Search for:
ทางด่วน
เพราะเหตุใด “มอเตอร์ไซค์” จึงห้ามขึ้นทางด่วน?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

สาเหตุที่มอเตอร์ไซค์ถูกกำหนดให้ไม่สามารถใช้ทางด่วนและทางพิเศษได้นั้น เหตุผลหลักก็เนื่องมาจากความปลอดภัยของผู้ขี่มอเตอร์ไซค์เอง เนื่องจากมอเตอร์ไซค์ที่นิยมใช้กันส่วนมากติดตั้งเครื่องยนต์ขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 150 ซีซี) จึงไม่สามารถทำความเร็วสูงได้เช่นเดียวกับรถเก๋ง เพราะในทางปฏิบัติรถยนต์อาจต้องทำความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็นต้องเร่งแซง การนำมอเตอร์ไซค์ขึ้นทางด่วนจึงอาจเป็นอันตรายได้

ส่วนมอเตอร์ไซค์ประเภทบิ๊กไบค์ที่มีพละกำลังสูง แม้ว่าบางคันจะสามารถทำความเร็วได้มากกว่ารถเก๋ง แต่ด้วยลักษณะทางกายภาพของมอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีโครงสร้างห่อหุ้มร่างกายของผู้ขับขี่แบบรถเก๋ง หากประสบอุบัติเหตุจนรถล้ม ผู้ขับขี่อาจได้รับอันตรายซ้ำจากรถคันอื่นที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูงได้

นอกจากนี้ ทางพิเศษถูกกำหนดไม่ให้รถจักรยานยนต์ใช้เส้นทางพิเศษได้ ผู้ขับขี่รถยนต์ทั่วไปจึงไม่ได้ระมัดระวังรถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเล็ก หากมอเตอร์ไซค์ฝ่าฝืนใช้ทางพิเศษ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าทางปกติ

ด้วยสาเหตุเหล่านี้ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 139 ในระเบียบเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ พ.ศ. 2524 จึงห้ามมิให้รถจักรยานยนต์วิ่งในทางพิเศษ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย จะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

หากกล่าวโดยสรุปแล้ว สาเหตุที่ห้ามมอเตอร์ไซค์ใช้ทางพิเศษ ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินทั้งตัวผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เอง และผู้ใช้ทางพิเศษอื่นๆ ด้วยนั่นเอง

สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์
สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ครั้งแรก มีขั้นตอนอะไรบ้าง 2565

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

สำหรับผู้ที่ไม่มีเคยสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ และตั้งใจว่าจะสอบใบขับขี่เป็นครั้งแรก คงมีข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ทำยากหรือเปล่า ซี่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยากอะไร โดยมีกฎเกณฑ์และขั้นตอนดังต่อไปนี้

อายุของผู้ที่จะทำใบขับขี่

  • อายุระหว่าง 15 – 18 ปี สามารถทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลได้ แต่ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 110 ซีซี
  • อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลชั่วคราวได้ในรถทุกรูปแบบ
  • อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะได้

เอกสารที่ใช้

1.บัตรประชาชนตัวจริง
2.ใบรับรองแพทย์
3.ถ้ามีการจองคิวออนไลน์ ให้บันทึกหน้าจอเพื่อเป็นหลักฐานไว้ด้วย
4.ถ้าเป็นชาวต่างชาติให้ใช้เป็นหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตแทนบัตรประชาชนได้

เอกสารที่ใช้

การสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ใช้เวลา 2 วัน แบ่งเป็นสอบทฤษฏีและสอบภาคปฏิบัติ

ขั้นตอนสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์

1.เพื่อความสะดวกแนะนำให้จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ ล่วงหน้า (อ่านวิธีจองคิวออนไลน์)
2.เดินทางไปที่สำนักงานขนส่งตามวันนัด และแสดงเอกสารการจองคิวแก่เจ้าหน้าที่
3.ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้แก่

  • ทดสอบตาบอดสี (เขียว เหลือง แดง)
  • ทดสอบสายตาทางลึก
  • ทดสอบสายตาทางกว้าง
  • ทดสอบปฎิกิริยาเท้า โดยการเหยียบเบรกหลังเห็นไฟสัญญาณ

4.อบรมใบขับขี่ประมาณ 5 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงเช้าและบ่าย
5.สอบทฤษฏีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 50 ข้อ ต้องถูกอย่างน้อย 45 ข้อ หรือ 90%
6.ในวันที่ 2 สอบภาคปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 5 ท่า
ท่าที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ท่าที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ ทรงตัวบนทางแคบ ทรงตัวไว้โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
ท่าที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซกเข้าโค้งแคบ รูปตัว Z ห้ามชนกรวยล้ม
ท่าที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์เข้าโค้ง รูปตัว S ห้ามชนกรวยล้ม
ท่าที่ 5 ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซก หลบสิ่งกีดขวาง

ค่าใช้จ่าย

105 บาท (ค่าใบขับขี่ 100 บาท + ค่าคำขอ​ 5 บาท)

เทคนิคการเข้าโค้ง
4 เทคนิคการเข้าโค้งมอเตร์ไซค์ ถูกต้องและปลอดภัย ไบค์เกอร์ตัวจริงต้องรู้ !

