Search for:
ขั้นตอนทำใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL
ขั้นตอนทำใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL

ขั้นตอนในการทำใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL

สำหรับการขอมีใบขับขี่ใหม่ และ การต่อใบขับขี่ มี 3 ประเภทดังนี้

1. การขอใบขับขี่ใหม่ เมื่อทำแล้วจะได้ใบขับขี่แบบชนิดชั่วคราว

2. การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล เปลี่ยนจากแบบชนิดชั่วคราว 2 ปี มาเป็นชนิด 5 ปี

3. การต่ออายุใบขับขี่รถส่วนบุคคล จากแบบชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี

 

การเตรียมตัวก่อนเข้าไปทำใบขับขี่ หรือต่อใบขับขี่

ผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการขอใบขับขี่ใหม่ หรือ ต่ออายุใบขับขี่ จะต้องจองคิวไว้ก่อน ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue  เพื่อเป็นการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่

1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับใบขับขี่รถยนต์

    – มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์  สำหรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ไม่เกิน 110 ซีซี

    – มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สำหรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่จำกัดซีซี

2. มีความรู้ความสามารถในการขับรถ

3. มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

4. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้

5. ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ

6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

7. ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว

8. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมหลักฐานประกอบคำขอ

1. บัตรประชาชนฉบับจริง

2. ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน ที่แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

ขั้นตอนที่ 3 : ต้องจองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue
ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ ที่สำนักงานขนส่งฯ พร้อมจองคิวอบรม

ขั้นตอนที่ 5 : ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย

การทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ คือการทดสอบว่าตาของเราไม่บอดสีนั่นเอง

การทดสอบสายตาทางลึก ซึ่งเป็นความสามารถในการกะระยะวัตถุ กะระยะเวลาจอดรถหรือระยะห่างจากคันข้างนอก

การทดสอบสายตาทางกว้าง คือการทดสอบความสามารถในการมองตั้งแต่หางตาซ้ายจรดหางตาขวา

การทดสอบปฏิกิริยาเท้า เป็นการทดสอบความสามารถในการเบรก โดยจะมีสัญญาณไฟจราจร และเบรกจำลอง และให้แตะเบรกทันทีที่สัญญาณไฟเป็นสีแดง

ขั้นตอนที่ 6 : อบรม

การอบรมจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎจรจาจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จะนำไปใช้ในการทดสอบในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 7 : ทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam)

ดยข้อสอบจะมีทั้งหมด 50 ข้อ และต้องทำให้ถูกต้องถึง 45 ข้อ ดังนั้นหากทำผิดเกิน 5 ข้อก็จะสอบไม่ผ่าน และต้องกลับมาสอบใหม่ภายใน 90 วัน หากเลยกำหนด หรือยังสอบไม่ผ่าน ก็จะต้องจองคิวสอบใหม่

ขั้นตอนที่ 8 : ทดสอบขับรถ

การทดสอบขับรถยนต์จะมีท่าทดสอบ ดังนี้

ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดระเทียบทางเท้า

ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง

ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย

ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด

ท่าที่ 5 การกลับรถ

ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก

ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

การทดสอบขับรถจักรยานยนต์จะมีท่าทดสอบ ดังนี้

ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

ท่าที่ 2 การขับรถทางตัวบนทางแคบ

ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัว Z

ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัว S

ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

ขั้นตอนที่ 9 : ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบอนุญาต / ชำระค่าบริการใบขับขี่

ที่มา : กรมการขนส่งทางบก

10 ข้อที่มือใหม่หัดขับรถต้องฟัง!
มือใหม่หัดขับรถต้องฟัง

10 ข้อที่มือใหม่หัดขับรถต้องฟัง!

