Search for:
การดึงเบรกมือ
วิธีการดึงเบรกมือที่ถูกต้อง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

วิธีการดึงเบรกมือที่ถูกต้อง

เมื่อต้องการหยุดรถให้สนิทในระหว่างจอดติดไฟแดงบนทางลาด หรือต้องการจอดสนิทในที่จอดรถ เราควรรู้จัก วิธีการดึงเบรกมือที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันรถยนต์ไม่ให้ไหลไปชนคันหน้าหรือเคลื่อนตัวออกจากที่จอดรถ

เพราะการดึงเบรกมือ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนปฏิบัติกันหลังจากจอดรถเสร็จเข้าที่เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นรถเกียร์ออโต้ที่จะเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ตัว P ก็ยังต้องดึงเบรกมือเป็นประจำทุกครั้ง ฟังดูแล้วเหมือนไม่ต้องเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการดึงเบรกมือให้ถูกต้องทำอย่างไร เพราะเพียงแค่ดึงขึ้นมาง่าย ๆ ก็จบ แต่รู้หรือไม่ว่า รถยนต์แต่ละประเภทใช้เกียร์ที่ไม่เหมือนกัน บางคันต้องกดปุ่มเบรกมือ บางคันไม่ต้องกดปุ่ม

เรามาเรียนรู้หลักการทำงานของเบรกมือ คือ เบรกมือจะมีเฟืองอยู่หนึ่งตัว เป็นฟันเฟืองหยัก ๆ เวลาเราดึงเบรกมือขึ้น เฟืองก็จะหมุนและจะมีกระเดืองเป็นตัวล็อคเป็นชั้น ๆ เวลาเราดีงเบรกมือขึ้นจะมีเสียงดัง แกร๊ก ๆ ซึ่งตัวเบรกมือนี้ออกแบบมาให้ใช้งานแค่แบบนี้อยู่แล้วดึงให้แรงอย่างไรเฟืองก็ไม่มีรูด

การดึงเบรกมือ

จึงมีคำถามตามมว่า เราจะมีวิธีการดึงเบรกมือที่ถูกต้อง เค้าทำกันอย่างไร

คำตอบคือ การดึงเบรกมือทุกครั้ง ไม่จำเป็นต้องกดปุ่มดังกล่าว เพียงแต่ดึงเบรกมือยกขึ้นมาให้สุดจนรู้สึกถึงความตึงของด้ามเบรกมือ และเสียงดังแกร็ก ไม่สามาถยกไปต่ออีกได้ นั่นหมายถึงคุณได้ยกเบรกมือขึ้นจนสุดแล้ว และเมื่อต้องการปลดเบรกมือลง ต้องกดปุ่มทุกครั้งพร้อมกับกดเบรกมือลง จำไว้เสมอว่า ยกขึ้นยกได้เลย แต่จะยกลงให้กดปุ่ม แค่นี้ก็เป็นการถนอมอายุการใช้งานเบรกมือได้อย่างทะนุทนอมแล้ว

  • วิธีการดึงเบรกมือที่ถูกต้องโดยสรุปสั้น ๆ คือ
  • จับเบรกมือ ไม่ต้องกดปุ่ม
  • ดึงเบรกมือขึ้น จะมีเสียงดัง แกร๊ก ๆ ตามชั้นของฟันเฟืองจนรถหยุดไหล
  • วิธีปลดเบรกมือ
  • จับเบรกมือ
  • ยกเบรกมือขึ้น แล้วกดปุ่ม
  • ดึงเบรกมือลง

เรามาเรียนรู้เพิ่มเติมถึง วิธีการใช้เบรกมือที่ถูกต้องเวลาอยู่บนท้องถนนกัน

  • ในกรณีที่รถติดอยู่บนท้องถนนที่ลาดชันหรือบนสะพาน ให้ดึงเบรกมือขึ้นเพื่อป้องกันรถไหลชนรถคันหลัง เมื่อจะออกระให้เหยียบเบรกเท้า เข้าเกียร์ แล้วจึงปลดเบรกมือพร้อมเหยียบคันเร่งให้สัมพันธ์กัน
  • กรณีที่รถจอดติดไฟแดง หรือจราจรติดเป็นเวลานาน ๆ ให้ดึงเบรกมือขึ้นแทนการเหยียบเบรกเท้าค้างไว้ ป้องกันเผลอตัวยกเท้าขึ้น จนรถไหลไปชนท้ายรถคันหน้า
  • กรณีจอดรถบนทางลาดชัน ควรดึงเบรกมือขึ้นทุกครั้งเพื่อป้องกันรถไหล แต่ถ้าหากเกิดเบรกแตกให้กดปุ่มล็อกเบรกมือพร้อมดึงเบรกมือขึ้นลงติดต่อกันหลายครั้ง และห้ามดึงเบรกมือแรง ๆ ขณะที่ล้อหน้ากำลังหมุนวิ่งอยู่ เพราะจะทำให้ไม่สามารถบังคับทิศทางรถได้เป็นสาเหตุที่ทำให้รถเกิดพลิกคว่ำ เราควรชะลอความเร็วรถโดยค่อย ๆ ลดเกียร์ลงตามลำดับ จะช่วยให้รถหยุดได้อย่างปลอดภัย

เมื่อเราได้เรียนรู้ วิธีการดึงเบรกมือที่ถูกต้อง กันแล้วก็ควรปฏิบัติให้ถูกต้องและใช้ทุกครั้งเมื่อเจอกรณีดังกล่าว ไม่ว่าจะจอดรถสนิทบนที่จอดรถ หรือ จอดรอไฟแดง จอดรอบนทางลาด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่น่าจะเกิดได้เลย

การดึงเบรกมือ

และถ้าหากเกิดอุบัติเหตุแล้วหละก็อย่าลืมนึกถึงประกันภัยรถยนต์ที่ได้ทำไว้กันนะ ใครยังไม่ทำก็ขอแนะนำให้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้เลย เพราะจะช่วยคุณได้ทุกสถานการณ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ช่วยเคลียร์สถานการณ์ให้ได้ ซึ่งถ้าหากสนใจแต่ยังไม่มีข้อมูล สามารถติดต่อที่อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ได้

ความกลัว
มาเผชิญหน้ากับความกลัว สำหรับผู้หัดขี่มอเตอร์ไซค์มือใหม่!

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เชื่อได้เลยว่าเพื่อนๆ มือใหม่หลายๆ คนที่หลังจากหัดขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ไม่ว่าจะเป็นรถเล็กหรือรถใหญ่ ล้วนแล้วจะต้องมีเรื่องบางเรื่องที่ตัวเองกำลังกลัวอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าการขับขี่จริงๆ นั้น เราอาจจะหลีกเลี่ยงกับสิ่งที่เราไม่กล้า ไม่ถนัดได้ แต่ก็จะมีบางครั้งที่เราจำเป็นจะต้องเผชิญหน้ากับความกลัว ซึ่งในบทความนี้เรามีวิธีในการรับมือกับสิ่งที่เพื่อนๆ กลัวกันมาฝากครับ