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

การขี่มอเตอร์ไซค์จำเป็นต้องมีทักษะและความชำนาญ เพื่อความปลอดภัยและความสนุกสนานในการขับขี่ให้เร้าใจยิ่งขึ้น ดังนั้น ไบค์เกอร์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมือเก๋าหรือมือใหม่ก็ควรศึกษาเทคนิคการขับขี่ให้เข้าใจเสียก่อน โดยเฉพาะเทคนิคการเข้าโค้งมอเตอร์ไซค์ เพราะถือว่าเป็นเรื่องเบสิกที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่เวลาเข้าโค้งมอเตอร์ไซค์ขณะขับขี่จะได้ทำถูกวิธีและปลอดภัยทั้งต่อไบค์เกอร์เองและผู้ใช้ถนนด้วย วันนี้เราจึงมีเทคนิคการเข้าโค้งมอเตอร์ไซค์ มาฝากชาวไบค์เกอร์ จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ไปดูกัน

เทคนิคการเข้าโค้ง

ท่าที่ถูกต้องสำหรับการเข้าโค้ง

การเข้าโค้งหรือการเลี้ยว ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้น นอกจากเรื่องวิสัยทัศน์แล้วการจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องก็สำคัญมากๆ เช่นกัน หลักๆ คือต้องให้ตัวชิด ชิดกับถังน้ำมัน เพื่อรวมน้ำหนักให้อยู่ในจุดเดียว เริ่มตั้งแต่เท้า เข่า ข้อศอกไปจนถึงลำตัวที่ต้องชิดกับถังน้ำมันเช่นกัน แต่ทุกส่วนก็ไม่ควรเกร็งจนเกินไปโดยเฉพาะไหล่กับสะโพกสามารถปล่อยตามธรรมชาติเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของรถได้เลย ส่วนมือทั้งสองข้างก็ควรจับที่กลางปลอกแฮนด์และไม่ควรหักข้อมือขณะเข้าโค้งเพราะจะเป็นการฝืนท่าทางของการขับขี่

ประเภทของการเข้าโค้ง

เราเชื่อว่าหลายคนต่อให้ขี่มอเตอร์ไซค์เข้าโค้งทุกวันก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วการเข้าโค้งนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามท่านั่งของไบค์เกอร์ ซึ่งแต่ละประเภทก็เหมาะสมกับทางโค้งลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • Lean-out เป็นการเข้าโค้งที่ไบค์เกอร์ต้องเอียงตัวไปฝั่งตรงข้ามกับรถเพื่อถ่วงน้ำหนัก โดยตัวรถมอเตอร์ไซค์จะเอียงไปที่ด้านในของโค้ง ส่วนไบเกอร์จะต้องถ่วงน้ำหนักตัวไปทางด้านนอกของโค้งเหมาะกับทางโค้ง เหมาะกับโค้งความเร็วต่ำและต้องการวงเลี้ยวที่แคบ
  • Lean-with ไบค์เกอร์ต้องเอียงตัวแนบไปกับรถมอเตอร์ไซค์ในองศาที่เท่ากัน เท้าทั้งสองข้างวางอยู่ที่พักเท้า หัวเข่าแนบชิดกับถังน้ำมัน ศีรษะตั้งตรงตามธรรมชาติเพื่อสร้างสมดุล เป็นการเข้าโค้งที่ควบคุมรถมอเตอร์ไซค์ได้ง่ายที่สุดและปลอดภัยมากที่สุด เหมาะกับการขับขี่ในชีวิตประจำวัน
  • Lean-in ไบค์เกอร์ต้องเอียงตัวไปด้านในของโค้งในองศาที่มากกว่ารถมอเตอร์ไซค์เล็กน้อย เหมาะสำหรับคนที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ด้วยความเร็วสูงและต้องเข้าโค้ง ซึ่งการเอียงตัวไปด้านในโค้งแบบ Lean-in จะช่วยถ่วงน้ำหนักและทำให้มอเตอร์ไซค์สามารถยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น
  • Hang-on หรือการเข้าโค้งแบบโหนรถ วิธีนี้ไบค์เกอร์ต้องถ่วงน้ำหนักตัวไปด้านในโค้งเยอะๆ เหมือนกำลังโหนรถมอเตอร์ไซค์อยู่ก็ว่าได้ มักพบในสนามแข่งที่ต้องใช้ความเร็วในการเข้าโค้ง ซึ่งการเข้าโค้งแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในสนามที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมรอบข้างได้ อีกทั้งตัวพื้นผิวถนนบริเวณโค้งจะต้องรองรับการขับขี่ด้วยความเร็วสูงเช่นกัน จึงไม่เหมาะกับการขับขี่ทั่วไปหรือไบค์เกอร์มือใหม่

สิ่งที่ต้องสังเกตขณะเข้าโค้ง

ก่อนเข้าโค้งทุกครั้งไบค์เกอร์ต้องประเมินทางโค้งด้วยการกะ คาดคะเนด้วยสายตาว่าทางโค้งข้างหน้ามีลักษณะแบบไหนและปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าโค้ง การควบคุมรถมอเตอร์ไซค์และความเร็วในการขับขี่ให้เหมาะสม รวมทั้งสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวว่ามีอะไรเป็นอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางหรือไม่ เช่น สัญญาณไฟจราจร ทางแยก หลุมบ่อบนถนน รถที่สวนมา ฯลฯ เพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์และตัดสินใจได้ทันท่วงที อีกทั้งช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้


หวังว่าเทคนิคเบื้องต้นที่เรานำมาฝากวันนี้จะช่วยให้ไบค์เกอร์มือใหม่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้นในทุกๆ ทางโค้ง และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าเทคนิคใดๆ ก็คือการเคารพกฎจราจรนั่นเอง

