Search for:
“กรมขนส่ง” เผยข้อกำหนด 11 ข้อ คุมเข้มจักรยานยนต์เดลิเวอรี่ ยันหากผู้ขับขี่-ผู้ประกอบการธุรกิจฝ่าฝืนมีโทษโดนปรับ 1,000 บาท.

สำหรับข้อกำหนดในการขนส่งอาหารและพัสดุของกลุ่มจักรยานยนต์เดลิเวอรี่

👉1.ผู้ขับรถ ต้องมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ที่ยังไม่สิ้นอายุ ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต

👉2.ไม่เป็นบุคคลที่เป็นอันตรายต่อสังคม เช่น มีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับลักทรัพย์ ฉ้อโกง หรือติดยาเสพติด

👉3.ผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งข้อมูลประกอบการและพนักงานให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)

👉4.ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีระบบการตรวจสอบ

👉5.ผู้ประกอบการุรกิจมีส่วนรับผิดชอบหากผู้ขับรถกระทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของบุคคลอื่น

👉6.มีการอบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขับขี่ การให้บริการขนส่งอย่างปลอดภัย

👉7. มีมาตรการป้องกันการขนส่งสิ่งของผิดกฎหมายและการจัดการเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน ในส่วนของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต้องไม่เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดหรือทำผิดกฎจราจร

👉8. กล่องหรืออุปกรณ์ที่นำมาบรรจุสินค้าต้องไม่มีส่วนแหลมคม สันคมหรือขรุขระ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ขับขี่เองหรือผู้ใช้รถใช้ถนนอื่น

👉9.สำหรับขนาดที่เหมาะสม หากเป็นกล่องที่ติดตั้งด้านท้าย ต้องมีขนาดความกว้างไม่เกิน 60 เซนติเมตร ความยาวไม่เกิน 60 เซนติเมตร ซึ่งจะยื่นเกินส่วนท้ายสุดของรถได้ไม่เกิน 30 เซนติเมตร ส่วนความสูงต้องไม่เกิน 70 เซนติเมตร หากเป็นกล่องติดตั้งด้านข้าง ความกว้างจากขอบซ้ายถึงขอบขวาต้องไม่เกิน 90 เซนติเมตร กรณีรถที่มีความกว้างเกิน 90 เซนติเมตร ให้มีความกว้างสูงสุดได้ไม่เกิน 110 เซนติเมตร

👉10. การติดตั้งต้องยึดตรึงมั่นคงแข็งแรง อยู่ในแนวสมมาตรตามแนวกึ่งกลางของตัวรถ

👉11.ไม่บดบังทัศนวิสัย ไม่บดบังการให้แสงสว่างของอุปกรณ์ส่องสว่างและแสงสัญญาณใดๆ ของรถ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการขับขี่อย่างปลอดภัย.ทั้งนี้หากผู้ขับขี่และผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวตรวจสอบกล่องหรืออุปกรณ์บรรจุสินค้าให้มีขนาดและการติดตั้งตามที่กำหนดก่อนกฎหมายจะมีผลใช้บังคับ เพื่อไม่ให้มีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งจะมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท

…ที่มา กรมการขนส่งทางบก

#กรมขนส่ง#Numberonedrive

ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง ด้วยหลักการ BE WAGON

ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง 👨‍🔧ด้วยหลักการ BE WAGON ประกอบด้วย

👉B Breakตรวจสอบระบบเบรคว่ายังใช้งานได้ดีด้วยการทดลองเหยียบเบรคเมื่อเริ่มขับในระยะ 3 – 5 เมตรแรกตรวจสอบผ้าเบรก และเปลี่ยนเมื่อมีความหนาน้อยกว่า 4 มิลลิเมตร หรือเปลี่ยนทุกๆ 25,000 กิโลเมตร

👉E Electricityตรวจระบบไฟของรถยนต์ทั้งหมด ได้แก่ ระบบไฟส่องสว่าง ไฟสูง ไฟต่ำ ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟเบรคตรวจระบบแบตเตอรี่ ซึ่งควรมีสายพ่วงแบตเตอรี่ติดรถไว้เสมอ รวมทั้งตรวจระบบแตรและที่ปัดน้ำฝนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน

👉W Waterตรวจสอบระดับน้ำในถังพักน้ำสำรองให้อยู่ระดับสูงสุดและตรวจสอบระดับน้ำในถังน้ำล้างกระจกตรวจเช็คสภาพและระดับน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งสามารถทดสอบหม้อน้ำรั่วได้ง่ายๆ ด้วยการค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อย โดยเว้นช่วงการเติมแต่ละครั้งประมาณ 5 นาที ถ้าหากระดับน้ำไม่เพิ่มขึ้น ต้องรีบนำรถส่งซ่อมทันที

👉A Airตรวจเช็คลมยางและดอกยางโดยดอกไม่ควรลึกน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรและยางควรมีอายุไม่เกิน 5 ปีนับจากวันผลิต โดยไม่ควรบรรทุกของหนักบนรถเกินความจำเป็นหรือขับรถด้วยความเร็วสูงจนเกินไป เพราะจะเป็นตัวเร่งให้ยางเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ตรวจเติมน้ำยาแอร์และเช็คแอร์ทุก 3 เดือน หรือทุก 5,000 กิโลเมตร ตรวจสอบควันดำโดยติดเครื่องรถยนต์ในเกียร์ว่างอยู่กับที่อย่างน้อย 5 นาทีและปิดระบบปรับอากาศ แล้วทำการเร่งเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วจนสุดคันเร่งค้างไว้ 2 – 3 วินาที ทำซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง หากพบว่ามีควันดำมากเกินไปต้องรีบแก้ไข เพราะควันดำมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของรถในส่วนต่างๆ

👉G Gasolineตรวจเช็คสภาพของไส้กรองพร้อมกับถังน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

👉 O Oilตรวจเช็คน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำมันคลัทช์และน้ำมันเฟืองท้ายให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ลองมองหาว่าใต้ท้องรถมีรอยรั่วซึมหรือไม่ ทั้งนี้ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องก่อนเดินทางไกลทุกครั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขับขี่

👉N – Noiseตรวจเสียงดังของเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย และส่วนต่างๆ ของรถยนต์ว่าดังผิดปกติหรือไม่ เพราะเสียงถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่เกิดขึ้น

โรงเรียนสอนขับรถ นัมเบอร์วันไดร์ฟ กันทรลักษ์
โรงเรียนสอนขับรถ กรมการขนส่งทางบก มีมาตรฐานอย่างไร

โรงเรียนสอนขับรถ กรมการขนส่งทางบก มีมาตรฐานอย่างไร

โรงเรียนสอนขับรถ โดยการรับรองจากขนส่งทางบก คืออะไร

    หลายท่านอาจทราบแล้วว่าปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้โรงเรียนสอนขับรถเอกชนสามารถดำเนินการสอนขับรถและสอบใบขับขี่ได้ที่โรงเรียนเรามาดูกัน ว่ามาตราฐานที่กรมขนส่งกำหนดมีอะไรบ้าง(หลักสูกสอนขับรถยนต์)

โรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

++ อาคารสถานที่ต้องมีขนาดเหมาะสมกับการรับรอง การอํานวยความสะดวกและการรับสมัคร ผู้เรียนขับรถ ซึ่งต้องประกอบด้วยห้องทําการ ห้องสุขา และห้องเรียนภาคทฤษฎีที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 ตารางเมตร แยกเป็นสัดส่วน มีสภาพเหมาะสมแก่การเรียนการสอน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีเสียงดังจนเป็นที่รบกวนต่อการเรียนการสอน
++ มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ซึ่งสามารถทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ตามที่กรมการขนส่งทางบกกําหนด
++ มีเครื่องทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam) ตามที่กรมการขนส่งทางบกกําหนด หรือให้ความเห็นชอบ
++ มีอุปกรณ์สําหรับควบคุมกํากับดูแลการเรียนการสอนและการทดสอบอย่างน้อย ดังนี้
+ เครื่องอ่านข้อมูลบัตรประจําตัวประชาชนที่สามารถใช้งานกับระบบงานโรงเรียนสอนขับรถ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom) ได้
+ เครื่องสแกนลายนิ้วมือที่สามารถใช้งานกับระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom) ได้
+ กล้องวงจรปิดในห้องทดสอบข้อเขียนที่สามารถมองเห็นได้ทั่วห้อง และสามารถเก็บข้อมูล ไว้สําหรับการตรวจสอบได้อย่างน้อย 1 ปี
++ ผู้ฝึกสอนขับรถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ จากกรมการขนส่งทางบก
++ มีรถสําหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่มีลักษณะ ดังนี้
+ เป็นรถยนต์ที่สามารถใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และ ส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกําหนด
+ มีกระจกมองหลังติดตั้งภายในรถทางด้านซ้ายสําหรับผู้ฝึกสอน ขนาดความยาว ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เซนติเมตร จํานวน 1 อัน และมีกระจกมองข้างทาง ด้านซ้ายติดตั้งภายนอกรถสําหรับให้ผู้ฝึกสอนที่สามารถให้ผู้ฝึกสอนมองเห็นรถทางด้านซ้ายของตัวรถ เพื่อความปลอดภัย จํานวน 1 อัน
+ มีแป้นเบรกสําหรับผู้ฝึกสอน จํานวน 1 ชุด
+ มีแผ่นป้าย “ฝึกหัดขับ” พื้นสีขาวตัวอักษรสีแดง ขนาดความยาว 30 เซนติเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ติดตั้งในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ของตัวรถ
++ สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกําหนดหรือ ให้ความเห็นชอบ ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
+ ทางลาดชันหรือสะพาน ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้ง ๙๐ องศา วงเวียน
+ บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า การขับรถเดินหน้าและ ถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ การหยุดรถและออกรถบนทางลาด การถอยหลังเพื่อกลับรถ การฝึกหัดขับรถ คอร์สรูปตัวแอล
+ เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
+ ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕ ตารางเมตร

ข้อปฏิบัติของโรงเรียนสอนขับรถ
++ จัดให้มีการเรียนการสอนและการอบรมตามหลักสูตรในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่กรมการขนส่ง ทางบกกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ
++ จัดให้มีผู้ฝึกสอนขับรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกตรงตามประเภทหลักสูตรการสอน ของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรอง
++ ควบคุม กํากับ ดูแลให้ผู้ฝึกสอนขับรถสอนตรงตามประเภทหลักสูตรที่ได้รับอนุญาต
++ แสดงหนังสือรับรองไว้ในที่เปิดเผย สามารถมองเห็นได้ง่ายภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
++ จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่ง ทางบกกําหนด
++ ใช้ระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom) ในทุกกระบวนการดําเนินงาน
++ บันทึกรายการรถฝึกหัดขับและรายชื่อผู้ฝึกสอนขับรถผ่านระบบงานโรงเรียนสอนขับรถ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom) ก่อนเปิดดําเนินการโรงเรียนสอนขับรถหรือก่อนการเปลี่ยนแปลงรถฝึกหัดขับ และผู้ฝึกสอนขับรถ แล้วแต่กรณี
++ ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองได้รับสิทธิทําการทดสอบข้อเขียนหรือทดสอบขับรถ ต้องจัด ให้มีการทดสอบผู้เข้ารับการอบรมและควบคุมการทดสอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกําหนด
++ ดูแลและปรับปรุงอาคารสถานที่ อุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ รถสําหรับใช้ในการฝึกหัดขับ และสนามฝึกหัดขับรถให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้ดีอยู่เสมอ
++ จัดเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกําหนด 
สอดส่อง ดูแลผู้ฝึกสอนขับรถมิให้กระทําการในลักษณะไม่สมควร หรือไม่เหมาะสมกับผู้เข้ารับ การอบรมในขณะปฏิบัติหน้าที่
++ ไม่ใช้ถ้อยคําชวนเชื่อหรือโฆษณาอันมีลักษณะชักชวนหรือจูงใจจนเกินความจริง 
++ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ได้รับการรับรองให้ดําเนินการโรงเรียนสอนขับรถ

สัญญลักษณ์ (LOGO) ของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับหนังสือรับรอง

***สุดท้ายนี้ผมเชื่อมั่นว่า สิ่งที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดมาตรฐานโรงเรียนสอนขับรถมาเพื่อให้ผู้เรียนขับรถได้รับการฝึกหัดขับรถได้ถูกต้องและปลอดภัย***

ที่มา : ระเบียบกรมการส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ.2561

เรียบเรียงเพื่อให้ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลโรงเรียนสอนขับรถโดยย่อ : ธณากร เจรืญสุข