กลัวเท้าไม่ถึงพื้น

ความกลัว

ไม่ต้องแปลกใจไปครับ เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติมาก เรามักจะพบกับคำถามที่เพื่อนๆ หลายๆ คนมักจะถามเข้ามาในแฟนเพจ ผมสูงเท่านี้จะขี่ตัวนี้ได้ไหม จะคร่อมตัวนั้นแล้วขาถึงหรือไม่ บอกเลยครับว่าถ้าเพื่อนๆไม่ใช่คนแคระ หรือว่าผิดปกติทางร่างกาย ยังไงมอเตอร์ไซค์ทุกคนเราสามารถคร่อมได้หมด โดยที่มันมีหลักการง่ายอยู่ไม่กี่ข้อครับ ยกตัวอย่างเช่น ชายสูง 160 เซนติเมตร ต้องการคร่อม Ducati Multistrada 1200 Enduro (โมเดลนี้ขึ้นชื่อเรื่องความสูงเบาะนั่งเป็นอย่างมาก) ซึ่งแน่นอนว่าเวลาจอดรถนั้น ขาของชายที่สูง 160 เซนติเมตร ไม่มีทางที่จะเอาเท้าแตะพื้นแบบเต็มฝ่าเท้าทั้งสองข้างได้อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่เราหลายๆ คนมักจะเห็นก็คือ เมื่อเท้าสองข้างแตะพื้นไม่ได้ขอแค่ปลายเท้าก็ยังดี เขย่งสองข้างไปเลย ซึ่งภาพที่คนอื่นมองมามันคงดูไม่งามเป็นอย่างมาก เรามีวิธีแก้ไขตรงนี้ให้ครับ หากเพื่อนๆ ต้องการจอดรถ ให้เพื่อนเลือกเท้าข้างซ้ายออกจากพักเท้า เท้าขวาแตะเบรกหลังไว้ สไลด์สะโพกไปยังฝั่งซ้าย โดยที่เท้าขวา ไม่หลุดออกจากแป้นเบรกหรือพักเท้า เพียงเท่านี้ เท้าของเพื่อนๆ ก็จะสามารถลงสู่พื้นได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ไม่ต้องเขย่งปลายเท้าอีกต่อไป เช่นเดียวกันกับการที่จะเปลี่ยนเกียร์ เราก็ใช้เท้าซ้ายที่แตะพื้นอยู่นั้น ดันตัวรถให้ตรง สไลด์สะโพกไปทางขวาตามแรงถีบจากเท้าซ้าย เตะเท้าขวาออกจากพักเท้า แตะพื้น ซึ่งในจังหวะเดียวกันนั้น เท้าซ้ายหลังจากที่ดันพื้นขึ้นมาแล้วก็ให้เก็บไว้ที่พักเท้าซ้ายอย่างรวดเร็ว เพียงเท่านี้เราก็ได้ท่าทางที่สง่างาม และก็ไม่ต้องกลัวว่าเท้าเราจะไม่ถึงพื้นอีกด้วย

กลัวการคร่อมรถที่สูงกว่า

ปัญหานี้จะเป็นปัญหาเริ่มต้นของคนตัวเล็กที่ต้องการขับขี่รถที่มีขนาดความสูงเบาะนั่งที่สูงกว่าขาของเรา ซึ่งหลายๆ มักจะใช้วิธีด้วยการ เตะวาดขาให้สูงที่สุดเพื่อให้พ้นเบาะนั่ง และคร่อมตัวเบาะนั่งไปเลย ซึ่งจะบอกว่าวิธีนี้ผิดหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าไม่ผิดครับ แต่ร่างกายของเพื่อนๆ ต้องแข็งแรงและมีความยึดหยุ่นที่สูงมาก เพราะมันเสี่ยงต่อการเป็นตะคริวที่สูงมาก แต่เรามีวิธีที่ง่ายกว่าและเซฟร่างกายของเราได้มากกว่า โดยวิธีแรกคือการตั้งขาตั้งรถไว้ในที่ที่มั่นคง จากนั้นใช้เท้าซ้ายเหยียบที่พักเท้าหน้าซ้าย มือสองข้างจับแฮนด์รถแล้วหันซ้ายหมดและมือขวากำเบรกหน้าให้พอดีๆ ไม่แน่นไม่หลวมจนเกินไป จากนั้นก็วาดขาขวาขึ้นตาม โดยเทน้ำหนักไปที่ฝั่งซ้ายของตัวรถ พอคร่อมรถได้ก็ให้เอาเท้าขวาวางบนพักเท้าขวาก่อน จากนั้นก็ให้ถ่ายน้ำหนักของตัวเองลงมาฝั่งขวา เพื่อให้ตัวรถเอียง จากนั้นให้ใช้เท้าขวาออกจากพักเท้าและแตะพื้น โดยที่สไลด์สะโพกไปยังฝั่งขวาของเบาะนั่งเพื่อช่วยยึดระยะของขาให้ยาวขึ้น พอเท้าขวาแตะพื้นได้ ก็ใช้ขาซ้ายในการเก็บขาตั้ง ท่าทางนี้จะช่วยลดการใช้กล้ามเนื้อจากการเตะขาสูงได้ และมีอีกหนึ่งท่าทางที่แอดวานซ์มากขึ้น โดยขั้นตอนแรก ให้ทำการเก็บขาตั้งให้เรียบร้อย เอียงรถเข้าหาตัวผู้ที่จะขึ้น แฮนด์หักเข้าหาตัวให้สุดจากนั้นเมื่อรถจะมีความสูงของเบาะนั่งที่เตี้ยลงทำให้เราสามารถวาดขาไม่ต้องสูงมากจนเกินไป พอเท้าเลยเบาะนั่งไปได้ก็ให้วางบนพักเท้าจากนั้นก็ให้ใช้หลักการจากข้อที่แล้ว ในการสลับเท้าเพื่อเข้าเกียร์ และเดินหน้าต่อไปครับ

กลัวหน้าหงาย

ความกลัว

เชื่อได้ว่าเพื่อนๆ มือใหม่ๆ หลายๆ คนต้องเคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งมันเกิดจากการที่เราเปิดคันเร่งผิดจังหวัง โดยเฉพาะเวลาที่เราออกตัว เมื่อเราบิดคันเร่งมากไป ร่างกายจะออกคำสั่งโดยอัตโนมัติให้เราเกร็งตัวต้านต่อแรงดึงที่เกิดจากการบิดคันเร่ง ซึ่งมันอาจจะไม่ส่งผลอะไรมากมายต่อการขับขี่ แต่มันทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นไบค์เกอร์ของเราเสียหายได้ ดังนั้นวิธีแก้ไขก็คือ เมื่อเราจะบิดคันเร่ง ไม่ว่าจะเมื่อไหร่ก็ตาม ให้เราโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยงอแขนและกางซอกออกด้านข้างเล็กน้อย เพียงเท่านั้น เราก็จะไม่เกิดอาการหน้าหงายอีกต่อไป อีกทั้งยังเป็นหลักการที่ถูกต้องในการขับขี่มอเตอร์ไซค์อีกด้วย

กลัวยูเทิร์น

เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มือใหม่หลายๆ คนกลัวกัน ตามหลักการของการขี่มอเตอร์ไซค์แล้วการกลับรถนั้นเราจะต้องเอียงตัวรถเข้าช่วยเพื่อให้เกิดวงเลี้ยวที่แคบ สังเกตได้จากการเข้าโค้งในแต่ล่ะครั้ง หาเราไม่เอียงตัวรถเลยรถจะไม่เข้าโค้งให้เรา แต่จะไปในทิศทางตรง ดังนั้นแล้วสิ่งที่เพื่อนๆ จะต้องฝึกก็คือการเจ้าโค้งแบบ Low Speed หรือโค้งความเร็วต่ำ ซึ่งต้องบอกว่าสิ่งนี้ไม่ยากและก็ไม่ง่ายจนเกินไป โดยมีองค์ประกอบสำคัญๆ ด้วยกัน 4 ส่วน 1.ท่าทางในการขับขี่ 2.การใช้เบรก 3.การใช้คันเร่ง 4.สายตา ยกตัวอย่างเช่นเราจำเป็นที่จะต้องยูเทิร์นขวาเพื่อกลับรถ เพื่อนๆ บางคนอาจจะใช้หลักการในการตีวงให้กว้างเพื่อจะเข้าที่แคบ ซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใด แต่ก็อยากให้ระวังรถที่อยู่ด้านหลังกันด้วย ซึ่งวิธีที่เราจะบอกนั้น คือการให้เราเอียงรถเข้าไปในโค้ง ขยับสะโพกเล็กน้อยตามไป ส่วนลำตัวให้ตั้งตรงขนาดกับพื้นไม่เอียงไปข้างใดข้างหน้า ห้ามใช้เบรกหน้าโดยเด็ดขาด แต่ให้แตะเบรกหลังเพื่อทรงตัว จากนั้นใช้สายตามองหาทางออกที่ปลอดภัย แล้วค่อยๆ เดินคันเร่งออกตัวไปอย่างช้าๆ พอพ้นยูเทิร์นไปได้ ก็ให้ตั้งรถตรงจากนั้นก็ปล่อยตัวตามสบายได้เลย ซึ่งทางนี้เป็นเหมือนกับท่าทางในการเข้าโค้งแบบ Lean Out นั่นเอง แต่ขอย้ำกันอีกครั้งนะครับว่าท่าทางนี้สามารถใช้ได้กับความเร็วต่ำเท่านั้น หากเพื่อนๆ ที่โปรแล้วจะใช้ความเร็วสูงขึ้นก็ได้ แต่ก็ระวังรถดีดกันด้วยนะครับ