หวังว่าเทคนิคเบื้องต้นที่เรานำมาฝากวันนี้จะช่วยให้ไบค์เกอร์มือใหม่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้นในทุกๆ ทางโค้ง และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าเทคนิคใดๆ ก็คือการเคารพกฎจราจรนั่นเอง แต่ถ้าอยากเทิร์นโปรเร็วๆ ก็สามารถเรียนรู้เทคนิคการขี่มอเตอร์ไซค์ให้ปลอดภัยและถูกวิธีกับมืออาชีพได้

ทำใบขับขี่ใหม่
ทำใบขับขี่ใหม่ 2565 ทำอย่างไร อบรมออนไลน์ได้หรือไม่

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ผู้ที่จะสามารถทำใบขับขี่รถยนต์ได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งขั้นตอนการทำใบขับขี่ใหม่ สำหรับผู้ที่เพิ่งทำครั้งแรกมีขั้นตอนดังนี้

1. จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์

สามารถจองคิวได้ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการทำใบขับขี่ หลังจากนั้นให้คุณบันทึกหน้าจอเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้แสดงกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานขนส่ง

2. เตรียมเอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประชาชนฉบับจริง
  • ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน

3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

  • ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว เหลือง แดง)
  • ทดสอบสายตาทางลึก
  • ทดสอบสายตาทางกว้าง
  • ทดสอบปฎิกิริยาเท้า โดยการเหยียบเบรกหลังเห็นไฟสัญญาณ

4. อบรม

  • การอบรมเพื่อทำใบขับขี่สำหรับผู้ที่ทำครั้งแรก ต้องไปอบรมที่สำนักงานเท่านั้น ไม่สามารถอบรมออนไลน์ได้
  • ระยะเวลาในการอบรมทำใบขับขี่ใหม่ จะใช้เวลาอย่างน้อย 5 ชั่วโมง โดยจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงเช้า (9.30 – 12.00 น.) และช่วงบ่าย (13.00 – 15.30 น.)

5. สอบข้อเขียน

  • สอบข้อเขียนด้วยคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam)
  • ข้อสอบมีจำนวน 50 ข้อ จะต้องตอบให้ถูกอย่างน้อย 90% หรือ 45 ข้อ หากไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไป หรือไม่เกิน 90 วันหลังอบรม

6. สอบปฏิบัติ ทดสอบขับรถ

การสอบปฏิบัติจะต้องนัดหมายในวันอื่น ซึ่งขั้นตอนการสอบใบขับขี่รถยนต์ภาคปฏิบัติ มีด้วยกัน 3 ท่าดังนี้

  • ท่าเดินหน้าและถอยหลัง
  • ท่าจอดรถเทียบทางเท้า
  • ท่าขับรถถอยเข้าซอง

7. ชำระเงิน / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่

  • ค่าทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 200 บาท
  • ค่าคำขอ 5 บาท
ปีนฟุตบาท
เทคนิคง่ายๆ ใน การเลี้ยวรถ ซอยแคบไม่ให้ปีนฟุตบาท

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ปัญหา การเลี้ยวรถ แล้วปีนฟุตบาท ของหลายๆคนที่ไม่ว่าจะเป็น มือใหม่หัดขับ หรือ มือเก่าขับเก่ง ก็มักจะเจอะเจอกันได้แบบไม่ตั้งใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีทริกเล็กๆที่สามารถจะไปฝึกใช้กันได้ แค่ลองกลับไปที่เรื่องการเลี้ยว

อย่างแรกลองจินตนาการ ว่าเรากำลังเดินอยู่ในซอกตึก เราจะเลี้ยวได้ ไม่ชนตึก เราจะต้องเดินไปใหพ้นกำแพงตึกก่อน แล้วค่อยหันหน้าไปทางขวา เพื่อเดินเลี้ยวไปทางขวา เราถึงจะไม่ชนตึก โดยรถก็เหมือนกัน ใช้หลักการเดียวกันกับที่เราเดิน คิดว่าถ้าเราแปลงร่างเป็นรถ ให้ขาเราล้อหน้าของรถ เวลาจะเลี้ยวแล้วพ้น แปลว่าล้อหน้า (ขาเราต้องพ้นมุมตึก) แล้วมันจะไม่ไปเบียดกำแพงตึกด้านขวา กรณีเลี้ยวขวา

ปีนฟุตบาท

ซึ่งเวลาเราขับรถ ด้วยความที่สายตามองไกลไปข้างหน้า เราเห็นทางข้างหน้าว่าเป็นทางโค้ง ทางเลี้ยว สมองมันจะสั่งการเราอัตโนมัติตามภาพที่เราเห็น ทำให้เราหมุนพวงมาลัยโดยอัตโนมัติ เพื่อจะเลี้ยว พอหน้ารถมันยังไม่พ้นมุมตึก หรือ ขอบฟุตบาท มันจึงทำให้ข้างรถไปเบียดหรือ ล้อปีนฟุตบาท อาการอย่างนี้เรียกว่าเลี้ยวเร็วไป

ดังนั้นจังหวะที่จะเลี้ยวคือ เมื่อล้อรถถึงมุมฟุตบาท มุมตึก อาจจะมุมโค้ง แล้วค่อยหมุนพวงมาลัยเลี้ยว ไม่ต้องกลัวว่าจะเลี้ยวไม่ทัน แหกโค้ง เพราะสิ่งที่สอนเสมอเวลาเข้าโค้งต้องลดความเร็ว กรณีนี้ขับในซอยด้วย ยังไงก็ไม่ควรใช้ความเร็ว ไม่ต้องรีบ รอจังหวะที่ถูกที่ควรค่อยหมุนพวงมาลัยเลี้ยว

