ถูกเรียกตรวจแอลกอฮอล์แต่ไม่ยอมเป่า ยุคนี่ยังถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่?

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693

จากกรณีอุบัติเหตุรถเบนท์ลีย์เฉี่ยวชนรถปาเจโร่และรถอาสาดับเพลิงบนทางด่วนเฉลิมมหานคร ก่อนที่คนขับรถเบนท์ลีย์จะอ้างว่ามีอาการเจ็บหน้าอก ไม่สามารถเป่าวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ณ จุดเกิดเหตุได้นั้น กรณีเช่นนี้ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?

ปัจจุบันการฝ่าฝืนไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ มีความผิดข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2542 มาตรา 142 วรรคสอง ในกรณีที่เจ้าพนักงานเห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ หรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่ โดยบทกำหนดโทษเป็นไปตาม มาตรา 154 (3) ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 142 วรรคสอง ต้องระวางปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท

 นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นขับขี่รถในขณะเมาสุรา แม้ไม่ยอมทดสอบก็ตาม โดย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2542 มาตรา 142 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากผู้น้ันยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้น้ันฝ่าฝืน มาตรา 43 (2)

ตรวจแอลกอฮอล์

กรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่จะมีความผิดในข้อหาขับขี่รถในขณะเมาสุรา ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2542 มาตรา 43 (2) ซึ่งห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ดังนั้น หากผู้ขับขี่ถูกเรียกตรวจปริมาณแอลกอฮอล์แต่ฝ่าฝืนไม่ยอมเป่า ก็จะเข้าข่ายความผิดข้อหาเมาแล้วขับแม้ว่าจะไม่เป่าก็ตาม อาจรับโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุก รวมถึงถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบขับขี่อีกด้วย