กลัวการขับขี่ในขณะที่ฝนตก

สภาพอากาศในประเทศไทยนั้นเป็นเขตป่าร้อนชื้นที่มีฝนตกได้ ดังนั้นแล้วเราอาจจะหลีกเลี่ยงการขับขี่ในขณะที่ฝนตกได้ลำบาก ซึ่งเพื่อนๆ ทั้งมือใหม่และมือเก๋าแต่ล่ะคนก็น่าจะทราบกันดีถึงสภาพพื้นผิวถนนของประเทศไทยที่เรียกได้ว่า สนามเกรด FIM A+ ยังต้องอาย มันน่ากลัวแค่ไหนดังนั้นวิธีแก้ไขและรับมือการขับขี่ในขณะที่ฝนตกนั้น ไม่ยากเลยครับ แค่ขับให้ช้าลงเท่านั้นเอง เมื่อเราขับช้าลงเวลาในการตัดสินใจของเราก็จะมีมากขึ้น อีกทั้งร่างกายที่เหนื่อยล้าจากกิจกรรมต่างๆ ก่อนการขับขี่ หรือหลังจากการขับขี่เป็นระยะทางไกลๆ มาแล้ว ก็จะถูกใช้งานน้อยลง สมองก็จะสามารถสั่งการร่างกายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น หากเราสูญเสียจังหวะหรือการควบคุมในจังหวะความเร็วที่ไม่สูงมาก ก็อาจจะเกิดอาการไม่บาดเจ็บเลยหรืออาจจะเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็หาที่ร่มจอดหลบจนกว่าฝนจะหยุดก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้จอดในอุโมงค์ หรือทางลอด นะครับ เพราะนั้นเพื่อนๆ จะเหมือนเป็นเป้านิ่งให้กับคนที่ประมาท ที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของสิ่งที่มือใหม่หลายๆ คนรวมไปถึงมือเก่าที่มีประสบการณ์ในการขับขี่มอเตอร์ไซค์มาแล้วจะต้องพบเจอกัน ไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ เพียงแค่เพื่อนๆให้ความสำคัญกับมัน ใส่ใจ และหมั่นที่จะฝึกซ้อม รวมไปถึงเปิดใจในกาเรียนรู้สิ่งใหม่เข้าสู่ชีวิต แล้วการขับขี่ของเพื่อนๆ จะเปลี่ยนไปถ้าเพื่อนๆ มั่นใจในสกิลของตัวเองครับ

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา
ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ใกล้เข้าสู่ช่วงหน้าหนาวทีไร เหล่านักบิดหลายคนคงมีสถานที่ท่องเที่ยวในใจที่อยากไปสัมผัสธรรมชาติกันใช่ไหมล่ะ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภูเขาหรือดอยต่างๆ เพราะนอกจากจะได้ชมวิวทิวทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังได้สูดอากาศอันบริสุทธิ์อีกด้วย แต่ทว่าการขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขานั้น ก็ค่อนข้างอันตรายอยู่พอสมควร จึงจำเป็นที่ผู้ขับขี่ต้องมีความรู้ความชำนาญ  เลยมีเทคนิคดีๆ ในการขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากกัน ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าเส้นทางขึ้นเขา-ลงเขานั้นค่อนข้างอันตราย มีทั้งทางโค้งและทางลาดชัน ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์หรือผู้ขับขี่บิ๊กไบค์จึงควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ซึ่งเทคนิคในการขับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาที่เพื่อนๆ ควรรู้ มีดังต่อไปนี้

1. มีสติในการขับขี่

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักบิดมือใหม่ หรือนักบิดที่ชำนาญแล้ว ก็ควรต้องมีสติในการขับขี่อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบนเส้นทางที่ไม่คุ้นชิน เป็นทางโค้ง หรือทางลาดชัน โดยควรใช้สายตาสังเกตถนนหนทางว่าเป็นอย่างไร มีทางโค้งช่วงไหน ควรใช้ความเร็วเท่าไร เพื่อที่จะได้วางแผนและขับขี่ผ่านเส้นทางนั้นอย่างปลอดภัย

2. ใช้ความเร็วที่เหมาะสม

ในการขับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขานั้น ควรใช้ความเร็วที่เหมาะสม ไม่ควรใช้ความเร็วมากเกินไป เพราะต้องคำนึงถึงลักษณะเส้นทาง สภาพถนน สภาพอากาศ รวมถึงเรื่องการเบรกและน้ำหนักรถด้วย ซึ่งควรใช้ความเร็วที่ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่าขี่เร็วเกินไป เแต่ก็อย่าช้าจนความเร็วไม่สัมพันธ์กับเกียร์ เพราะจะทำให้รถไม่มีแรงขึ้นเขา

3. พยายามใช้เข่าหนีบตัวถังไว้

เพื่อการขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำว่าให้ใช้เข่าและช่วงต้นขาหนีบตัวถังเอาไว้ หรือที่เรียกว่า Knee Grip (สำหรับรถบิ๊กไบค์หรือรถที่มีถังน้ำมันด้านหน้า) โดยให้ช่วงต้นขาเป็นตัวจับยึดถังไว้ คล้ายกับเป็นที่ล็อคตัวโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ลำตัวอยู่แนบกับตัวรถ เพื่อใช้น้ำหนักตัวในการขยับและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกับรถ ซึ่งจะผ่อนแรงและช่วยถอนน้ำหนักที่กดเกร็งอยู่ตรงข้อมือ

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา

4. ใช้เกียร์ต่ำ

ขณะขึ้นเขาหรือลงเขาควรใช้เกียร์ต่ำ หรือไม่เกินเกียร์ 3 แต่หากรู้สึกว่ารถเริ่มไม่มีแรง ให้ลดเกียร์ต่ำลงมาอีก และไม่ควรบิดคันเร่งแรงจนเกินไป เพราะเมื่อเลยจุดที่ลาดชันมาแล้วรถจะเริ่มพุ่งแรง ส่วนการใช้เกียร์ต่ำในการลงเขานั้น จะทำให้รถเกิดแรงฉุดเพื่อให้วิ่งช้าลง จึงสามารถเบรกและเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ

5. เทตัวไปด้านหลัง และใช้ความเร็วที่พอดี

นอกจากนี้การเทตัวไปด้านหลัง หรือเลื่อนตัวบนเบาะให้ถอยไปทางด้านหลัง จะช่วยผ่อนน้ำหนักที่อยู่ด้านหน้ารถ ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ไม่เทน้ำหนักไปด้านหน้ารถมากเกินไปนั่นเอง

6. ดูถนนให้ดีๆ เวลาเข้าโค้ง

หากทางข้างหน้าเป็นทางโค้ง ให้ใช้สายตามองยาวเพื่อประเมินว่าโค้งเป็นแบบไหน เช่น โค้งกว้าง โค้งแคบ หรือโค้งหักศอก หากเป็นถนนสองเลน ให้ขี่มอเตอร์ไซค์ชิดซ้ายไว้ และดูให้ดีๆ ว่ามีรถสวนมาหรือเปล่า หากมีรถอีกฝั่งแซงมาในทางโค้งจะได้หลบหลีกทัน นอกจากนี้ควรค่อยๆ เบรกไปด้วยเพื่อชะลอความเร็ว แต่ห้ามแตะเบรกแช่เด็ดขาด

