มากีดขวาง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถนนที่เราต้องขับนั้นมีอยู่หลากหลายสภาพพื้นผิวมาก ๆ และเราไม่สามารถเลือกขับบนสภาพถนนที่ต้องการได้ เราจึงควรฝึกขับบนสภาพถนนที่หลากหลายมากกว่าการฝึกขับบนทางเรียบ เพื่อที่จะสามารถรับมือได้กับทุกสถานการณ์ และหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด วันนี้เราจึงได้รวบรวมสภาพถนนที่คุณต้องระวังเป็นพิเศษมาให้แล้ว พร้อมกับเทคนิคขับขี่ให้เป็นและปลอดภัย ตามไปดูกัน!

5 สภาพถนนที่คุณต้องระวังเป็นพิเศษ!

1.สภาพถนนขรุขระ

ถนนขรุขระถือว่าเป็นพื้นถนนที่เจอได้บ่อยมาก เป็นสภาพถนนที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบไม่เท่ากัน เช่น ถนนลูกรัง เป็นหลุม เป็นบ่อ รวมถึงยังอาจมีเศษหินและกรวดเต็มพื้นถนน ซึ่งเกิดจากรถใหญ่อย่างรถบรรทุกหรือรถสิบล้อใช้เส้นทางนี้เข้า – ออกเป็นประจำ จนทำให้สภาพพื้นผิวถนนเกิดความไม่เรียบในบางจุดนั่นเองครับ ดังนั้นคุณควรขับด้วยความเร็วพอดีและหลีกเลี่ยงการใช้เบรกที่รุนแรง เพราะการเบรกแรง ๆ จะส่งผลให้คุณไม่สามารถควบคุมรถได้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรถล้มได้ครับ

2.สภาพถนนที่มีทราย

อีกหนึ่งสภาพถนนที่พบเจอได้บ่อยตามท้องถนน ซึ่งเป็นทรายที่มาจากรถบรรทุกทรายทำตกไว้ระหว่างทาง นอกจากจะทำให้เสียการทรงตัวระหว่างการขับขี่แล้ว ทรายยังมีโอกาสเข้าดวงตาอีกด้วย ส่งผลให้วิสัยทัศน์การขับขี่แย่ลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจึงควรค่อย ๆ ลดความเร็วลง เพื่อให้ลดโอกาสให้ทรายเข้าดวงตาได้น้อยลง จากนั้นค่อย ๆ ขับไปด้วยความระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดครับ

3.สภาพถนนที่เปียกฝน

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ฤดูที่สร้างความยากลำบากให้แก่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ เนื่องจากสภาพถนนจะมีความเปียกและลื่นมากกว่าปกติ รวมถึงอาจมีน้ำฝนผสมกับฝุ่นทำให้เกิดเป็นโคลน อุปสรรคเหล่านี้จึงทำให้การขับขี่มอเตอร์ไซค์จึงเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น เพราะความต้านทานของยางรถกับพื้นถนนน้อยลง ส่งผลให้เครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ยากขึ้น ดังนั้นคุณควรขับด้วยความเร็วต่ำ เพื่อป้องกันการแฉลบของล้อรถ และหลีกเลี่ยงการใช้เบรกที่รุนแรงด้วยครับ

4.สภาพถนนที่เป็นแอ่งน้ำ

ถนนที่มีแอ่งน้ำหรือจุดน้ำขัง เป็นสภาพถนนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเช่นกัน เพราะเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าแอ่งน้ำนั้นมีความลึกมากน้อยแค่ไหน และอาจมีตะไคร่น้ำทำให้เกิดการลื่นล้มได้อีกด้วย ดังนั้นคุณจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ลดความเร็วลงให้ต่ำที่สุดก่อนจะถึงแอ่งน้ำ ไม่ควรกำเบรกขณะขับผ่านน้ำ เพื่อป้องกันการเสียการควบคุมมอเตอร์ไซค์ และหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด

5.สภาพถนนที่มีแผ่นเหล็ก

ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างมักจะมีแผ่นเหล็กวางไว้บนพื้นถนน ซึ่งแผ่นเหล็กมีความมันเรียบและลื่นเป็นอย่างมาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขับขี่ได้ ดังนั้นคุณควรลดความเร็วให้ต่ำลงและจับแฮนด์ให้กระชับ หลีกเลี่ยงการเบรกแบบรุนแรง เพราะอาจทำให้ล้อสะบัดและลื่นล้มได้ครับ

เป็นยังไงกันบ้างกับ 5 สภาพถนนที่คุณต้องระวังเป็นพิเศษ แต่ละสภาพถนนค่อนข้างจะมีอุปสรรคมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ทราย โคลน และแผ่นเหล็ก ซึ่งถ้าคุณหลีกเลี่ยงการขับขี่บนพื้นถนนเหล่านี้ไม่ได้ ก็ต้องฝึกและเรียนรู้ที่จะขับให้เป็น มีสติในการขับขี่อยู่ตลอด ขับขี่อย่างรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณและเพื่อนร่วมท้องถนน