ปีนฟุตบาท

แล้วหลายคนเป็นที่หมุนพวงมาลัยเร็ว โดยเฉพาะมือใหม่ เนื่องจากเห็นทางข้างหน้าเป็นทางโค้ง สมองมันสั่งการเร็ว เลยรู้สึงว่าต้องทำทุกอย่างให้เร็วตามไปกันหมด อาการนี้เรียกว่า “รน” สุดท้ายก็จะปืนฟุตบาท
หากเป็นแบบนี้ เสริมอีกนิดที่พอช่วยได้ กรณีเลี้ยวขวา อาจจะขับรถให้ชิดซ้ายให้มากหน่อยก่อนที่จะเลี้ยวขวา เพราะเป็นการตีวงกว้าง ขณะที่เรากำลังจะเลี้ยวขวา ซึ่งจะช่วยให้ด้านข้างรถปลอดภัยจากการครูด

ขับปลอดภัย
7 ประการที่มือใหม่หัดขับมักพลาด มือเก๋ายังพลั้ง รู้เพื่อระวังจะได้ขับปลอดภัย

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

หลายคนอาจเป็นแบบนี้ ขับรถไปก็มีการโทษมีการบ่นรถคันอื่น ๆ ไป ว่าเขาขับรถแย่ ชอบเบียด ชอบแซง เราว่าคนอื่นแต่บางทีเราก็ทำพฤติกรรมเหล่านั้นบ้างเหมือนกัน บางคนมั่นใจว่าทำประกันภัย รถยนต์ชั้น 1ไว้ ขับยังไงก็ได้ จึงเผลอขับตามอำเภอใจอยู่หลายครั้ง สิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ทั้งมือใหม่และคนที่ขับรถมานาน

ครั้งนี้จึงขอรวบรวมข้อผิดพลาด 7 ประการที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ กับผู้ขับขี่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือคนที่ขับรถมานานก็สามารถเผลอหลุดทำพฤติกรรมเหล่านี้ได้เสมอ จะมีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง และควรจะต้องระวังหรือแก้ไขอย่างไรมาติดตามกันได้เลย

1.ใช้โทรศัพท์ในช่วงที่ติดไฟแดง

ขับปลอดภัย

เราทราบดีว่าการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และแม้ขณะที่เราจอดติดไฟแดงอยู่เราก็ไม่ควรใช้เพราะการทำแบบนี้ก็ทำให้เราไม่ทันได้ระวังตัว ซึ่งนั่นทำให้เราอาจถูกชนท้ายได้ง่าย ๆ ดังนั้น ขณะอยู่บนรถคุณควรงดการใช้โทรศัพท์ ควรจะมีสติอยู่กับรถตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้คุณประเมินสถานการณ์รอบตัวในขณะนั้นได้อย่างเต็มที่

2.นั่งห่างพวงมาลัยเกินไป

การนั่งขับรถในท่าที่สบายเกินไปก็ใช่จะเป็นเรื่องดี เพราะทัศนวิสัยในการขับรถจะไม่ดี นี่ยังไม่รวมถึงอาจเผลอหลับได้ ซึ่งช่วงที่เคลิ้มประสิทธิภาพในการบังคับรถก็แย่ลงด้วย ดังนั้น ควรแก้ไขด้วยการปรับระยะห่างเบาะกับพวงมาลัยให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมกับสรีระ ปรับทั้งความสูงและความลาดเอียงของเบาะให้เหมาะสมกับการขับขี่ ซึ่งควรอยู่ในระยะที่เหยียบเบรกและหมุนพวงมาลัยได้ถนัดจะดีที่สุด

3.ปรับกระจกไม่ถูกมุม

การปรับกระจกมองหลังและกระจกมองข้างไม่ถูกมุม ก็เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุจนต้องเดือดร้อนขอเคลมประกันภัยรถยนต์มานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว กระจกไม่อยู่ในมุมที่เหมาะสมก็ทำให้เรากะระยะสายตาผิดนั่นเอง ดังนั้น ลองเช็กดูว่ากระจกมองข้างทั้ง 2 ฝั่ง รวมถึงกระจกมองหลัง อยู่ในระยะที่เรามองเห็นถนัดหรือไม่ ปรับให้เราเห็นได้ถนัด ก็ช่วยลดความผิดพลาดได้เยอะ

4.เหยียบเบรกแช่ขณะลงทางลาด

เวลาที่ขับรถลงทางลาดต่อเนื่องนาน ๆ เราต้องชะลอรถอยู่แล้ว แต่ไม่ควรเหยียบเบรกแช่ไว้ เพราะเบรกจะไหม้ได้ ควรแก้ไขโดยเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำ หรือใช้โหมดขับลงเข้าในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ เข้าช่วย ซึ่งก็จะเป็นการช่วยถนอมเบรกและทำให้ปลอดภัยได้เหมือนกัน

5.ใช้รองเท้าไม่เหมาะสมกับการขับรถ

อุบัติเหตุทางรถยนต์หลายครั้งเกิดขึ้นเพราะผู้ขับขี่ใส่รองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูง รองเท้าแตะนั้นอาจหลุดและเข้าไปขวางแป้นเบรกได้ รองเท้าส้นสูงก็เป็นอุปสรรคในการเหยียบคันเร่ง ทางที่ดีขณะขับรถควรสวมรองเท้าที่กระชับเหมาะกับการขับรถจะปลอดภัยกว่า