7. ห้ามแตะเบรกแช่ไว้

สำหรับการขี่มอเตอร์ไซค์ลงเขา หากเป็นรถมอเตอร์ไซค์แบบมีเกียร์ให้ใช้เกียร์ต่ำเพื่อเป็นแรงฉุดในการชะลอความเร็ว แต่ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ออโต้ ให้ค่อยๆ แตะเบรกและบิดคันเร่งเล็กน้อย พอให้รู้สึกว่ารถเริ่มมีแรงดึง หรือเกิด Engine Brake แล้วค่อยๆ ใช้เบรกหน้าสลับกับเบรกหลังทีละนิด อย่ากำเบรกเยอะ และอย่าเบรกแช่ไว้ เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่ ทางที่ดีควรเบรกเฉพาะช่วงที่จำเป็น ให้ยังพอเหลือแรงฉุดรถได้อยู่

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา

และนี่ก็คือ เทคนิคขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขา อย่างไรให้ปลอดภัย ที่มาสินำมาฝากกัน หากใครที่มีแพลนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดด้วยรถมอเตอร์ไซค์หรือรถบิ๊กไบค์ละก็ ขอให้ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท โดยเฉพาะใครที่ต้องผ่านเส้นทางขึ้นเขา-ลงเขา ก็อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันด้วยนะ แต่หากใครที่อยากเพิ่มความอุ่นใจสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครประกันมอเตอร์ไซค์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ

แตรรถยนต์
รวมวิธีใช้แตรรถยนต์อย่างไร…ให้ถูกวิธี

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

แตรรถยนต์ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ช่วยลดอุบัติเหตุได้ แต่ก็ยังมีคนที่มีความเชื่อว่าการใช้แตรรถยนต์บนท้องถนนเป็นสิ่งที่เสียมารยาท และไม่ควรทำ สมัยนี้ไม่รู้ว่าอากาศร้อนเกินไปหรือว่าอะไร คนจึงหัวร้อนกันง่ายสุดๆ เรามักจะเห็นข่าวตามทีวีกันเป็นประจำเกี่ยวกับการกระทบกระทั่งกันเพราะการใช้แตรรถยนต์ เรียกได้ว่าเกือบถึงขั้นลงไม้ลงมือกันเลยแหละ ลองตามจิ๊บไปดูกันเลยดีกว่าว่าเราจะใช้แตรรถยนต์อย่างไรให้ถูกวิธี

มารู้จักเสียงแตรรถยนต์กันก่อนเถอะ!

แตรรถยนต์

1. “ปื๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด” เสียงแตรรถยนต์ที่บีบแบบเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่องหลายครั้ง

การบีบแตรรถยนต์ในลักษณะกดเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่อง จะเป็นเหมือนการทักทาย Say Hi กัน เช่น เราจอดรถติดไฟแดง แล้วเจอเพื่อนจอดรถติดไฟแดงอยู่ข้างเราเหมือนกัน เราจึงบีบแตรแบบสั้นๆ ต่อเนื่องเพื่อทักทายอารมณ์ประมาณว่า “เห้ยแกรรรร ฉันอยู่นี่ มองฉันสิ”

แตรรถยนต์

2. “ปิ๊ด” เสียงบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ

การบีบแตรรถยนต์แบบสั้นๆ เบาๆ ส่วนใหญ่จะหมายถึงการบีบเตือน เพื่อให้คนรอบข้าง หรือรถคันอื่นระวัง เช่น เราขับรถมาแล้วมีสุนัขนอนขวางทาง เราก็จะบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ เพื่อเตือนสุนัขว่า “รถฉันมาแล้ว ถ้าไม่อยากโดนทับ หลีกทางเดี๋ยวนี้นะ”

แตรรถยนต์

3. “ปี๊ดดด” เสียงบีบแตรแบบยาว และมีเสียงดัง

เสียงแตรรถยนต์แบบนี้ให้ความรู้สึกเป็นการเตือนเช่นกัน แต่จะเป็นการส่งสัญญาณเตือนแบบมีอารมณ์มากกว่าข้อ 2 อารมณ์ประมาณว่า “คุณจะหยุดรถนานอะไรนักหนา มันไฟเขียวแล้วแกรรร มัวทำอะไรอยู่ รีบไปสักทีสิ!” สาเหตุที่ต้องส่งสัญญาณบีบแตรในลักษณะนี้ก็เพื่อเตือนให้เค้ารู้ตัว เพราะบางทีเค้าอาจจะเหม่อลอย หรือลืมอยู่ก็ได้

แตรรถยนต์

4. “ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด” เสียงบีบแตรแบบดังๆ ยาวๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง

การบีบแตรแบบนี้ให้ความรู้สึกประมาณว่า “วันนี้ฉันรีบโว๊ยยยย มัวทำอะไรอยู่ เร็วๆ หน่อยสิ” ถือเป็นอาการหัวร้อนระดับ 1 ละกันเนาะ การบีบแตรในลักษณะนี้ถ้าหลีกเลี่ยงได้ไม่ควรทำเด็ดขาด ก็เพราะไอเสียงแตรแบบปี๊ดดดดดดดดยาวๆ ต่อเนื่องแบบนี้อ่ะแหละที่ทำให้คนวางมวยกัน

5. “ปี๊ดดดดดดดดดด” เสียงบีบแตรยาวแบบต่อเนื่อง

การบีบแตรรถด้วยเสียงปี๊ดดดดดดดด ถือเป็นอาการหัวร้อนขั้นสูงสุดเลยแหละ ให้ความรู้สึกว่าฉันไม่พอใจคุณอย่างรุนแรง โกรธมาก โมโหมาก! ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือนการตะโกนด่ากันต่อหน้าอ่ะ หากใครจะใช้สัญญาณแตรแบบนี้ ก็เตรียมเผื่อใจไว้ก่อนนิดนึงนะ เพราะอาจจะมีเรื่องมีราวได้ บอกได้คำเดียวว่าเกี้ยวกราดสุดๆ!

ใช้แตรรถยนต์อย่างไร ให้ถูกวิธี

1. ใช้เสียงแตรให้เหมาะสม

โดยเสียงแตรต้องไม่ผ่านการดัดแปลง หากใช้เสียงแตรรถยนต์ที่ดังเกินไป อาจทำให้รถยนต์คันอื่นตกใจ ขวัญผวา จนเป็นเหตุนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

2. หากไม่อยากเกิดปัญหากระทบกระทั่งกัน

ควรบีบแตรรถยนต์ในลักษณะแบบสั้นๆ ไม่บีบแตรแบบดังและยาวเกินไป ก็ใจเขาใจเราอ่ะเนาะ ไม่มีใครชอบให้คนอื่นบีบแตรใส่เราหรอก

3. เวลาขับรถสวนทางกันผ่านโค้งหักศอก

หรือบริเวณมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ที่สวนทางมาได้ ก็ให้ใช้สัญญาณแตรรถ เพื่อเป็นการบอกรถคันที่กำลังจะสวนทางมาว่ามีรถอยู่ตรงนี้นะ เค้าจะได้ระมัดระวังมากขึ้น

4. หากพบป้ายห้ามใช้แตรรถยนต์

หรือห้ามใช้เสียงในบริเวณดังกล่าว ผู้ขับขี่รถควรหลีกเลี่ยงการบีบแตรรถด้วย เช่น เขตพระราชฐาน หรือโรงพยาบาล

5. หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น

เช่น โดนชิงทรัพย์ มีคนบาดเจ็บในรถยนต์ ผู้ขับขี่สามารถใช้สัญญาณแตรแบบเสียงดังและลากยาวได้ เพื่อขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

