ขั้นตอนทำใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL

ขั้นตอนในการทำใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL

สำหรับการขอมีใบขับขี่ใหม่ และ การต่อใบขับขี่ มี 3 ประเภทดังนี้

1. การขอใบขับขี่ใหม่ เมื่อทำแล้วจะได้ใบขับขี่แบบชนิดชั่วคราว

2. การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล เปลี่ยนจากแบบชนิดชั่วคราว 2 ปี มาเป็นชนิด 5 ปี

3. การต่ออายุใบขับขี่รถส่วนบุคคล จากแบบชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี

 

การเตรียมตัวก่อนเข้าไปทำใบขับขี่ หรือต่อใบขับขี่

ผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการขอใบขับขี่ใหม่ หรือ ต่ออายุใบขับขี่ จะต้องจองคิวไว้ก่อน ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue  เพื่อเป็นการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่

1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับใบขับขี่รถยนต์

    – มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์  สำหรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ไม่เกิน 110 ซีซี

    – มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สำหรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่จำกัดซีซี

2. มีความรู้ความสามารถในการขับรถ

3. มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

4. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้

5. ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ

6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

7. ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว

8. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมหลักฐานประกอบคำขอ

1. บัตรประชาชนฉบับจริง

2. ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน ที่แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

ขั้นตอนที่ 3 : ต้องจองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue
ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ ที่สำนักงานขนส่งฯ พร้อมจองคิวอบรม

ขั้นตอนที่ 5 : ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย

การทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ คือการทดสอบว่าตาของเราไม่บอดสีนั่นเอง

การทดสอบสายตาทางลึก ซึ่งเป็นความสามารถในการกะระยะวัตถุ กะระยะเวลาจอดรถหรือระยะห่างจากคันข้างนอก

การทดสอบสายตาทางกว้าง คือการทดสอบความสามารถในการมองตั้งแต่หางตาซ้ายจรดหางตาขวา

การทดสอบปฏิกิริยาเท้า เป็นการทดสอบความสามารถในการเบรก โดยจะมีสัญญาณไฟจราจร และเบรกจำลอง และให้แตะเบรกทันทีที่สัญญาณไฟเป็นสีแดง

ขั้นตอนที่ 6 : อบรม

การอบรมจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎจรจาจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จะนำไปใช้ในการทดสอบในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 7 : ทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam)

ดยข้อสอบจะมีทั้งหมด 50 ข้อ และต้องทำให้ถูกต้องถึง 45 ข้อ ดังนั้นหากทำผิดเกิน 5 ข้อก็จะสอบไม่ผ่าน และต้องกลับมาสอบใหม่ภายใน 90 วัน หากเลยกำหนด หรือยังสอบไม่ผ่าน ก็จะต้องจองคิวสอบใหม่

ขั้นตอนที่ 8 : ทดสอบขับรถ

การทดสอบขับรถยนต์จะมีท่าทดสอบ ดังนี้

ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดระเทียบทางเท้า

ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง

ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย

ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด

ท่าที่ 5 การกลับรถ

ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก

ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

การทดสอบขับรถจักรยานยนต์จะมีท่าทดสอบ ดังนี้

ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

ท่าที่ 2 การขับรถทางตัวบนทางแคบ

ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัว Z

ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัว S

ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

ขั้นตอนที่ 9 : ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบอนุญาต / ชำระค่าบริการใบขับขี่

ที่มา : กรมการขนส่งทางบก