6.เปลี่ยนเกียร์ไม่เหมาะสม

หลายคนเคยเจอปัญหารถติดที่ทางลาดชันบนลานจอดรถในห้าง เมื่อเกิดเหตุขึ้นหลายคนกลัวรถไหลจึงเลือกใช้เกียร์ P ซึ่งจริง ๆ ที่เหมาะสมก็คือ ให้อยู่ในเกียร์ D ไว้ เพราะอย่างน้อยระบบกลไกของเกียร์จะช่วยให้รถยังพอขยับเดินหน้าและไม่ติดอยู่แบบนั้น

7.หลุดเลน

ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหากับมือใหม่ที่ขับในทางที่เป็นวงเวียน ไม่รู้จะออกเลนไหนเลยเผลอเบียดแซง ทางแก้ที่ดีก็คือ ก่อนเข้าวงเวียนให้ดูป้ายบอกทางให้ดี จะได้รู้ว่าควรเข้าทางไหนออกทางไหน และควรจะให้รถในวงเวียนไปก่อนเสมอ

นี่คือ 7 ข้อผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ขับขี่ทุกคน จึงเป็นสิ่งที่ควรจะตระหนักเอาไว้ เวลาขับขี่จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุ นอกจากเราจะต้องระวังแล้ว การเตรียมพร้อมรับมืออุบัติเหตุก็สำคัญ ดังนั้น การมีประกันเอาไว้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

การขับรถขึ้นเขา
เทคนิคง่ายๆใน การขับรถขึ้น – ลงเขา ใครๆก็ทำได้

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ใกล้ปีใหม่เข้ามาทุกที ผมเชื่อว่าหลายต่อหลายท่านมีแผนที่จะขับรถเที่ยวต่างจังหวัดกันสถานที่ยอดฮิตของนักท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่นี้ก็คงจะหนีไม่พ้นภูเขา ยอดภู ยอดดอย ต่างๆ เพื่อไปชมความงดงามของทะเลหมอก ชมดอกไม้สีสันสดใส พร้อมสัมผัสลมหนาวกัน และนักท่องเที่ยวส่วนมากเลือกที่จะขับรถยนต์ส่วนตัวขึ้นเขากัน หลายท่านที่มีทักษะในการขับดีอยู่แล้วก็คงไปได้แบบสบายหายห่วง แต่มือใหม่หัดขับละเราจะขับขึ้นเขาหรือทางลาดชันได้มั้ย วันนี้เรามีเทคนิคดีๆใน การขับรถขึ้น-ลงเขา อย่างไรให้รอดและปลอดภัย มือใหม่ก็ขับขึ้นได้สบายหายห่วง ต้องยอมรับครับว่าในปัจจุบันรถยนต์เกียร์ธรรมดาเราไม่ค่อยจะได้สัมผัสเท่าไหร่จนเด็กสมัยใหม่ขับเกียร์ธรรมดากันไม่เป็นแล้ว เพราะไอ้เจ้ารถยนต์สมัยใหม่ในปัจจุบันนี้ มันดันเป็นเกียร์ ออโต หรือไม่ก็ CVT ซะส่วนมาก ทีนี้เราจะมีวิธีขับอย่างไรให้ขึ้น-ลงเขาอย่างปลอดภัย เราตามไปดูกันครับ

การขับรถขึ้นเขา

ผมบอกไว้ตรงนี้เลยว่ารถยนต์ไม่ว่าจะเครื่อง 2000 1500 หรือ1200 ซีซี ก็ขับขึ้นเขาได้หมดละครับ เพียงแต่พละกำลังมันต่างกันก็เท่านั้น เพราะรถยนต์อีโคคาร์เครื่องยนต์ 1200 ซีซี ในปัจจุบันแรงบิดเยอะใช่เล่นนะครับ รถยนต์อีโคคาร์เครื่องยนต์ 1200 ซีซี ขับขึ้นเขาที่ลาดชันมากๆก็อาจจะเหนื่อยหน่อยครับ ขึ้นได้แน่แต่ช้าหน่อย เพราะรถยนต์พวกนี้ออกแบบมาให้วิ่งในเมืองซะส่วนมาก เอาเป็นว่าถ้าจะขับรถยนต์อีโคคาร์ขึ้นเขาก็สามารถทำได้แล้วกัน ครั้งนี้เราจะไม่พูดถึงเครื่องยนต์ แต่เราจะมาบอกเทคนิคในการขับขึ้น-ลงเขากันครับ