จะเห็นได้ว่าการใช้แตรรถยนต์ไม่ได้เป็นสิ่งที่เสียมารยาทเลยสักนิด เพราะถือเป็นสัญญาณเตือนที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ดี โดยผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ หากเราไม่ชอบให้ใครมาบีบแตรเสียงดังใส่เรา เราก็ไม่ควรไปบีบแตรเสียงดังใส่เค้าก่อน นิดๆ หน่อยๆ ก็ให้อภัยกันเหอะเนาะ พวกเราทุกคนจะได้ขับขี่บนท้องถนนกันอย่างปลอดภัยนะจิ๊บ

วิธีนั่งขับรถ
4 วิธีนั่งขับรถยังไงไม่ให้ปวดหลัง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693


ปัญหาหนึ่งที่คนนั่งหลังพวงมาลัยนานๆ จะพบเจอกันก็คือ อาการปวดหลัง เส้นทางที่ยาวไกลนั้นไม่ใช่อุปสรรค แค่ความเมื่อยล้านี่แหละที่ทำให้หลายคนเบื่อหน่ายกับการขับรถทางไกล แล้วยิ่งใครที่ใช้รถมากๆ ยิ่งนานวันก็จะยิ่งปวดเมื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะร่างกายนั้นไม่ชอบที่จะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ และถ้าเป็นท่าทางที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกายก็ยิ่งไม่ดีเข้าไปอีก เช่น ก้มหน้ามากไป หลังงอมากไป เป็นต้น อีกทั้งการใช้สายตาจนเกิดความเมื่อยล้า มันจะค่อยๆ สะสมความเครียดและมีผลต่ออาการเกร็งกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างการขับรถทั้งหมดเลย ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มแก้ที่ปรับท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องเสียก่อน

วิธีนั่งขับรถ

1. ปรับระยะนั่ง


ปัญหาหนึ่งที่คนนั่งหลังพวงมาลัยนานๆ จะพบเจอกันก็คือ อาการปวดหลัง เส้นทางที่ยาวไกลนั้นไม่ใช่อุปสรรค แค่ความเมื่อยล้านี่แหละที่ทำให้หลายคนเบื่อหน่ายกับการขับรถทางไกล แล้วยิ่งใครที่ใช้รถมากๆ ยิ่งนานวันก็จะยิ่งปวดเมื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะร่างกายนั้นไม่ชอบที่จะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ และถ้าเป็นท่าทางที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกายก็ยิ่งไม่ดีเข้าไปอีก เช่น ก้มหน้ามากไป หลังงอมากไป เป็นต้น อีกทั้งการใช้สายตาจนเกิดความเมื่อยล้า มันจะค่อยๆ สะสมความเครียดและมีผลต่ออาการเกร็งกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างการขับรถทั้งหมดเลย ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มแก้ที่ปรับท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องเสียก่อน

2.ปรับความสูงต่ำของเบาะ

คนที่ไม่สูงนักก็มักจะต้องปรับเบาะให้สูงขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะนั่งไปแล้วมองไม่เห็นถนนข้างหน้า แต่คนตัวสูงมักจะละเลยที่จะปรับเบาะขึ้นลง ทั้งที่ความจริงระยะความสูงของเบาะค่อนข้างสำคัญ เพราะมีผลโดยตรงต่อแผ่นหลัง ระดับที่ไม่พอดีหลังเราจะโค้งงอ จนปวดหลังในที่สุด

3. ปรับมุมของพวงมาลัย

พวงมาลัยที่ตั้งมุมสูงกว่าธรรมชาติของร่างกาย จะทำให้เราเกร็งช่วงคอ บ่าและไหล่ แถมยังทำให้บังคับรถได้ไม่สะดวก ต้องเอื้อม ต้องขยับในบางจังหวะ ให้ปรับพวงมาลัยให้อยู่ในตำแหน่งที่เราจะถือพวงมาลัยได้ด้วยความรู้สึกสบายในช่วงเวลานาน

4. ปรับกระจกข้างและกระจกหลัง

 กระจกเป็นจุดที่เราต้องมองดูอยู่เป็นระยะตลอดการขับขี่ ดังนั้นถ้าจะดูทีไรก็ต้องยืดหรือหดตัว เอียงศีรษะหรือโยกตัวไปมา มันจะสะสมความเมื่อยล้าให้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แถมยังอาจจะทำให้เกิดจุดบอดที่มองไม่เห็น อุบัติเหตุก็จะเกิดได้ง่ายขึ้นด้วย

หลักการสำคัญทั้งหมดก็คือ ปรับทุกอย่างที่อยู่ในรถให้สอดคล้องกับร่างกาย อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป และเมื่อต้องขับรถทางไกล ต่อให้ไม่รู้สึกเมื่อยก็ต้องมีช่วงพักเป็นระยะ พักทั้งรถและพักทั้งตัวเรา อาจจอดแวะตามปั๊ม ร้านอาหาร จุดท่องเที่ยว เพื่อออกจากรถแล้วไปเดินยืดเส้นยืดสายเสียบ้าง ก็จะลดอาการปวดหลังจากการขับรถลงได้

มุมอับ
5 มุมอับที่บดบังวิสัยทัศน์

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ในการขับขี่รถ ทัศนวิสัยหรือการมองเห็นในระหว่างการขับรถถือเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความสำคัญและเพิ่มความระมัดระวังในจุดอับที่จะบดบังการมองเห็นสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ โดยจุดอับที่ควรระมัดระวังมีดังต่อไปนี้

5 มุมอับที่บดบังวิสัยทัศน์ในการมองเห็น

1.จุดอับหน้ารถ

 บริเวณหน้ารถจะมีจุดอับ คือ เสาเอ ซึ่งเป็นมุมระหว่างกระจกหน้ารถกับระจกข้างรถ ในรถยนต์บางยี่ห้ออาจจะมีเสาเอ ขนาดเล็กและใหญ่แตกต่างกัน ซึ่งเสาเอเป็นโครงสร้างรถยนต์ที่จำเป็นต้องมี เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่ควรให้ความระมัดระวังให้มาก เพราะเสาเอ อาจจะบดบังรถจักรยานยนต์คันนึงได้เลยทีเดียว

2.จุดอับบริเวณกระจกมองข้าง

สำหรับคนที่ใช้รถเป็นประจำอยู่แล้วจะมีการปรับมุมมองระดับของกระจกมองข้างไว้อยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ใช้รถคันอื่นผู้ขับขี่ควรจะปรับกระจกมองข้างให้ได้ระดับสายตาตนเองก่อนที่จะทำการขับรถออกไป การปรับควรปรับไม่ให้ใกล้ด้านตัวรถ หรือไกลจากตัวรถมากจนเกินไป กระจกข้างมีความสำคัญในการแซงรถคันหน้า หรือถอยหลังเข้าที่จอดรถ การปรับที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดอุบัติขึ้นได้

3.กระจกมองหลัง

หลักการปรับกระจกมองหลังจะคล้ายกับการปรับกระจกมองข้าง ซึ่งต้องปรับให้อยู่ในระดับของผู้ขับขี่คนนั้นๆ ดังนั้นผู้ขับขี่ควรปรับให้อยู่ในระดับเหมาะสมก่อนขับเช่นกัน

มุมอับ

4.การขับรถตามรถบรรทุกขนาดใหญ่

 เช่น รถพ่วง รถขนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งรถจำพวกนี้จะมีความยาวของตัวรถมาก ทำให้บังการมองเห็นรถที่สวนทางได้ โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการจะขับแซงรถบรรทุกเหล่านี้ควรแซงในถนนที่เป็นเส้นตรงที่สามารถมองเห็นได้เป็นระยะทางยาวๆ เท่านั้น ถ้าไม่อยู่ในจุดที่เห็นได้ชัดไม่ควรแซงเพราะโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูง ที่สำคัญถ้าต้องขับตามควรเว้นระยะให้ห่างมากพอสมควร เพื่อลดการเบรคกระทันหันหรือถ้าของที่บรรทุกหล่นลงมาจะได้หลบทัน