มือใหม่หัดขับรถควร ระมัดระวังให้เป็นพิเศษ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคุณ มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. มารยาทบนท้องถนนควรรู้
มารยาทในการขับขี่นั้นสำคัญและสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ เมื่อขับรถนานๆ จะสามารถซึมซับธรรมชาติของการขับรถบนท้องถนนได้ แต่จะดีกว่าถ้าคุณเรียนรู้มันเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ยกตัวอย่างเช่น
– เมื่อขับรถอยู่ในทางโทต้องให้ทางเอกไปก่อน
– ขับช้าควรอยู่ชิดซ้าย
– เมื่ออยู่เลนขวา หากมีรถเร็วกว่าขับมาควรหลบให้แซง
– ไม่ขับจี้ท้ายจนเกินไป
– รักษาเลนของตัวเองเวลาเลี้ยว
สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ และป้องกันการกระทบกระทั่งกันบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นควรจะพยายามจำมารยาทในการขับรถกันเอาไว้ให้ดีนะ

2. ในกรณีขับจี้ท้ายระวังชนไม่รู้ตัว
ระยะห่างระหว่างรถตัวเองกับคันข้างหน้านั้นสำคัญมาก หากเกิดกรณีที่ต้องเบรกกระทันหันขึ้นมา จะทำให้มั่นใจได้ว่ารถของเราจะไม่ไปกระแทกเข้ากับรถยนต์คันข้างหน้า ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี และถ้าเกิดกรณีการชนท้ายขึ้น คุณอาจจะกลายเป็นฝ่ายผิดจนต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับอีกฝ่ายได้

ดังนั้นในทางที่ดีควรเว้นระยะห่างจากรถคันข้างหน้าเอาไว้เพื่อเป็นระยะปลอดภัยสำหรับกรณีฉุกเฉิน โดยระยะห่างที่ดีที่ควรเว้นไว้จากคันข้างหน้าคือ อย่างน้อย 5 เมตรต่ออัตราเร็ว 10 กม. / ชม. หรือหมายความว่า ขณะคุณขับรถที่อัตราเร็ว 50 กม. / ชม. ก็ควรเว้นเอาไว้อย่างน้อย 25 เมตรนั่นเอง

3. ถอยหลังต้องคล่อง
แม้จะเป็นมือใหม่ที่เพิ่งหัดขับรถ แต่การขับรถบนท้องถนนตามปกตินั้นไม่ได้ยาก แต่ส่วนที่ยากนั้นก็คือการถอยหลังนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการถอยหลังเข้าจอด ถอยหลังเข้าซอง หรือถอยหลังออกจากซอย ก็มีหลายๆ คนที่พลาดจนเกิดอุบัติเหตุกันบ่อยครั้ง

แต่การถอยหลังนั้นคุณสามารถฝึกได้ โดยจุดสำคัญอยู่ที่สติ คุณต้องตั้งใจให้ดีว่าขณะถอยหลังพวงมาลัยของคุณจะหักไปทางไหน และต้องไม่ใจร้อน ค่อยๆ ทำการเรียนรู้และฝึกให้ชิน ไม่นานคุณก็จะสามารถถอยหลังได้โดยคล่อง

4. ไฟเลี้ยวต้องห้ามลืม
“เปิดไฟเลี้ยวก่อนที่จะเริ่มเลี้ยวอย่างน้อย 30 เมตร” เป็นสิ่งที่คุณต้องจำเอาไว้ให้ขึ้นใจ ผู้ที่หัดขับรถหลายคนอาจไม่ชินกับการใช้นิ้วเปิดปิดไฟเลี้ยว ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นต้องเตือนสติตัวเอง เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งให้ติดเป็นนิสัย

5. มองกระจกให้บ่อย
บ่อยครั้งที่มือใหม่หัดขับรถทั้งหลายทำการเปลี่ยนเลนขับรถโดยไม่ได้มองกระจกซ้ายขวา และข้างหลังให้ดีก่อน สุดท้ายก็จบลงที่การเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการมองกระจกนั้นถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการขับรถบนท้องถนน แต่ด้วยความมองยากของกระจกที่อยู่ไกลออกไป ทำให้หลายๆ คนไม่ใส่ใจ โดยเฉพาะเหล่ามือใหม่หัดขับรถที่ยังไม่ชิน