เรามาดูเทคนิคง่ายในการขับขึ้นเขากันครับ

1.ให้ใช้เกียร์ D หรือ D2-D1 ขึ้นอยู่กับความชันน้อยหรือมาก โดยให้ใช้เกียร์ D2-D1 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง เมื่อรถอยู่ในทางราบ หลายท่านซัดเกียร์ D อย่างเดียวเลยขึ้นได้ครับ แต่มันอันตรายนิดนึง
2.เลี้ยงคันเร่งไว้ เหยียบคันเร่งตามระดับความชัน พยายามให้รอบเครื่องอยู่ประมาณ 2000-3500 ควบคุมไม่ให้เกิน 4500 นะจ๊ะ อย่าไปเค้นเครื่องยนต์มากนักเครื่องยนต์จะทำงานหนักเกินไป
3.ใช้ความเร็วเพียง 50-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือช้ากว่านี้ ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องแข่งกับใคร ถ้ารถหลังรีบก็ให้ชิดซ้ายเพื่อเปิดทางให้เขาแซงไปก่อน ปลอดภัยไว้ก่อนถึงเหมือนกันนะจ๊ะ
4.คุมระยะรถให้ห่างคันหน้าประมาณ 30-50 เมตร เพราะการเว้นระยะจะเผื่อไว้ในกรณีที่รถคันหน้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ขึ้นไม่ไหว หรือรถตายกลางทาง คุณจะได้มีโอกาสหลบเลี่ยงได้อย่างปลอดภัย ที่สำคัญการเว้นระยะจะทำให้คุณมีโอกาสเร่งรถขึ้นเขาได้สบายมากขึ้นด้วย
5.เมื่อต้องขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S มองให้ไกลไว้ เมื่อแน่ใจว่าทางสะดวกไม่มีรถสวน จากนั้นเสียบตัดโค้งในแนวการขับให้เป็นเส้นตรงมากที่สุด จะได้ไม่เมารถ (แต่ถ้าจะทำแบบนี้ผู้ขับต้องมีความชำนาญนิดนึงนะครับ)
6.การขับในทัศนวิสัยที่ไม่ดี หรือเป็นทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา และต้องบีบแตรส่งสัญญาณก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนมา

เมื่อขึ้นแล้วก็ต้องลง มาดูกันว่าการขับรถลงเขามีเทคนิคอย่างไร

1.ให้ใช้เกียร์ D หรือ D2-D1 เช่นเดียวกันตอนขึ้นเขา และห้ามใส่เกียร์ว่าง ‘N’ ลงเขาเด็ดขาด เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง อันตรายสุดๆๆ ที่สำคัญอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ด้วยนะ
2.ห้ามย้ำเบรค หรือเลียเบรคค้างนานๆ เพราะจะทำให้ผ้าเบรคไหม้ คุมรถไม่อยู่ หรือ “เบรคแตก” ได้ ให้แตะเบรคเบาๆเป็นช่วงๆให้รู้สึกว่ารถชะลอความเร็วลงแค่นั้นพอ
3.ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเหยียบคันเร่ง แต่ปล่อยให้รถลงมาเองด้วยเกียร์ D/D1-2 (ถ้ากลัว หรือไม่ชำนาญ)
4.ก่อนเข้าโค้งหักศอกแล้วลาดลง ให้แตะเบรคลดความเร็วลงมาที่ 40-50 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะเข้าโค้งง่ายๆเร็วเกินควบคุมรถไม่อยู่เดี๋ยวหลุดโค้งตกเขานะ

การขับรถขึ้น-ลงเขาสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคิดไว้เสมอคือความปลอดภัย และต้องมีสติตลอดเวลาที่นั่งหลังพวงมาลัย จังหวะในการเร่งแซงก็เช่นกันถ้าผู้ขับมองแล้วว่าไม่ทัน หรือฉิวเฉียด ผมว่ารอก่อนดีกว่า ช้าแต่ชัวร์ จะได้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย เที่ยวปีใหม่ให้สนุกนะครับ

ชาร์จมือถือในรถ
ทำไมไม่ควรชาร์จมือถือในรถ แบตจะเสื่อมจริงเหรอ?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เพื่อน ๆ คงเคยเห็นข่าวอุบัติเหตุระเบิดหรือไฟไหม้จากการชาร์จมือถือในรถกันมาบ้างใช่ไหมครับ แม้ว่าอันตรายจากเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่จำนวนคนที่ชาร์จมือถือในรถนั้นมีเป็นจำนวนมาก วันนี้จะพาไปล้วงลึกถึงสาเหตุกันก่อนว่า เหตุใดจึงไม่ควรชาร์จมือถือในรถ และหากจำเป็นจะต้องชาร์จจริงๆ ควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้างเพื่อให้เพื่อนๆสามารถชาร์จแบตมือถือในรถได้อย่างปลอดภัยครับ

เหตุใดการชาร์จมือถือในรถ จึงทำให้เกิดอันตรายได้?

ชาร์จมือถือในรถ

ตามปกติแล้วระบบไฟฟ้าในรถยนต์จะต้องผ่านฟิวส์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจรขึ้นครับ หากเราชาร์จแบตจนเต็มแล้วยังไม่เอาออก หรืออุปกรณ์ชาร์จไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ฟิวส์ขาด หรือหนักกว่านั้นคืออุปกรณ์ชาร์จเกิดการหลอมละลายทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ลามไปจนถึงเกิดไฟไหม้รถได้เลยครับ

ชาร์จมือถือในรถ แบตเสื่อมจริงหรือไม่?

กรณีนี้ต้องแยกกันก่อนระหว่างแบตเตอรีรถยนต์ และแบตโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก็อาจเกิดผลเสียได้กับทั้ง 2 อย่างครับ