5.จุดอับที่เกิดจากสภาพถนน

เช่น ทางโค้งหรือ ถนนที่ขึ้นลงเขา ผ่านบริเวณอุทยานแห่งชาติหรือป่า ซึ่งไม่สามารถตัดถนนในแนวตรงได้ ผู้ขับขี่สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ความเร็วต่ำในการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นถนนที่คดเคี้ยวและลาดชันในเวลาเดียวกัน ควรใช้เกียร์ต่ำในการขับขี่เพื่อลดการทำงานของผ้าเบรคร่วมด้วย

จากจุดอับที่ได้กล่าวมา 5 หัวข้อนี้ ในความเป็นจริง สภาพอากาศ การขับรถในเวลามืดหรือสถานที่ที่ไม่มีไฟทาง หรือเส้นทางที่ไม่เคยไป ไม่คุ้นหรือรู้จักสภาพเส้นทาง ก็สามารถทำให้ถนนปกติเป็นถนนที่มีจุดอับได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจุดอับหรือจุดที่มองเห็นได้ชัดเจน การขับขี่ด้วยความระมัดระวังใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดจะช่วยลดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงลงได้

เลี้ยวเข้าโค้ง
เลี้ยวเข้าโค้งยังไงให้ปลอดภัย มือใหม่หัดขับต้องรู้

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

ช่วงหน้าฝนถนนลื่นจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าโค้ง หากเร็วเกินไปก็อาจหลุดโค้งไถลออกนอกถนน วันนี้เรามีเทคนิคการเลี้ยวเข้าเลี้ยวเข้าโค้งยังไงให้ปลอดภัยมาฝาก

เลี้ยวเข้าโค้ง

เลี้ยวเข้าโค้งยังไงให้ปลอดภัย มือใหม่หัดขับต้องรู้

การขับรถไปตามทางคดเคี้ยว ท่องเที่ยวตามเกาะ หรือบนยอดดอยที่มีภูเขาสูงๆ คงหนีไม่พ้นต้องเจอทางโค้งเลี้ยวหลายโค้ง บางโค้งก็กว้าง บางโค้งก็แคบ แทบจะเลี้ยวกันไม่ทัน ถ้าเจอทางโค้งจะขับอย่างไร โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับไปดูกันเลย

เลี้ยวเข้าโค้ง

1.ท่านั่ง นั่งและจับพวงมาลัยให้ถูกวิธี ไม่จับพวงมาลัยมือเดียวเพราะหากจับพวงมาลัยมือเดียว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอาจแก้ไขไม่ทันการณ์ และควรควบคุมพวงมาลัย หรือประคองพวงมาลัยให้สัมพันธ์กับความเร็ว จะช่วยให้รถวิ่งอยู่ในเลนอย่างมั่นคง

2.เปลี่ยนเลน ในการเปลี่ยนเลนให้อยู่ชิดกับส่วนนอกสุดของโค้ง คือถ้าจะเข้าโค้งเลี้ยวขวาให้เปลี่ยนเลนมาอยู่ด้านซ้ายสุด แต่ถ้าหากจะเลี้ยวเข้าโค้งซ้ายก็ให้เปลี่ยนเลนมาอยู่ด้านขวาสุด เพื่อให้เลี้ยวในทางโค้งได้เยอะ ไม่ข้ามไปเลนตรงกันข้าม และหลีกเลี่ยงการแซงทางโค้ง

3.เร่งเครื่องยนต์ ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ความเร็วสูงในขณะเข้าโค้ง จะส่งผลให้หมุนพวงมาลัยไม่สอดคล้องกับทางโค้ง เหยียบคันเร่งได้ เมื่อกำลังผ่านจุดยอดของโค้ง เมื่อกำลังจะผ่านจุดยอดของโค้งด้านในไปอย่างมั่นคง สามารถแตะคันเร่งได้เบาๆ เพื่อรักษาความเร็วระหว่างเลี้ยวเข้าโค้ง โดยที่เหยียบคันเร่งเบาๆ ให้พอรู้สึกว่ายังสามารถควบคุมพวงมาลัยรถได้ไม่เสียหลัก แต่ถ้าหากเหยียบคันเร่งแล้วรู้สึกว่าสูญเสียการควบคุม ให้ถอนคันเร่งออกแล้วแตะเบรกเบาๆ จนรู้สึกว่ากลับมาควบคุมรถได้

4.การใช้เบรก ขณะเข้าโค้งไม่ควรเบรกแรง ให้แตะเบรกและชะลอรถตอนเลี้ยว โดยเข้าโค้งด้วยความเร็วต่ำ ไม่หักพวงมาลัยกะทันหัน และเมื่อพ้นโค้งจึงค่อยๆ เร่งเครื่อง ให้ชะลอรถลงระหว่างเข้าโค้งจนรู้สึกว่าขับขี่ปลอดภัยและสามารถควบคุมทุกอย่างได้ แต่ถ้าหากเข้าโค้งเร็วเกินไปอาจทำให้รถสูญเสียการทรงตัวหรือพลิกคว่ำได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฝนตกถนนลื่น

แนะนำว่าถ้าจะออกเดินทางไปไหนไม่ว่าใกล้ หรือไกล ควรตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง โดยเฉพาะช่วงล่างและยาง ทำให้มั่นใจในการขับขี่และการเข้าโค้ง

ขับรถยนต์ทางลาดชัน
เทคนิคการขับรถยนต์ทางลาดชัน บนภูเขา

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

เมื่อจะเริ่มเข้าหน้าหนาว เราก็มักจะไปเที่ยวภาคเหนือ เพื่อไปสัมผัสอากาศหนาวกัน ถ้ายิ่งต้องการหนาวมาก ก็ต้องขึ้นที่สูงมาก ทางขึ้นเขา ก็จะมีความชันมาก หากไม่ทราบเทคนิคการขับบนทางลาดชันนั้น อาจจะทำให้เบรค หรือครัชไหม้ได้นะครับ

ใช้เกียร์ต่ำ

เมื่อต้องวิ่งทางลาดชัน ไม่ว่าจะขึ้น หรือลงทางลาด ให้ใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดาให้ใช้เพียงแค่เกียร์ 1 หรือ 2 หากเป็นเกียร์ออโต้ ให้ใช้ตำแหน่งเกียร์ เป็น D2,D3,S,L (ขึ้นอยู่กับรุ่น และยี่ห้อของรถ) ซึ่งหากเป็นทางขึ้น จะช่วยให้รถมีแรงขึ้นทางชันได้ดี แต่หาเป็นทางลงช่วยให้ลดชะลอความเร็วรถลงได้

ขับรถยนต์ทางลาดชัน

ห้ามใช้เกียร์ว่าง หรือดับเครื่องยนต์วิ่ง

เมื่อรถลงเขา รถจะไหลลงเร็วมาก หากเราใช้เกียร์ว่าง ซึ่งทำให้เครื่องไม่มีแรงดึงเลย จะทำให้ควบคุมรถได้ยาก อันตรายมากครับ

ห้ามเหยียบเบรคหรือคลัชตลอดเวลา

เพราะการเหยียบเบรคหรือคลัชตลอดเวลานั้น จะทำให้ผ้าเบรคหรือคลัชร้อนมากจนไหม้ได้ เป็นเหตุทำให้เบรคไม่อยู่ได้ครับ อันตรายมาก วิธีที่ถูกต้องคือ ใช้เกียร์ต่ำๆ และมีการแตะเบรคช่วยเป็นระยะๆ

คำนวณระยะเบรกดีๆ

เนื่องจาก หากเราจะเบรคในทางที่ชันมาก จะมีน้ำหนักของรถมาถ่วงด้วย ทำให้ระยะเบรคของเราไกลขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น เราไม่ควรขับเร็ว และเผื่อระยะเบรคไว้ให้มากกว่าในทางลาดปรกติด้วยนะครับ