แนะนำว่าขณะขับรถให้พยายามมองกระจกบ่อยๆ จนติดเป็นนิสัย จะทำให้ความปลอดภัยในการขับรถของเราเพิ่มขึ้นอีกมากเลยทีเดียว

6. มุมอับสายตาต้องระวัง
อย่างที่รู้กันดีว่าภายในรถยนต์จะมีจุดอับสายตาในบางมุม สำหรับผู้ที่ขับรถเป็นประจำจะระมัดระวังในส่วนนี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับมือใหม่นั้นจะขาดความรอบคอบในส่วนนี้ ทำให้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นของเหล่าผู้ที่หัดขับรถส่วนมากเกิดจากการเฉี่ยวชนที่มุมอับ

ปัญหาในเรื่องของจุดอับสายตานั้นแก้ได้ค่อนข้างยาก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการเปิดไฟเลี้ยว และขับช้าๆ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าไม่มีรถคันอื่นอยู่ในจุดอับสายตาอย่างแน่นอน หลังจากนั้นจึงค่อยทำการเลี้ยว

7. ฝึกใช้สัญญาณเตือนให้เป็น
เนื่องจากการที่ไม่สามารถพูดคุยกับรถคันอื่นบนท้องถนนได้ การบีบแตร และการกระพริบไฟสูงนั้นเป็นเหมือนการสื่อสารเจรจากันอย่างง่ายๆ บนท้องถนน ซึ่งจะใช้ในกรณีอย่างเช่น การขอทาง เพื่อเป็นสัญญาณเตือนในมุมอับให้รถอีกคันที่มองไม่เห็นเรา เป็นต้น

โดยปกติแล้วเราสามารถใช้ได้ทั้งเสียงแตร และการกระพริบไฟสูง แต่การบีบแตรนั้นก็มีข้อจำกัดห้ามใช้ในบางสถานที่ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และวัด เพราะฉะนั้นพยายามใช้เพียงการกะพริบไฟสูง และใช้แตรให้น้อยที่สุดดีกว่าครับ

8. สติกเกอร์มือใหม่ ใช้ได้ไม่ต้ออาย
มือใหม่หัดขับรถหลายคนไม่กล้าที่จะติดสติกเกอร์มือใหม่หัดขับเอาไว้ที่รถ เนื่องจากรู้สึกเขินอาย แต่เงินติดล้อแนะนำว่าให้ติดเอาไว้จะดีที่สุด

เพราะสติกเกอร์มือใหม่หัดขับนั้นเป็นสัญลักษณ์เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่คนอื่นรู้ว่า เราคือมือใหม่ที่ยังขับรถไม่คล่อง ซึ่งรถคันอื่นจะทิ้งระยะห่างเอาไว้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากความไม่ชินด้านการขับขี่ของคุณด้วย

9. รู้จักกำลังของตัวเอง
อย่าฝืนขับรถตอนกลางคืนเด็ดขาดหากรู้ว่าตัวเองยังขับรถไม่คล่อง ซึงนั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องพึงระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้แล้วในตอนกลางคืนนั้นรถส่วนใหญ่จะขับกันค่อนข้างเร็ว จึงไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับรถเป็นอย่างยิ่ง

10. การรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
สถานการณ์บนท้องถนนนั้นเป็นอะไรที่ยากจะคาดเดา แม้จะขับอย่างระมัดระวังเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การตั้งสติรับมือกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นให้ทันท่วงที หากมีผู้บาดเจ็บให้รีบติดต่อเรียกรถพยาบาล หรือถ้าเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ก็รีบติดต่อกับประกันภัยให้เร็วที่สุด สำหรับมือใหม่หัดขับรถ

วันนี้ NumberOne Drive School โรงเรียนสอนขับรถจะมาแนะนำเทคนิคการขับรถสำหรับมือใหม่
มือใหม่กับการขับรถครั้งแรก

วันนี้ NumberOne Drive School โรงเรียนสอนขับรถจะมาแนะนำเทคนิคการขับรถสำหรับมือใหม่หัดขับให้ได้รับรู้และเพื่อเป็นการสำรวจความพร้อมของตนเองก่อนขับและจับพวงมาลัยจริงๆกัน

1. ท่านั่งที่มีความผ่อนคลายและมั่นใจ
สิ่งแรกที่เมื่อก้าวเท้าขึ้นรถคือการนั่ง ผู้ขับขี่จำเป็นจะต้องจัดระเบียบท่านั่งของตนเองให้เหมาะสมและมีความมั่นใจในการขับรถมากที่สุด โดยสำรวจดูจากการยืดขาให้สามารถบังคับแป้นเบรคและคันเร่งได้อย่างถนัด และการยืดแขนให้มีระยะพอดีกับพวงมาลัยและปุ่มควบคุมในส่วนต่างๆของรถยนต์ได้เหมาะสมอีกด้วย

2. ความสบาย
การขับรถคือการที่ผู้ขับขี่จะต้องใช้ระยะเวลาในการนั่งอยู่บนเบาะในรถยนต์เป็นเวลานานๆ บางครั้งอาจใช้เวลามากกว่าที่คิดเนื่องจากการจราจรที่ติดขัด ดังนั้นการปรับเบาะเอนหลัง ระดับความสูงต่ำของเบาะ ความแอ่นของเบาะที่บางครั้งต้องหาหมอนมารองเพื่อรองรับกระดูกสันหลัง ปัจจัยดังกล่าวก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน

3. เรียนรู้การใช้งานปุ่มควบคุมในส่วนต่างๆให้มีคล่องตัวที่สุด
เนื่องด้วยเมื่อเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าเช่นฝนตกหนักกลางทางก็จำเป็นต้องรู้วิธีการเปิดก้านปัดน้ำฝนให้เหมาะสมกับความแรงของน้ำฝน ซึ่งปกติรถทั่วไปจะมีให้เลือกอยู่ 3 ระดับด้วยกัน และอีกหนึ่งปัจจัยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุอย่างได้ผลก็คือความเคยชิน เพราะโดยมาตรฐานแล้ว ผู้ขับขี่ไม่ควรละสายตาจากท้องถนน ดังนั้นความสามารถในการควบคุมปุ่มต่างๆได้อย่างคล่องแคล่วจึงจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนให้มีความคุ้นเคยและชำนาญให้มากที่สุด

4. มีความรู้ระบบเครื่องยนต์และสัญลักษณ์บนหน้าปัด
จุดนี้เองที่ใครหลายคนละเลยไม่ใส่ใจพอเกิดเหตุคับขันขึ้นก็สายเกินกว่าจะแก้ไข เนื่องจากระบบต่างๆในรถยนต์หนึ่งคัน วิศวกรยานยนต์ได้มีการคิดค้นขึ้นมาอย่างดี ซึ่งการทำงานต่างๆจะต้องประสานกันอย่างดี ดังนั้นหน้าปัดรถยนต์คือหนึ่งในส่วนแจ้งเตือนที่ดีที่สุด ผู้ขับขี่ควรมีความรู้เรื่องสัญญาณและสัญลักษณ์ต่างๆที่ปรากฏบนหน้าปัดรถยนต์และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

5. ภายนอกรถยนต์
ปัญหาต่อไปนี้อาจพบได้กับผู้ขับขี่ที่เป็นสุภาพสตรีโดยส่วนใหญ่อย่างเช่น การเข้าจอดในหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผิดด้าน ความร้อนของเครื่องยนต์ขึ้นสูงผิดปกติ น้ำยาฉีดกระจกหมด ระดับน้ำมันเครื่องยนต์ และอื่นๆ ดังนั้นนอกจากการขับขี่และการควบคุมระบบภายในรถยนต์แล้ว การตรวจเช็คระบบภายนอกรถยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะทำให้ผู้ขับขี่สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและมีความมั่นใจในทุกครั้งของการขับขี่