  • เริ่มกันที่แบตเตอรีรถยนต์ปกติแล้วระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรีรถยนต์จะอยู่ที่ประมาณ 2 ปี แต่การที่เราชาร์จแบตมือถือในรถจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรีรถยนต์ลดลงเหลือประมาณ 15-18 เดือน และเมื่อแบตเสื่อม ก็จะทำให้สตาร์ทรถติดยากขึ้นนั่นเองครับ โดยเฉพาะหากเรามีการใช้งานโทรศัพท์มือถือระหว่างที่กำลังชาร์จอยู่ โทรศัพท์จะดึงกระแสไฟฟ้าจากรถยนต์มาใช้เป็นจำนวนมาก ทำให้แบตเสื่อมเร็วขึ้นครับ
  • แบตโทรศัพท์มือถือส่วนมากแล้วเราจะทำการชาร์จผ่าน USB ในรถ หรือไม่ก็ที่จุดบุหรี่ในรถ ซึ่ง USB ในรถนั้นถูกออกแบบมาให้จ่ายกระแสได้น้อย อยู่ที่ราวๆ 0.5A เพื่อเอาไว้เสียบ USB ไดร์ฟ หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อฟังและดาวน์โหลดเพลง มากกว่าจะไว้ใช้สำหรับชาร์จแบตโดยตรง จึงทำให้ชาร์จช้ากว่าการเสียบที่จุดบุหรี่มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโทรศัพท์มือถือของเพื่อนๆมีขนาดใหญ่ หรือเป็นแท็บเล็ตแล้วก็จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเลยครับ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ถูกปล่อยผ่านที่จุดบุหรี่นั้นสามารถจ่ายไฟได้ถึง 1A หรือ 2.1A ซึ่งมีปริมาณมากพอจะไปเลี้ยงแบตเตอรี่มือถือได้ อย่างไรก็ตามระบบไฟฟ้าที่ถูกจ่ายผ่านแบตเตอรี่รถยนต์นั้นค่อนข้างจะผันผวนไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดการกระชากเมื่อระบบแอร์ทำงาน หรือหยุดชะงักได้

ชาร์จแบตในรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย?

ชาร์จมือถือในรถ
  • อุปกรณ์สำหรับชาร์จควรเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่น ทำจากพลาสติกเกรด A ไม่มีรอยต่อ
  • ไม่ควรเสียบตัวพ่วง USB คาไว้ที่ช่องจุดบุหรี่ในรถ ควรถอดออกทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งานหรือมีการดับเครื่องยนต์
    .ไม่ควรเปิดอุปกรณ์ในรถพร้อมกันหลายอย่างขณะที่ชาร์จมือถือในรถเพราะจะทำให้เพิ่มโอกาสที่แรงดันในรถไม่สม่ำเสมอมีสูง อาจเกิดไฟกระชากได้
  • ไม่ควรชาร์จขณะสตาร์ทเครื่อง เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามือถือมากเกินไป เกิดการกระชากไฟได้ ทางที่ดีควรสตาร์ทรถ เปิดแอร์ รอให้รถเคลื่อนตัวสักเล็กน้อย แน่ใจว่ากระแสไฟคงที่แล้วจึงค่อยเสียบสายชาร์จครับ
  • พกแบตเตอรีสำรองติดไว้ แล้วชาร์จจากแบตเตอรีสำรองแทนการชาร์จในรถโดยตรงครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับเทคนิคการชาร์จมือถือในรถให้ปลอดภัยที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ซึ่งจริงๆแล้วหากเป็นไปได้ พี่หมีแนะนำว่าเพื่อนๆควรจะพกแบตเตอรีสำรองติดกระเป๋าหรือติดตัวไว้และชาร์จผ่านแบตเตอรีสำรองแทน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรวางแบตเตอรีสำรองทิ้งไว้ในรถนะครับ เพราะโอกาสเกิดอันตรายจากการที่แบตเตอรีสำรองจะระเบิด เมื่อเราจอดรถตากแดดทิ้งไว้นานๆก็มีสูงเช่นกัน เนื่องจากสารลิเธียมในแบตเตอรี่เป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาทางเคมี เมื่อรถเราร้อนมากๆ อาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริรยาลัดวงจรได้ครับ

ปิดแอร์
ควรปิดแอร์ก่อนดับเครื่องยนต์มั้ย?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 ยังคงเป็นคำถามที่หลายๆ ท่านยังคงสงสัยสำหรับเจ้าของรถยนต์ที่ว่าด้วยเรื่องแอร์ ว่าควรปิดก่อนดับเครื่องยนต์นั้นจำเป็นจะต้องปิดสวิตช์แอร์ทุกครั้งหรือไม่

ปิดก่อน-หลังดับเครื่องยนต์ แบบไหนถูก

ปิดแอร์

ซึ่งปัญหาที่มักได้ยินเป็นประจำว่าควรปิดก่อนหรือหลังดับเครื่องยนต์ แล้วแบบไหนเป็นวิธีที่ถูก ต้องบอกว่าความจริงแล้วไม่มีผิดหรือถูกครับ ถ้าเป็นรถรุ่นเก่าหน่อย แนะนำให้ปิดแอร์ก่อนดับเครื่องยนต์นะครับ เพื่อไม่ให้ลืมปิดเท่านั้นเอง เพราะตอนสตาร์ทเครื่องยนต์ เราไม่ควรให้สตาร์เตอร์ต้องออกแรงขับคอมเพรสเซอร์พร้อมกันไปด้วย เพราะหากแบตเตอรี่อ่อนอยู่แล้วอาจจะทำให้เสียได้ แต่ถ้าแบตเตอรี่ยังใหม่อยู่ก็ไม่ได้มีผลเสียอะไรครับ

แต่ในปัจจุบันหลายท่านยังมีความเชื่ออยู่ว่า ก่อนจะดับเครื่องยนต์นั้นจำเป็นต้องปิดแอร์ก่อนเสมอ เพราะเวลาที่สตาร์ทเครื่องยนต์อีกครั้ง ตัวรถจะมีการโหลดกระแสไฟมากกว่าปกติ เนื่องจากต้องจ่ายกระแสไฟให้ระบบแอร์ รวมถึงการทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำให้กระแสไฟกระชาก ผลคือเครื่องยนต์กินไฟมากขึ้น สตาร์ทยาก และอาจทำให้ระบบไฟเสียหายได้ ซึ่งความเห็นเหล่านี้อาจเป็นจริงสำหรับรถยนต์สมัย 30 ปีที่แล้ว