เร่งเครื่องให้สม่ำเสมอ

หากเป็นทางขึ้นเขา เราควรเหยียบคันเร่ง ให้สม่ำเสมอ เพราะหากว่า เราเร่งๆ หยุดๆ จะทำให้กำลังรถเสียไปและไหลลงมาได้ครับ

ขับชิดด้านซ้าย และห้ามแซง

เนื่องจากทางขึ้น-ลงเขาส่วนใหญ่มักเป็นทางคดเคี้ยวเพื่อลดความชันของถนน จึงอาจจะทำให้เรามองไม่เห็นรถที่สวนทางมาได้ หรือแม้กระทั่ง ทางตรง ตอนที่เราแซง เราต้องทำความเร็วเพื่อแซง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ให้ขับชิดด้านซ้าย และห้ามแซงบนทางลาดชันเลยนะครับ อันตรายมากครับ

ทริคขับขี่มอเตอร์ไซค์
9 ทริคขับขี่มอเตอร์ไซค์ สอนขับรถศรีสะเกษ

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

1 . ใช้เบรกเพื่อเข้าโค้งอย่างปลอดภัย

คนส่วนใหญ่อาจเข้าโค้งด้วยวิธีผิดๆ อย่าง การกำคลัทช์เข้าโค้ง หรือการใช้ความเร็วสูงแล้วไปเบรกหัวทิ่มเอาทีหลัง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ แถมยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ไบค์ต้องแหกโค้งกันมานักต่อนักแล้ว

เราขอแนะนำให้เข้าโค้งโดยกะความเร็วให้เหมาะสม ประกอบกับการแตะเบรกหน้าเบาๆ เป็นระยะๆ เพื่อประคองรถไม่ให้หลุดโค้ง แถมยังเป็นการสร้างแรงกดลงไปที่โช้คและยางหน้า ช่วยในการควบคุมทิศทางและไม่ทำให้รถสูญเสียความเร็วมากอีกด้วย

แต่ถึงอย่างไร เทคนิคนี้ก็ยังมีข้อระวังอยู่พอสมควร ทั้งเรื่องของสภาพยางที่ใช้งาน การยุบตัวของโช้ค รวมถึงการสร้างความเคยชินเกี่ยวกับความเร็วในการเข้าโค้งต่างๆ ทางที่ดีควรเริ่มฝึกซ้อมในสนามก่อน เพราถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาบนท้องถนนแล้ว คงอันตรายถึงชีวิตอย่างแน่นอน

ทริคขับขี่มอเตอร์ไซค์

2 . บิดคันเร่งช่วยลดเกียร์ได้นุ่มนวลขึ้น

กบิดส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับการลดความเร็ว โดยการปล่อยคันเร่ง แตะเบรก กำคลัทช์ แล้วค่อยๆ ลดเกียร์ลงใช่ไหมละครับ? ซึ่งคุณอาจพบปัญหารถสะดุดอยู่บ้าง หากทำการปล่อยคลัทช์ไม่นุ่มนวลมากพอ เราจึงขอแนะนำทริกง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณลดเกียร์ได้อย่างนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น

สามารถทำได้โดยการเติมคันเร่งเบาๆ หลังจากที่ทำการลดเกียร์และกำลังจะปล่อยคลัทช์ เพราะการเร่งรอบเครื่องให้สัมพันธ์กับความเร็ว เป็นการช่วยให้เครื่องยนต์ไม่สะดุด หรือชะลอตัวอย่างกระทันหันนั่นเอง

3. สังเกตความแคบของโค้ง

เมื่อพบกับโค้งที่ไม่มีป้ายสัญลักษณ์ใดๆ เราจำเป็นต้องกะระยะของโค้งด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการเตรียมเลือกใช้เกียร์และความเร็วให้เหมาะสมกับโค้งนั้นๆ

เราสามารถสังเกตโค้งได้โดยการมองไปที่สุดปลายโค้ง หากสังเกตเห็นว่าปลายโค้งมีการหุบแคบหมายความว่าเป็นโค้งที่แคบและควรใช้ความเร็วต่ำ แต่ถ้าเห็นว่าปลายโค้งดูเหมือนขยายออก หมายความว่าเป็นโค้งที่กว้างและสามารถใช้ความเร็วสูงได้นั่นเอง

4. ขึ้นเกียร์โดยไม่กำคลัทช์

ทริคนี้จะช่วยในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว และทำให้คุณขึ้นเกียร์ได้อย่างนุ่มนวลยิ่งขึ้น

ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยการเร่งความเร็วไปจนถึงจุดที่ต้องการขึ้นเกียร์ ทำการผ่อนคันเร่งลงเล็กน้อย แล้วใช้เท้างัดเกียร์ขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเกียร์เข้าที่คุณสามารถเร่งเครื่องขับต่อไปได้ทันที

เทคนิคนี้จะช่วยเรื่องความสะดวกได้มาก แต่ก็ยังมีข้อควรระวังที่จำเป็นต้องรู้ คือคุณสามารถทำได้เมื่อต้องการขึ้นเกียร์เท่านั้น ห้ามใช้กับการลดเกียร์โดยเด็ดขาด! แถมยังไม่ควรใช้ในการขึ้นเกียร์ 1 เป็นเกียร์ 2 อีกด้วย

5. มองไปยังทิศทางที่ต้องการจะไป

ดยปกติเราจะขับรถไปในทิศทางที่สายตาของเรากำลังเหลียวมอง หากคุณพบสิ่งกีดขวางหรือต้องการขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านที่แคบๆ ให้คุณมองทางที่ต้องการขับไปเป็นหลัก อย่ามองตรงที่เส้นขอบฟ้าหรือรถคันอื่นๆ เพราะอย่างที่เราได้บอกไป รถคุณจะเคลื่อนที่ไปตามสายตาของคุณเสมอ

ทริคขับขี่มอเตอร์ไซค์

6. หักแฮนด์เพื่อช่วยเลี้ยว

เทคนิคนี้ทำได้โดยการกระตุกแฮนด์ไปด้านตรงข้ามกับทิศทางที่คุณต้องการเลี้ยว เพื่อให้รถเอียงไปในทิศทางที่ต้องการเล็กน้อย ก่อนคืนแฮนด์ไปยังทิศทางที่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเลี้ยวขวา ให้หักแฮนด์ไปทางซ้ายเล็กน้อย เมื่อรถคุณเริ่มทิ้งตัวลงไปทางขวา ก็ให้รีบคืนแฮนด์ตรงทันที

แต่การจะใช้ทริคนี้บนท้องถนน คุณจำเป็นต้องระวังเรื่องสิ่งกีดขวาง รวมถึงรถคันอื่นๆ ให้ดีด้วยละ ถ้าไปเฉี่ยวชนกับอะไรเข้าจะแย่เอานะ

7. ใช้หัวเข่าหนีบรถไว้

โดยปกติเวลาที่เราขี่มอเตอร์ไซค์ น้ำหนักจะถูกถ่ายลงไปที่มือ ก้น และเท้า แต่ถ้าหากเกิดการเบรกอย่างกระทันหันขึ้นมาแล้วละก็ มีโอกาสไม่น้อยที่ “น้องกระปู๋” ของเรา อาจไปกระแทกกับถังน้ำมันจนเป็นอันตรายได้

ทางที่ดีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ตาม เราควรเอาเข่าหนีบถังน้ำมันไว้ก่อน เพื่อเป็นการป้องกันน้องกระปู๋ ให้อยู่รอดปลอดภัย

8. ใช้เบรกอย่างถูกต้อง

การใช้เบรกหน้าถือเป็นการหยุดรถอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่ไม่น้อย ซึ่งคุณไบค์เกอร์หน้าเก่าหน้าใหม่ ล้วนจำเป็นต้องรู้เทคนิคการใช้เบรกง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณเบรกได้นุ่มนวลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ใช้เพียงนิ้วชี้กับนิ้วกลางในการกำเบรก เพื่อเหลือนิ้วอื่นๆ ไว้ทำหน้าที่คุมรถต่อไป
เมื่อคุณต้องขับขี่ซอกแซกในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยรถติด ให้ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางพาดก้านเบรกไว้เสมอ เพื่อช่วยให้คุณเบรกได้อย่างรวดเร็วและนุ่มนวล
กำเบรกทีละน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้คุณกะระยะเบรกได้ง่ายดาย แถมยังเป็นการป้องกันล้อล็อคกระทันหัน เนื่องจากการกำเบรกอย่างรุนแรงอีกด้วย

ทริคขับขี่มอเตอร์ไซค์

9. ใช้สัญชาตญาณของตัวเอง

“สัญชาตญาณ” เป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกต่อหรือแนะนำกันได้ง่ายๆ แถมยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการขี่มอเตอร์ไซค์มาก เพราะถึงแม้คุณจะมีเทคนิคดีสักแค่ไหน ก็คงใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์อยู่ดีนั่นละ

การใช้สัญชาตญาณและสติปัญญาในการตัดสินใจอย่างกระทันหัน จึงเป็นสิ่งที่ไบค์เกอร์ทุกคนควรมี และควรเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเองอย่างถึงที่สุุด

มือใหม่หัดขับ
มือใหม่หัดขับรถยนต์ ควรเริ่มต้นอย่างไรดี

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

 สำหรับการเริ่มต้นการขับรถครั้งแรก สำหรับมือใหม่อาจจะมองว่าเป็นเรื่องยาก จนมักจะมีหลาย ๆ คำถามตามมา เช่น จะหัดขับรถด้วยตัวเองได้ไหม ให้คนที่ขับรถเป็นอยู่แล้วมาสอนได้หรือเปล่า หรือต้องไปเรียน ไปเข้าคอร์สตามโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เขานิยมกัน หรือควรไปฝึกขับรถที่ไหนดี แน่นอนว่าคำถามทั้งหมดนั้นอาจจะชี้ชัดลงไปไม่ได้ว่า คำตอบข้อไหนจะถูกต้องมากที่สุด แต่หากเป็นมือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ การหัดขับรถด้วยตัวเองอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป จนทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ง่าย ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรทุกอย่างย่อมมีจุดเริ่มต้นเสมอ วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ มาฝากกันว่า มือใหม่หัดขับรถยนต์ ควรเริ่มต้นอย่างไรดี

มาดู 4 เทคนิคเริ่มต้นสำหรับมือใหม่หัดขับ

 คนที่พึ่งซื้อรถคันแรก หรือพึ่งเริ่มหัดขับรถยนต์ครั้งแรก จะใช้เวลาในการขับรถเป็นได้เร็วช้าต่างกัน บางคนเรียนรู้เพียงไม่กี่วัน ก็สามารถขับออกถนนใหญ่ได้แล้ว แต่สำหรับบางคนก็อาจจะใช้เวลานานกว่านั้น เพราะการหัดขับรถยนต์ไม่ใช่ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ยังต้องมีการฝึกฝนปฏิบัติให้มีความชำนาญด้วย เรามารู้จักเทคนิคเริ่มต้นสำหรับมือใหม่หัดขับกันเลยดีกว่า

1. ทำความรู้จักกับรถให้ดีก่อน

มือใหม่หัดขับ

แน่นอนว่าการหัดขับรถ ปัจจัยสำคัญก็คือรถยนต์นั่นเอง หากเราไม่คุ้นเคย หรือรู้จักกับรถยนต์ไม่ดีพอ โอกาสที่จะขับรถเป็นก็จะยิ่งช้าลงไปนั่นเอง ก่อนอื่นต้องรู้ว่ารถยนต์มีระบบการทำงานแบบไหน อุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ใช้งานอย่างไร อยู่ตำแหน่งไหนบ้าง ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเหล่านี้ให้ดี ก่อนจะทดลองหัดขับจริง เช่น ตำแหน่งคันเร่ง เบรก ระบบควบคุม ฝึกขับรถเกียร์ธรรมดา หรือเกียร์ออโต้ ปรับเบาะที่นั่งให้อยู่ในตำแหน่งที่นั่งสบาย ปรับกระจกให้มองทัศนวิสัยได้ชัดเจน เพราะในสถานการณ์จริง ๆ ยิ่งรู้จักรถดีมากเท่าไหร่ ก็จะรับมือกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ดีขึ้นเท่านั้น

2. เริ่มจากหัดขับในซอย หรือลานโล่งกว้างๆ

มือใหม่หัดขับ

สำหรับมือใหม่จริง ๆ การหัดขับบนถนนที่มีรถวิ่งพลุกพล่านนั้น เป็นเรื่องที่ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งเลย เพราะหากตกใจหรือพลาดพลั้งขึ้นมา จะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเอง และคนรอบข้างเอาง่าย ๆ ทางที่ดีอย่าเสี่ยงจะดีกว่า ควรหัดขับตามซอย หรือถนนที่มีรถน้อยที่สุด หรือหากเป็นไปได้เลือกลานกว้าง ๆ ไม่มีรถสัญจรได้ยิ่งดี ตั้งสติให้ดีก่อนสตาร์ท ลองขับไปข้างหน้าช้า ๆ ปล่อยให้รถไหลไปเป็นแนวตรง เพื่อให้คุ้นกับจังหวะรถ พยายามทำความคุ้นเคยกับมุมมองทางกระจก หรือมุมอื่น ๆ ว่ามองเห็นได้ทั่วถึงหรือไม่ แล้วค่อย ๆ ฝึกเลี้ยวซ้ายขวา พร้อมเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว ฝึกจอดให้ตรงจุดที่กำหนด เมื่อเริ่มคุ้นเคยมาก ๆ ค่อยหาถนนในซอยลองขับ

3. ไปเรียนโรงเรียนสอนขับรถยนต์

มือใหม่หัดขับ

หากถามว่าอยากหัดขับรถให้เป็นเร็ว ๆ ไปฝึกขับรถที่ไหนดี ก็คงต้องบอกว่า การไปเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถยนต์ชั้นนำ ก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีเช่นกัน เพราะบางครั้งการหัดขับด้วยการสอนจากคนกันเองจะมีความเกรงใจกัน และมีความไม่เป็นมืออาชีพ ข้อดีของการไปเรียนขับรถยนต์ก็คือเหมือนได้ขับบนถนนจริง ๆ ที่มีกฎจราจรให้เรียนรู้ มีรถคันอื่นให้ฝึกแซง มีทางแคบมีทางโค้งให้ฝึกควบคุมพวงมาลัยจนมีความชำนาญ เพราะหากออกถนนจริงอาจจะต้องเจอกับสถานการณ์ต่าง ๆ มากมาย

4. มีสติและมีความมั่นใจในตัวเอง

มือใหม่หัดขับ

 เทคนิคข้อนี้อยู่ในทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว และจะขาดไปไม่ได้เลยก็คือต้องมีสติสมาธิ โดยเฉพาะกับมือใหม่หัดขับ เพราะการขับรถต้องมีการตัดสินใจที่ดี ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ไม่ตกใจง่าย ดังนั้น หากยิ่งมีความมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดขับ หรือมือเก่าขับรถมานานแล้วก็ตาม ซึ่งการมีสตินั้นรวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน ก็จะช่วยให้ขับรถดีขึ้นอย่างแน่นอน

สิ่งที่อยากบอกมือใหม่หัดขับก็คือ การหัดขับรถนั้นไม่จำเป็นต้องรีบร้อนให้ขับเป็นไว ๆ ควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้ขับรถออกถนนด้วยความมั่นใจ แต่ถ้าอยากมีความมั่นใจในการขับขี่เพิ่มมากขึ้นไปอีก