รถยนต์ในปัจจุบันจะมีระบบตัดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ (เมื่อบิดกุญแจไปยังตำแหน่ง Start หรือเมื่อระบบ Push Start กำลังทำงาน) นั่นหมายความว่าโบลว์เออร์ที่เป่าลมแอร์ออกมานั้น จะหยุดการทำงานไว้ชั่วคราวเช่นกัน และเมื่อรถยนต์สตาร์ทติดแล้ว รีเลย์จะชะลอการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ไว้ประมาณ 1-2 วินาที จึงจะเริ่มมีความเย็นออกมา จึงไม่มีผลทำให้กระแสไฟกระชากแต่อย่างใด

ปิด A/C

ปิดแอร์

แนะนำให้ปิดปุ่ม A/C ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางประมาณ 5-10 นาที แต่เปิดพัดลมแทน เพื่อเป่าความชื้นที่คอยล์เย็นจนแห้ง จะทำให้คอยล์เย็นไม่มีความอับชื้น ความสกปรกน้อยลง เพราะสิ่งเหล่านั้นจะเป็นที่มาของกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ขณะที่แอร์กำลังทำงานตอนขับรถนั้นเอง

โดยปกติแล้วการที่ระบบปรับอากาศจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์นั้น เครื่องยนต์จำเป็นต้องติดอยู่ เนื่องจากคอมเพรสเซอร์แอร์จะถูกขับเคลื่อนด้วยสายพานร่วมกับเครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่นั่นเอง แต่หากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วเปิดแอร์ จะมีเพียงลมจากโบลว์เออร์ออกมาเท่านั้น ไม่มีความเย็นออกมาด้วย แม้จะเปิดหรือปิดสวิตช์ A/C อยู่ก็ตาม

ทำร้ายรถ
4 เรื่องเข้าใจผิดที่มักทำร้ายรถ!!

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

รามาอ่านทิปส์ดูแลรถดีๆกันดีกว่า เกี่ยวกับ 4 เรื่องเข้าใจผิดที่มักทำร้ายรถ!! ทราบดีว่ารถใครใครก็รักและอยากดูแลให้ดีทั้งนั้น แต่รู้หรือไม่ว่าบางเรื่องที่เราทำไปเพราะเข้าใจว่าเป็นวิธีดูแลรักษาที่เหมาะสม แต่จริงๆแล้วสิ่งเหล่านั้นอาจทำร้ายรถโดยที่เราไม่รู้มาก่อน ว่าแต่มันจะมีอะไรบ้างนั้ ไปลองดูกันเลย

เติมน้ำมันผิด

เร่งเครื่องไม่รอจังหวะรถ

เรื่องนี้เนี่ย เพราะความใจร้อนเป็นเหตุล้วนๆเลย ขอเดาว่าผู้ขับขี่รถทุกท่านมักจะติดการเร่งเครื่องโดยไม่รอจังหวะรถ ซึ่งคุณอาจจะไม่ได้คิดว่านั่นคือการทำร้ายรถอย่างหนึ่ง เพราะพฤติกรรมการขับรถแบบนี้จะส่งผลให้เครื่องยนต์พังเร็ว เสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร!

เติมน้ำมันผิด

เติมน้ำมันเครื่องซี้ซั้ว!

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน หรือทุกๆ 8,000 – 10,000 กม. เป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว แต่เรื่องการเลือกน้ำมันเครื่องนี่สิที่เป็นประเด็น หลายคนไม่รู้ว่าจะเลือกน้ำมันเครื่องยี่ห้อไหน แบบใด ก็เลยเลือกตามที่ได้ยินมาว่ายี่ห้อนี้ดี หรือใช้ตรรกะว่ายิ่งแพง น่าจะยิ่งดี ทั้งที่จริงๆ แล้วน้ำมันเครื่องที่ราคาแพงหรือคนอื่นบอกว่าดีนั้น อาจจะไม่ได้เหมาะกับเครื่องยนต์ของรถตัวเองก็ได้!

เติมน้ำมันผิด

ผัดวัน ‘ประกัน’ พรุ่ง

บ่อยครั้งที่เราอาจจะโฟกัสที่การดูแลรักษาสภาพรถ แล้วผัดวันประกันพรุ่งกับเรื่องอื่น โดยเฉพาะกับเรื่องประกัน โดยปล่อยให้ประกันรถยนต์ขาดช่วง แทนที่จะต่อประกันล่วงหน้าก่อนที่จะหมดอายุ เพราะคิดเข้าข้างตัวเองว่า อุบัติเหตุคงยังไม่ทันเกิดขึ้นกับเราหรอก ทั้งที่จริงๆ แล้ว อุบัติเหตุถามหาเราได้ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้นถ้ารักรถจริงก็ควรใส่ใจกับเรื่องประกันให้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

เติมน้ำมันผิด

จอดรถใต้ต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา

ข้อนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีดูแลรถที่ถูกต้อง แต่ถ้าต้องจอดนานข้ามวัน ให้เช็คที่พื้นถนนก่อนว่ามีร่องรอยขี้นกมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีร่องรอยเกลื่อนพื้นที่ เราแนะนำให้คุณหาที่จอดใหม่จะดีกว่า เพราะความเป็นกรดของขี้นกเป็นตัวการอย่างหนึ่งในการทำให้สีรถด่างได้ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ!